Wednesday, March 4, 2009

"ปั่นหุ้น" เขาทำกันอย่างไร : ตอนที่ 8 (ตอนจบ)

จังหวะที่ใช้ในการปั่นหุ้น

1) เมื่อหุ้นตัวนั้นราคาตกลงมาจนราคาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานมาก ในภาวะตลาดขาลง นักลงทุนรายใหญ่จะทยอยสะสมหุ้นแบบไม่รีบร้อน เมื่อตลาดกลับเป็นขาขึ้น จะมีการไล่ราคาหุ้นอย่างรวดเร็ว แล้วทยอยขาย ปีหนึ่งทำได้สัก 2-3 รอบ ก็คุ้มค่าต่อการรอคอยแล้ว

2) เมื่อมีข่าวที่ส่งผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานของบริษัทนั้น โดยทั่วไป นักลงทุนรายใหญ่จะรู้เห็นข่าววงในก่อน (INSIDER) และซื้อหุ้นเก็บไว้ เมื่อข่าวดีออกมา จะมีการไล่ราคาแล้วขายหุ้นออกไป หรือในทางตรงกันข้าม หากมีข่าวปัจจัยพื้นฐานของบริษัทนั้นแย่ลงมาก เช่น ใกล้หมดอายุการใช้สิทธิของ WARRANT, ข่าวขาดทุนรายไตรมาส, ข่าวบริษัทลูกขาดทุน จะเป็นการปั่นหุ้นรอบสั้นๆ เพื่อออกของ หรือหากได้ปล่อยขายไปเกือบหมดแล้ว จะใช้วิธีทุบหุ้นเพื่อเก็บของถูก แล้วรอปั่นในรอบถัดไป

3) ปลายตลาดขาขึ้น เมื่อหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี (BLUE CHIP) ทุกกลุ่มถูกนักลงทุนไล่ซื้อ จนราคาหุ้นขึ้นมาสูงหมดแล้ว โดยทั่วไปจะไล่เรียงจากหุ้นกลุ่มใหญ่ๆ เช่น กลุ่มธนาคาร ไฟแนนซ์ ที่ดิน วัสดุก่อสร้าง สื่อสาร และพลังงาน เมื่อนักลงทุนหมดตัวเล่น รายใหญ่จะเข้ามาปั่นหุ้นตัวเล็กๆ ที่ปัจจัยพื้นฐานไม่ดีราคาต่ำ รายย่อยจะเข้าผสมโรงเพราะเห็นว่าหุ้นกลุ่มนี้ยังขึ้นไม่มาก ซึ่งโดยทั่วไปเมื่อหุ้นตัวเล็กๆ ถูกนำขึ้นมาเล่นไล่ราคา มักเป็นสัญญาณว่าหมดรอบของภาวะขาขึ้นแล้ว (เพราะถ้าหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี ราคายังต่ำกว่าความเป็นจริง นักลงทุนก็ยังพุ่งเป้าซื้อขายหุ้นกลุ่มนี้อยู่ จนกระทั่งราคาหุ้นขึ้นสูงเกินกว่าปัจจัยพื้นฐานแล้ว จึงละทิ้งไปเล่นหุ้นปั่น เมื่อราคาหุ้นโดยรวมสูงเกินปัจจัยพื้นฐาน ตลาดหุ้นย่อมพร้อมที่จะปรับฐานได้ตลอดเวลา)

No comments:

Post a Comment

SAA Consensus หุ้นที่มีการ update วันนี้

SETTRADE.COM - บทวิเคราะห์

SETTRADE.COM - บทวิเคราะห์ ภาวะตลาด

SETTRADE.COM - บทวิเคราะห์ เทคนิค

SETTRADE.COM - บทวิเคราะห์ หุ้นรายตัว

SETTRADE.COM - บทวิเคราะห์ พิเศษ

SETTRADE.COM - บทวิเคราะห์ หุ้น IPO

กรุงเทพธุรกิจ - ธุรกิจ

กรุงเทพธุรกิจ - การเงิน - การลงทุน