Wednesday, March 4, 2009

เผยเคล็ดลับเดชคัมภีร์เทวดา บทสุดท้าย : ภาค 3

บังเอิญเห็นท่าน "เฉียวฟง" พูดเรื่องเทคนิคเคิ้ล...

เรื่องนี้ก็เป็นหนึ่งในโผ...ของการที่จะแฉเล่ห์กล...ของพวกที่สูบเลือดเนื้อรายย่อยเหมือนกัน...ก็เลยเขียนเล่าให้ฟัง..กันซะเลย...

โปรแกรมหุ้นหรือ software ต่าง ๆ ที่เป็นกราฟชี้จุดซื้อชี้จุดขาย.. (ไม่รู้เรียกถูกหรือเปล่านะครับ .. ไม่เคยใช้เลย..) ที่ระบาดกันหนัก !! อยู่ในขณะนี้ รายย่อยที่พอมีกะตังค์สักหน่อยก็จะมีกันเกือบ ๆ ทุก ๆ คน... (โซวบักท้ง..ก็มี อิอิ..) นี่แหละครับ เป็นหนึ่งในเล่ห์กลของพวกกลืนกินรายย่อยอย่างหนึ่งเหมือน ๆ กัน... ทุก ๆ คนเล่นตามเทคนิค..พอเขาอยากได้หุ้นเขาก็กดดัชนีให้เทคนิคเสีย ทุก ๆ คนต้องขายหุ้นออกมา.. ด้วยความตกใจและมั่นใจใน software กราฟหุ้นของตัวเอง... พอพวกเขาได้หุ้นจนพอแล้ว เขาก็แต่งกราฟให้ดูดีสวย ๆ ทำเหมือนกราฟขาขึ้น รายย่อยก็มั่นใจว่าหุ้นจะขึ้นแล้ว (กราฟมันบอก) ก็รีบ ๆ เข้ามาซื้อหุ้นกันเต็มที่ แต่ตรงนั้นเป็นจุดขายของพวกแต่งกราฟ (อีกแล้ว)...

ซึ่งมีเครื่องมีอในการเล่นหุ้นพวกนี้ไว้ ไม่ใช่ไม่ดีทั้งหมด แต่...ไม่หมกมุ่นหรือเชื่อถือทั้งหมด..นะครับ เล่นหุ้นที่ถูกต้องจริง ๆ ตัวผู้เล่นต้องมีสัญชาติญาณการชนะอยู่ในตัวจะดีที่สุด....ครับ

สัญชาติญาณการเป็นผู้ชนะเป็นอย่างไร...

ดูป้ายยี่ห้อของร้านเราไว้...เอาไปคิดให้ ตีแตก...!!! นะครับ...

เผยเคล็ดลับเดชคัมภีร์เทวดา บทสุดท้าย : ภาค 2

ตลาดหุ้นไทย เกมส์แห่งการแพ้ชนะอยู่ที่ความโลภ... และรู้ทันเกมส์...

มันเป็นอย่างไรหรือ... ?

อย่างนี้ครับ... เอากันง่าย ๆ ... วันก่อนเขาทำดัชนีและสภาวะต่าง ๆ ให้ดูไม่ดี (แต่พวกเขาเก็บหุ้นกันอยู่) มีการกดดันดัชนีให้หลุดแนวรับตามจิตวิทยา เช่น หลุด 600 จุด ให้รายย่อยต่าง ๆ อกสั่นขวัญแขวน อยากขายหุ้นทิ้ง...และยังมีการกดดัชนีไปที่ 596.65 จุดโน่นเลย แล้วก็ดันกลับมาเลี้ยงไว้อีก...อาจารย์ก็บอกให้ซื้อ... และบอกเป็นระลอก ๆ ว่า ยังอยู่หรือจะไปแล้ว...ช่วงเหตุการณ์ตรงนั้น รายย่อยหลาย ๆ คนไม่เล่นหุ้น คือ ไม่มีหุ้นในมือเลย หรือหลาย ๆ ท่านก็ขายไปก่อน.. ซึ่งก็ไม่ผิดอะไรหรอกครับ..เป็นการลดความเสี่ยง ( แต่หากเห็นหุ้นไม่ลง ก็ต้องกล้าซื้อคืนเช่นกัน)

และในวันนี้ เขาทำดัชนีเพื่อจะขายหุ้น โดยการซื้อหุ้นตัวใหญ่ ๆ ต่าง ๆ โชว์ผ่านหน้าจอ เรียกความอยากความโลภ ! จากจิตใจของนักลงทุนไทย (แมงเม่า ! ) ให้แมงเม่ารีบ ๆ ออกมา ร่วมวงไพบูลย์กับเขาด้วย พร้อมทั้งซื้อหุ้นผ่านในนามฝรั่งยิ่งเป็นแรงดึงดูดฟิวส์หรืออารมณ์ด้านบวกของแมงเม่าต่าง ๆ กันเข้าไปใหญ่เลย....(แต่พวกเขามีราคาต่ำ ๆ จากวันก่อน ๆ เช็คดูซิ ราคาหุ้นบางตัวกับวันนี้มีส่วนต่างกันถึง 30-40 % ก็มี..) มีแมงเม่าหลาย ๆ คน ก็เข้าไปลุยกองเพลิงอย่างไม่กลัวตาย ! เพราะกลัวตกรถ.. หรือ กลัวเสียโง่ที่ไม่ได้กำไรจากการที่หุ้นขึ้น... คิดแบบนี้ มีแต่เจ๊งกับเจ๊งครับ เพราะไม่รู้ทันเกมส์ของตลาดหุ้น...

วันที่ต้องมีหุ้นหรือเก็บหุ้นดันไม่มีหุ้น แต่วันที่เขาจุดพลุดัชนีและราคาหุ้นให้ดูสวยงามเพื่อขายของ กลับมาไล่ซื้อของแพง ๆ ไปกอดไว้ และเมื่อเขาทุบหุ้นรอบใหม่ ก็ขายขาดทุนมาให้เขาอีก...(จริงมั้ย )

และสิ่งที่อันตรายมาก ๆ สำหรับรายย่อยก็คือ เวลากำไรหุ้นช่วงแรก ๆ จะซื้อแบบไม่มั่นใจ ขายได้กำไรน้อย ๆ พอหุ้นยิ่งแพงยิ่งมั่นใจ ยิ่งซื้อมาก... และแล้วก็เจอตรงยอดดอยพอดี... (ซึ่งตรงนั้นหลาย ๆ ครั้งเป็นจุดที่รายย่อยใจกล้า ซื้อหุ้นในปริมาณที่เยอะที่สุดเลยก็ว่าได้) แบบนี้เรียกว่า ได้น้อย โดนหนัก !!!


เล่นหุ้นต้องไม่หลอกตัวเอง...ต้องรู้ว่า สู้ได้มั้ย ? หากต้นทุนสูง.. โอกาสเสี่ยงก็มาก... (พวกเขาขายได้ทุก ๆ ราคา) ยอมไม่เล่นซะดีกว่า...

รอบการขึ้นลงของหุ้นก็เหมือนสัญญาณโทรศัพท์มือถือ..

บางรอบก็ดีหน่อยมี 5 ขีด คือ ขึ้นได้เป็นระดับ 70-100 จุด

บางรอบก็ปานกลาง เพียงแค่ 30-50 จุด

น้อย ๆ หน่อยก็สัญญาณขึ้นขีดสองขีด คือ หุ้นขึ้นประมาณ 10-20 จุด (จากโลวน์ของรอบนั้น ๆ...

ตรงนี้ยากสักหน่อยสำหรับรายย่อยในการคาดเดา.....แต่ต้องฝึกในการประเมิณให้ได้ จะได้ขายได้เกือบ ๆ ไฮน์ ..(ไม่จำเป็นต้องไฮน์ หรือขายกำไรมากกว่าเสียก็ถือว่าสุดยอดแล้ว...!!!)

เพราะความไม่แน่นอนในตลาดหุ้นมีมาก และเหมือนเพื่อน ๆ บางคนว่าไว้ ตลาดหุ้นไทยเหมือนเต๋าถ่วง... ฉะนั้นนักเล่นทั้งหลาย (นักลงทุนไทย) ต้องหมั่นจำไว้เสมอ ๆ ว่า... กำไรแล้วต้องเอากลับบ้านให้ได้... (กำไรแล้วก็ต้องระวัง หยุดรอรอบใหม่ได้ก็จะดีมาก ๆ เลย..) อย่าอยู่ในบ่อนหรือตลาดหุ้นนาน ๆ เดี๋ยวโดนหุ้นบางตัวกวักมือเรียกให้เข้าไปเสียเงินอีก....

เผยเคล็ดลับเดชคัมภีร์เทวดา บทสุดท้าย : ภาค 1

"เผยเคล็ดลับเดชคัมภีร์เทวดา...บทสุดท้าย"....ต้องรีบ... !!!

ต้องรีบ ๆ บอกเคล็ดลับบทสุดท้าย..เพราะเกรงว่าวันหน้าจะไม่ได้บอกอีกแล้ว...(หรือเปล่า..?)

เพื่อน ๆ ครับ... ตลาดหุ้นเมืองไทย ขณะนี้วิกฤติอย่างหนัก.. สิ่งที่เคยสวยงามอย่างที่ผ่าน ๆ มาเมื่อในอดีต หมดสิ้นไปแล้ว...

ในอดีตตลาดหุ้นเล่นกันง่าย ๆ มาก ๆ .. ฝรั่งซื้อ (เข้ามาซื้อจริง ๆ ) หุ้นขึ้น ฝรั่งขาย (ฝรั่งจริง ๆ ขายเรื่อย ๆ ) หุ้นลง...

มีนักลงทุนมากมายหลาย ๆ คน... (เดี๋ยวนี้บางคนรวยเป็นหมื่น ๆ ล้านจากตลาดหุ้นก็มี !!! อิอิ) อาศัยแค่คอยซื้อและขายตามฝรั่งแบบนี้ทุก ๆ รอบ รวยไม่รู้เรื่อง !!! ...

ปัจจุบันนี้... ตลาดหุ้นมีแต่วอลลุ่มเทียม !! และออเดอร์ซื้อขายของฝรั่งก็เป็นของปลอมซะส่วนใหญ่... เกิดจากน้ำมือคนกลุ่มหนึ่งที่เป็นใหญ่เป็นโตในบ้านเมืองไทย เป็นคนคอยกำหนดทิศทางของตลาดอยู่ ... ธรรมชาติของแรงซื้อและขายที่เป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้หุ้นขึ้นหรือลงก็ไม่มีอีกแล้ว ...(เมื่อก่อนตัวนี้เป็นทิศทางให้รายย่อยได้) ....

ทุกวันนี้ตลาดหุ้นไม่ได้เป็นของฝรั่งหรือกองทุนหรือรายย่อยอีกต่อไปแล้ว.. ตลาดเป็นของ...? เขาอยากให้ขึ้นก็ต้องขึ้น อยากให้ลงก็ต้องลง.. เพราะเขา IQ สูง เขารู้ว่ารายย่อยชอบมองฝรั่งเป็นหลัก (ซึ่งเมื่อก่อนมองได้จริง ๆ ฝรั่งซื้อหุ้นขึ้น ฝรั่งขายหุ้นก็ลง) เขาจึงใช้ตรงนี้เกมส์นี้วิธีการเหล่านี้มากำหนดทิศทางตลาดหุ้น อยากให้หุ้นลงจะเก็บหุ้นก็อัดข่าวร้ายเข้ามา...สั่ง กลต. บีบคอรายย่อยทั้งทางตรงและทางอ้อมให้หายใจไม่ออก หมัดมือชกต่าง ๆ นานา และสิ่งที่พวกเขาไม่ลืมเลยคือ เทขายหุ้นผ่านพอร์ตที่ต่างประเทศ กลายเป็นฝรั่งขาย... หุ้นก็ลง คน(รายย่อย)ก็ขายหุ้นออกมาในราคาต่ำ ๆ .. พวกเขาก็เก็บหุ้นเหล่านั้นไว้ พออยากให้หุ้นขึ้น ก็ทำในสิ่งตรงข้ามต่าง ๆ นานา ให้คนเชื่อมั่นว่าหุ้นต้องขึ้น เข้ามาซื้อหุ้นที่พวกเขาได้ช้อนรับไว้ตอนราคาต่ำ ๆ .. แล้วเอาออกมาขายให้รายย่อยอีก ระลอกแล้วระลอกเล่า เป็นอย่างนี้หลาย ๆ รอบมามาก ๆ แล้ว...

พวกเขารู้ดีว่า... รายย่อยมีความโลภ หยุดหรือเลิกเล่นหุ้นไม่ได้.. หากไม่หมดตัวจริง ๆ หลาย ๆ คนหมดตัวแล้วก็ยังดิ้นรนด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา เพื่อจะกลับมาเล่นใหม่ก็มีมากมายหลาย ๆ คน...

เขารู้จุดอ่อนของรายย่อย แต่รายย่อยมักจะ ไม่รู้ในจุดอ่อนของตนเอง จึงต้องตกเป็น เหยื่อ ให้กับกลุ่มคนเหล่านี้เสมอ ๆ ...ทุก ๆ ครั้ง มีแต่แพ้กับแพ้...

โอ้ย... ยังมีอีกหลาย ๆ เรื่อง แฉไม่หมด...

อีกอย่างหนึ่งสิ่งที่อาจารย์รู้กับที่ที่อาจารย์พิมพ์มันถ่ายทอดได้ไม่ดีเท่ากัน...พูดง่าย ๆ พิมพ์หรืออธิบายไม่เก่งนะครับ...

เพื่อน ๆ รู้มั้ยครับ ทุก ๆ วัน ตลาดหุ้นมีคลื่นใต้น้ำทุก ๆ วันเลย..

มีรายใหญ่หลาย ๆ ราย ...ถูกไล่เช็คบิล !! อยู่นะครับ...เพราะต้องการใหญ่เฉพาะตนกับพวกพ้องเท่านั้น...


แล้วรายย่อยอย่างพวกเราจะอยู่กันอย่างไร...

เห็นป้ายยี่ห้อร้านของพวกเรามั้ยครับ...

"ฮั้วหยวนเจี่ย"(นกชกผู้พิชิต) ...

ครับ นกชกผู้พิชิตครับ ไม่ใช่นักลงทุนผู้พิชิต...

นักชกคืออะไร... นักชกคือ นักลงทุนที่เมื่อซื้อหุ้นตัวใด ๆ ก็แล้วแต่... หากไปเจอหุ้นผิดจังหวะ เมื่อหุ้นจะลงไปให้ขาดทุนมากกว่า 3-5 ช่อง ก็ต้องคัดลอส ครับ...ไม่กลัวขายโง่หรือขายหมูหรือขายตกใจตกรถอะไรทั้งนั้น ... หากมันดีจริง ๆ จะขึ้นมาอีกก็ซื้อกลับมาใหม่ได้.. แต่หากมันลงไปเลย ก็ขาดทุนไม่มาก...

ในทางกลับกัน.. หากไปเจอหุ้นที่เป็นขาขึ้นพอดี... ถือไปเรื่อย ๆ จนกว่าหุ้นจะฟู..หรือ ถึงจุดที่เจ้ามือเขาจะออกของ..

ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ แพ้หรือเสียยากครับ.. เพราะได้มากกว่าเสีย... ได้หลาย ๆ ช่อง เวลาเสีย เสียไม่เกิน 3-5 ช่อง หุ้นหลาย ๆ ตัว อาจารย์คัดลอสที่ 2 ช่องก็มีบ่อย ๆ ไม่กลัวเสียน้ำหรอกครับ กลัวเสียช่องมากกว่า....

ตลาดที่เราจะถือได้ยาว ๆ จริง ๆ โน่นเลย...

ดัชนีที่ 802 จุด ยืนได้อย่างมั่นคง...เป็นเดือน ๆ ตรงนั้นแหละครับ ค่อยซื้อให้เต็ม ๆ และถือยาว ๆ ไปเลย...

แต่ดัชนีตรงนี้ สถานการณ์ตลาดหุ้นที่มีเจ้าพ่อตลาดหุ้นคอยกำกับ(ตามใจฉัน) แบบนี้ ขึ้นไปมีกำไรก็ต้องป้องกันตัวเองด้วยการขาย..ตามพวกเขา.. พอพวกเขาซื้อเราก็ซื้อตามเขา...เพราะมันไม่มีการวิ่งม้วนเดียว..แบบ ยานอวกาศ..หรอกครับ ของเทียมทั้งนั้น !!! ...ทุก ๆ ครั้งที่มีการซื้อหุ้นต้องมีจุดคัดลอสทุก ๆ ครั้ง...

บอกตรง ๆ นะครับ ตลาดหุ้นเมืองไทยไม่มีมาตรฐานหรือมีมาตรการที่มีมาตรฐานหรอกครับ เก็งกำไรล้วน ๆ...เล่นเป็นรอบ ๆ เล่นกันเป็นช๊อต ๆ กันไป...ทั้งนั้น..

ไม่อยากเจ็บมาก ๆ ก็อย่าถือยาวมากเกินไป ควรถือไม่เกิน 3-6-9 เดือนก็พอแล้ว... เคยเห็นมั้ย bland ราคา 200 กว่า.. เพื่อน ๆ ดูซิเกือบ ๆ สิบปีให้หลัง ราคาทุกวันนี้เท่าไหร่... แล้วต้องคอยอีกกี่ปีที่มันจะกลับขึ้นไปที่ 200 กว่า ๆ อีก ฮ่า ๆๆๆๆๆๆๆๆ....


ยังมีอีกเยอะครับ... ต้องรีบ ๆ ฉีกขอบปกคัมภีร์เดชเทวดา ดึงเอาไส้ในออกมาเปิดเผยให้เพื่อน ๆ ได้รับทราบกัน...

กลยุทธ์การเล่น ขาขึ้น และ ขาลง

ขาขึ้น...ไม่ว่าจะเป็นรีบาวน์(20-50+/-10 จุด) หรือขาขึ้น(ขึ้นเป็นร้อย ๆ จุด) ให้ทยอยซื้อ ยิ่งขึ้นยิ่งซื้อจนเต็มพอร์ต แล้วถือ รอขาย เมื่อดัชนีและหุ้นกำลังเปลี่ยนเทรนเป็นลง ให้ขายในไม้เดียว..!!!

ขาลง...มีแต่ข่าวร้ายทั้งในประเทศและทั่วโลกที่กระทบต่อจิตวิทยาการลงทุน และให้ผลร้ายกับระบบเศรษฐกิจ ฝรั่งเทขายไม่ยั้ง บาทอ่อน เงินไหลออก นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน ตลาดเป็นหมี มีแต่แรงขาย ไม่มีปัจจัยดี ๆ หรือด้านบวกมาหนุนตลาด เหตุการณ์ต่าง ๆ คลุมเครือ ตลาดมีแต่การ panic sale คือ มู้ดตลาดไม่ดี เคล็ดวิชา คือ ไม่ดี ไม่เล่น ไม่ถือหุ้น ราคาหุ้นต่ำ ๆ ถูก ๆ ก็ไม่ซื้อ....

เด้ง...(จาก low ดีดกลับขึ้นมาประมาณ 10 จุด +/-)คือ การที่ดัชนีมีการ panic sale แล้วเด้งระหว่างวัน หาไม่เก่งจริงก็ไม่แนะนำให้เล่น เพราะเสี่ยงมาก...โอกาสเสียมีมากกว่าได้...

แต่... Oversold ให้ทยอยซื้อได้......รอสักวันสองวัน พอรีบาวน์ก็เอามาขายอีก.........

........ให้ทุกคน ท่องจำสิ่งเหล่านี้ให้ขึ้นใจ........
........ทุกคนมีเคล็ดวิชานี้อยู่ในสติ ความรู้ ความเข้าใจ เสมือนมี อาจารย์อยู่ข้างกายเสมอ........

วิธีการเล่นหุ้นแบบปิรามิด ของเจ้ามือ

เมื่อไล่หุ้นขาขึ้นจนถึงพีค กำไรพอใจแล้ว เจ้ามือจะหลอกโดยเลี้ยงขายที่พีค ออกไปประมาณ 50-80 %.... หรือตามที่เขาวางแผนไว้ แต่ที่เหมือนๆกันคือ ขายให้ได้กำไรมากที่สุด โดยเหลือหุ้นไว้อีกส่วนหนึ่ง เพื่อทุบหุ้นหรือเรียกว่า การทำ short port เพื่อเก็บหุ้นรอบใหม่

ช่วงทุบจะทำให้รายย่อยเกิดความกลัวให้มากที่สุด รายย่อยเมื่อติดหุ้นโดยปรกติจะฝืนตลาด บางคนพยายามซื้อสวน เจ้ามือจะต้องมีหุ้นเหลือพอเพื่อกดราคา หากว่าหุ้นหมดก่อน ก็ต้องยอมซื้อขวามาขายกดซ้ายให้หุ้นลงให้ได้

เมื่อลงจนกลัวกันหมด เจ้ามือจะทยอยเก็บของ เมื่อซื้อได้จำนวนหนึ่งก็จะเอาไปตั้งช่อง offer บังไว้เพื่อให้รายย่อยคายของออก และไม่กล้าซื้อ ช่วงนี้อาจมีการแกว่งขึ้นๆลงของราคาบ้าง ถ้ามีรายย่อยบางคนมองเกมส์เจ้ามือออก เจ้ามือจะทำการทุบ ให้เกิดความไม่แน่ใจคายของออกอีก

ช่วงที่หุ้นราคาถึงเป้าเจ้ามือ เจ้ามือจะขายแบบปิรามิดคว่ำ คือ ฐานบนหนา ฐานล่างน้อย (ส่วนของฐานบนคือกำไรเนื้อๆหรือเรียกว่าได้ทุนคืนไปหมดแล้ว ส่วนที่เหลือเอาไว้กดลง)
ช่วงเก็บหุ้น รายย่อยจะมองไม่เห็นเพราะเขาจะทยอยเก็บแต่ตรงนี้คือ ส่วนต้นทุนฐานล่างจะเก็บมาก เมื่อได้ตามแผนก็ต้องเหลือเงินไว้ไล่หุ้นคือปิรามิดหงาย

(เจ้ามือฝรั่งจะได้เปรียบหน่อยตรงที่สามารถยืมหุ้นมา shortsell ได้ด้วย)

ถ้าดูตามเทคนิคเราจะเห็นว่า ช่วงหุ้นขึ้นไปสูงมากๆ จะมีโวลุ่มออกมามากมหาศาล บางครั้งขึ้นๆลงๆแถวๆพีคหลายวัน บางคนคิดว่าราคาแข็งดีก็เข้าไปซื้อโดยที่ไม่รู้ เมื่อเขาขายฐานบนออกหมด ทีนี้ละยุ่ง เพราะครบเป้าเขาจะเริ่ม short แล้ว ราคาก็ไหลลง

สิ่งสำคัญกว่าการดูหุ้นขึ้น หุ้นลง

อย่าลืม รักษาวินัยการวางแผนจัดพอร์ตหลังตลาดปิดหรือเปิดทุกวัน
เน้น การวางแผนนะครับ สำคัญมาก

คุณเคยไหม...
ซื้อขาย 10 ตัว กำไร 8 ตัว ขาดทุน 2 ตัว ผลสรุป เจ๊ง
เล่นตั้งแต่ 300 จุด ไป 800 ลงมาแค่ 600 ผลสรุป เจ๊งอีก

ตอนหุ้นต่ำๆ เล่นน้อย กำไรตลอด เอากำไรไปทบซื้อตอนหุ้นสูงด้วยความโลภ โดนแค่ห้าหกช่อง กำไรที่สะสมมาหมดเรียบ

มันเป็นไปได้อย่างไร ทบทวนตัวเองดูเอา

ให้คิดถึงรูปปิรามิดหงาย ปิรามิดคว่ำที่เคยเขียนกระทู้บอกไปแล้วอยู่เสมอ เอามาประกอบการวางแผนจัดพอร์ต

หุ้นไซด์เวย์ ลงซื้อ ขึ้นขาย เล่นสั้นอย่าถือยาว หุ้นขาลง เลิก หรือเล่นหุ้นปั่นตัวบวกแบบเดย์เทรด หุ้นขาขึ้น ถือยาว และทยอยลดความเสี่ยง โดยเอากำไรออกมาเป็นระยะ

รอบหุ้นขึ้นแต่ละรอบ ถ้าเป็นขึ้นกระจายทั้งกระดาน ยังไงก็ต้องมีหุ้นที่รอการขึ้นอยู่
อย่างเช่น หุ้นบลูชิพ หุ้นนำตลาดขึ้น ก่อนจบรอบจะจบที่หุ้นปั่นตัวเล็กๆ เป็นต้น

ถ้าหุ้นขึ้นสูง ต้องทยอยเอาทุนออกมา เอาออกมาเข้ากระเป๋า หรือทยอยเอาไปฝากไว้ในหุ้นที่ปลอดภัย

การดูรอบหุ้นแต่ละกลุ่มสำหรับนักเล่นสั้น ต้องวางแผนให้ดี
ไม่ว่าหุ้นบลูชิพ หรือหุ้นปั่นตัวเล็กเป็นทั้งหุ้นปลอดภัยและอันตรายได้ด้วยกันทั้งสิ้น

เน้นการวางแผน การจัดสัดส่วนพอร์ตเพื่อลดจำกัดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด
บางทีคุณขาดทุน 3 ตัว กำไรตัวเดียว คุณกำไรก็เป็นไปได้ไม่ยากนะครับ

พลิกฐานะจากแขก มาเป็นเจ้าบ้าน

อาจารย์จะอธิบาย...เทคนิคการเล่นหุ้นให้รับทราบนะครับ...

การเล่นหุ้นที่ดีจริง ๆ ...และถูกต้องได้ทุก ๆ ครั้ง...คือ การพยายามไม่คาดการณ์อะไร ๆ ที่ยาวเกินไป เพราะตลาดหุ้นเป็นการลงทุนที่ใช้การการตัดสินใจชิงไหวชิงพริบกันเท่านั้นเอง....เหตุการณ์ทุก ๆ อย่างสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาทุก ๆ นาที....เราเล่นหุ้นแบบเกาะติดจอและติดตามสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดเวลาจะดีกว่า....เราจะทันเกมส์ตลอดเวลา การคาดการณ์ที่ยาวมากเกินไป เช่นเราคิดว่าดัชนีต้องไปที่เท่านั้นเท่านี้ หากไปไม่ถึงแต่เรายังเพ้อหรือเชื่อมั่นอยู่...ผลคือถูกแขวนที่ดอยติดหุ้น เราคิดว่าต้องลงหนัก ๆ ต้องตรงนั้นเท่านั้นเราจึงจะรับหุ้นเพราะเชื่อกราฟมากเกินไป ผลคือตกรถด่วนขบวนพิเศษ... (แบบโซวบักท้ง...อิอิ ...ยังแซวกันไม่เลิก ฮา...)

การคาดการณ์ที่ยาว ๆ จะเป็นผลเสียกับการลงทุนของเราอย่างมาก เพราะมันจะเป็นตัวทำลายสมาธิในการตัดสินใจในการเล่นหุ้นของเรา....มันเหมือนเป็นการหลอกตัวเองไปเรื่อย ๆ บางครั้งก็ถูก บางครั้งก็ผิด...แต่เวลาที่ผิดเราจะเสียหายหนัก เพราะเราใช้ตังค์มาเล่นหุ้นนะครับ...

กลยุทธ์การเล่นหุ้นในเดชคัมภีร์เทวดา....บทที่ไม่ต้องเครียดและไม่เกี่ยวกับดาวโจนว่าจะขึ้นหรือลง..... "หุ้นลงไม่ไหวแล้ว เราก็ต้องทยอยซื้อ และหุ้นกำลังจะขึ้นเราก็ต้องซื้อเพิ่ม หุ้นขึ้นเรื่อย ๆ ก็ให้ถือไปก่อน หุ้นกำลังจะลงเราก็ต้องขาย...เป็นวิธีการที่ดีที่สุด" .........

เวลาที่อาจารย์เล่นหุ้น...บอกตรง ๆ นะครับ.... อาจารย์ไม่เคยเครียดเลยครับ... ไม่เคยคิดว่าต้องได้กำไรเท่านั้นเท่านี้จึงพอใจและจึงจะหยุด หรือ คิดว่าเสียน้อย ๆ ไม่ยอม เดี๋ยวก็ต้องขึ้นมาแน่นอน จนกลายเป็นเสียมาก ๆ อาจารย์ไม่เคยใช้นิสัยแบบนี้ในการลงทุนเลย....
หลาย ๆ ครั้งอาจารย์มีหุ้นที่ดีมาก ๆ แจ๋มสุด ๆ .....กำลังขึ้นไปได้ด้วยดีและสวยงาม ทุกอย่างสมบูรณ์แบบ...!!! เรียกว่า เฟอร์เฟ็ค...!!! พออาจารย์เห็นว่า...เอ๊ะ...เดี๋ยวดัชนีจะตกนี่...อาจารย์ก็จะขายหุ้นไปก่อนนะ...ไม่เคยเหนียวไว้เลย...(คือมีจุดคัดกับหุ้นทุก ๆ ตัวอยู่แล้ว) เพราะขายไปก่อน แล้วค่อยมารับกลับที่ถูกกว่าได้ทั้งเนื้อทั้งน้ำด้วยซ้ำไป ทั้ง ๆ ที่หุ้นตัวนั้นเป็นหุ้นที่เป็นเทรนขาขึ้นนะ...ทำไมต้องขายไปก่อน...แล้วค่อยมาซื้อกลับไปใหม่...เพราะว่าตลาดหุ้นจะอยู่ตลอดไป... แต่นักลงทุนนี่ซิ เดี๊ยวก็ไป ๆ มา ๆ คนที่ไปคือคนที่หมดตังค์ คนที่อยู่คือ คนที่ชนะบ่อย ๆ หุ้นนะ...เราซื้อเมื่อไหร่ก็ได้ หากตังค์เรายังมีอยู่ แต่หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน...เราก็ไม่เจ็บ...!!! ไม่ติดหุ้นไม่ติดดอย ไม่เครียดไม่เดือดร้อนใจ "เรามาเล่นหุ้นเอาตังค์นะครับ ตังค์คือเป้าหมายการเล่นหุ้น...ตัวหุ้นเป็นเพียงเกมส์การเล่นเท่านั้นเอง..."...

ทุก ๆ ตลาดในโลกนี้...ไม่มีหุ้นที่ดีจริง ๆ ตลอดไปหรอกครับ หุ้นตัวนั้น ๆ ดีเป็นช่วง ๆ ดีเป็นพัก ๆ เท่านั้น เราอย่าไปยึดติดให้มาก...ทำกำไรได้ก็ทำกำไร...ขายหมู....ดีกว่าขายแดง....!!!


เรื่องราวเหตุผลต่าง ๆ เรื่องการขึ้นและลงของดัชนีและตัวหุ้น มันจะบอกเราเมื่อจบศึกหรือเกิดความชัดเจนแล้ว ..แต่ในช่วงการตัดสินใจ หากเราลังเลและสับสน ไม่ตัดสินใจซื้อและขายจากพฤติกรรมของหุ้นในทันทีทันใดนั้น เราจะนำตลาดไม่ได้เลย จะกลายเป็นเราจะซื้อแพงกว่า และขายเกือบต่ำสุดบ่อย ๆ ไปเลย...เพราะจิตใจของเราไม่ได้อยู่ที่ตลาดหุ้น แต่สมาธิกลับไปยึดกับการคาดการณ์เพียงอย่างเดียว....

หุ้นจะขึ้นหรือลงเกิดจากแรงซื้อและแรงขาย การตัดสินใจสร้างแรงซื้อและขายเกิดจากกลุ่มคน 3 กลุ่ม คือ ฝรั่ง กองทุน และรายใหญ่+รายย่อย แต่ละกลุ่มก็มีเกมส์และมุมมองที่สวนทางกันเสมอ ๆ ดัชนีจึงผันผวนได้บ่อย ๆ ...อิอิ

ฝรั่งเห็นว่าดัชนีเมืองไทยยังต่ำ..!! และปรับฐานนานพอแล้ว พวกเขาก็เข้ามาเก็บหุ้นและเข้ามาเล่นหุ้นอย่างที่พวกเราเห็น ๆ กันอยู่.....

ที่ผ่าน ๆ มา กองทุนได้รับใบสั่งให้พยุงดัชนี ทยอยซื้ออยู่เสมอ ๆ พอดัชนีและหุ้นของเขาขึ้น เขาก็ทยอยขายเอากำไร ก็ไม่แปลกเลย เขาก็ต้องเล่นหุ้นเอากำไร ไม่ได้ตั้งกองทุนขึ้นมาเพื่อจะช่วยรายย่อยสักหน่อยหนึ่ง...ที่ประโคมข่าวกันไปมาว่าทำเพื่ออย่างนั้นอย่างนี้ จริง ๆ แล้วก็มาเล่นหุ้นหวังกำไรเหมือน ๆ กับพวกเรานี่แหละ...

รายใหญ่หรือเจ้ามือ เขาเพิ่งเข้ามาเล่นหุ้นเมื่อต้นเดือน มิย. ที่ผ่านมานี่เอง เขาก็มีมุมมองแบบเดียวกับฝรั่งเห็นว่าดัชนีเมืองไทย ปรับฐานพอแล้ว....เขาก็เล่นหุ้นของเขาไปตามปกติ ลงมาก ๆ เขาก็ซื้อ ขึ้นมาก ๆ เขาก็ขาย พอลงมาอีกเขาก็ซื้ออีก หากขึ้นไปมาก ๆ อีก เขาก็ขายอีก ...เล่นเป็นตัว ๆ เป็นรอบ ๆ ไป แบบที่อาจารย์สอนสั่งพวกเธอนี่แหละ....รู้มั้ยเว็ปนี้ที่อาจารย์สอน ๆ วิชาความรู้ให้พวกเธอนะ สอนกลยุทธ์การลงทุนแบบรายใหญ่เลยนะ....ไม่ใช่เรียนกลยุทธ์แบบธรรมดา ๆ ...ขอบอก ๆ ...อิอิ

กลยุทธ์ "จับปลาในข้อง"

ในความพ่ายแพ้มักมีแววแห่งชัยชนะแฝงเร้นอยู่ (ตลาดหุ้นลงแดง ๆ เราซื้อ..อิอิ ) ในชัยชนะ (ตลาดหุ้นเขียวจัด ๆ เราขนออกมาขาย...ฮ่า ๆๆๆๆๆๆ ) มักมีแววแห่งความพ่ายแพ้แฝงเร้นอยู่...

อาจารย์ฮั้วฯ...จักบอกว่า.....

"ทหารไม่ควรชนะติดต่อกันหลาย ๆ ครั้ง ถ้าชนะติด ๆ กัน หลาย ๆ ครั้ง มักเกิดความเย่อหยิ่ง"

ความเย่อหยิ่งมักทำให้คนเราประเมินกำลังตนเองสูงเกินไป และประเมินกำลังข้าศึกต่ำเกินไป ภาวะจิตใจเช่นนี้ ทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ที่คลี่คลายขยายตัวไปได้อย่างละเอียดรอบคอบ

ในประวัติศาสตร์มีนายทหารจำนวนมากที่เย่อหยิ่งลำพองใจ เนื่องจากรบชนะติด ๆ กันหลายครั้ง ทำให้ประมาทศัตรู ในที่สุดก็กลับเป็นฝ่ายแพ้จนได้....

"การตีเมือง (การไล่หุ้น) เป็นยุทธวิธีที่แย่ที่สุด วิธีนี้จะใช้ก็ต่อเมื่อจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น" การไล่หุ้นใช้ได้ก็ต่อเมื่อ...ตลาดมีวอลลุ่มมาก ๆ และมีแก็ปให้เล่นมาก ๆ ...นอกนั้น..ก็ไม่สมควรเลย....

พรุ่งนี้ให้ใช้กลยุทธ์ "จับปลาในข้อง"....

กลยุทธ์นี้มีใจความว่า....เรามิต้องเปลืองแรงหรือเสียเวลาที่ต้องแต่งชุดเกราะขี่หลังม้าไปออกศึก ณ ที่กลางสมรภูมิรบเลย....ให้ใช้วิธี ล่อหมีให้มาติดกับของเราเอง ก็คือ แสร้งทิ้งเมืองให้ร้างไว้ ศัตรูเห็นเข้าก็จะเดินเข้าไปติดกับเอง จากนั้นก็ใช้นโยบาย "จับปลาในข้อง" ได้ผลประโยชน์บานตะไท สบายไปเลย...ฮ่า ๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

เข้าใจสภาพ

ข้าศึกเคลื่อนกองทัพแล้วกลับตั้งมั่นสงบอยู่ นั่นแสดงว่าข้าศึกหวังใช้ชัยภูมิที่ได้เปรียบ
ข้าศึกเข้ามาใกล้ท้ารบ นั่นแสดงว่ามีแผนให้เรารุก หมู่ไม้สั่นไหว นั่นแสดงว่ารถรบเคลื่อนมาแล้ว
ฝุ่นฟุ้งกระจายต่ำ ๆ แผ่ออกกว้าง นั่นแสดงว่ากองทหารราบเคลื่อนมาแล้ว

ข้าศึกแสดงท่าแข็งแกร่งใช้วาจาแข็งกร้าวว่าจะรุก นั่นแสดงว่าข้าศึกกำลังเตรียมถอย
ข้าศึกรุก ๆ ถอย ๆ รุกบ้างถอยบ้าง นั่นแสดงว่าข้าศึกลวงล่อ (หวังให้เราเข้ากับดัก)

ไพร่พลข้าศึกใช้ไม้เท้าค้ำยันเวลาเดินทัพ นั่นแสดงว่ากำลังอดอยากหิวโหย
สบโอกาสดีแต่ข้าศึกไม่รุก นั่นแสดงว่าข้าศึกอ่อนล้าแล้ว
นกลงจับค่ายเป็นหมู่ แสดงว่าค่ายนั้นร้าง
ยามราตรีมีเสียงกู่ร้อง แสดงว่าข้าศึกหวาดหวั่นขวัญผวา
กองทหารสับสนอลหม่าน นั่นแสดงว่าขุนพลข้าศึกด้อยศักดานุภาพ
ธวัชทิวธงเคลื่อนย้ายสับสน นั่นแสดงว่าข้าศึกมีความยุ่งเหยิงภายใน

นายทหารขึ้งโกรธกราดเกรี้ยว นั่นแสดงว่าไพร่พลข้าศึกอ่อนล้าอิดโรย
ข้าศึกปูนบำเหน็จกันครั้งแล้วครั้งเล่า นั่นแสดงว่าข้าศึกสิ้นท่าเสียแล้ว
ข้าศึกลงอาญากันมิขาด นั่นแสดงว่าตกอยู่ในภาวะลำบากยิ่ง

ข้าศึกอ่อนน้อมขอขมา แสดงว่าอยากผ่อนพักเหนื่อย
ข้าศึกขนของกำนัลมากมายเจรจาหวานฉ่ำ แสดงว่าเป็นกลลวงล่อ แลนา........

===========================================================

แปลกใจหรือไม่ ทำไมเหตุการณ์ภายในประเทศของเรามีเรื่องต่าง ๆ มากมาย สับสนวุ่นวายยุ่งเหยิงต่าง ๆ นานา ชม. ก่อนออกข่าวมาอย่างหนึ่ง อีกชม. หนึ่งมีการปฏิเสธข่าวย้อนหลังกันไปมาอยู่เรื่อย ๆ สร้างความเสียหายให้กับนักลงทุนเป็นจำนวนมากกับเรื่องต่าง ๆ ในทำนองนี้ หลายต่อหลายข่าว ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา... มีนักลงทุนจำนวนมากถึงกับน้ำตาซึม... กับวิธีการและการปฏิบัติที่อำมหิตของคนมีอำนาจในตลาดหุ้น...(ใช้ข่าวทุบเอาหุ้นจากมือรายย่อย) กรรมเวรของรายย่อยที่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แบบนี้....

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันนี้ตลาดหุ้นบ้านเราได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดมาแล้ว... (ณ เวลานี้ ที่ไม่มีข่าวร้ายช๊อคโลกเข้ามาเกี่ยวข้อง) พวกเราก็ต้องอยู่ในระเบียบวินัยการลงทุนส่วนตัวอย่างเคร่งครัด ซื้อหุ้นผิดตัวผิดจังหวะ 3-5 % คัดไปก่อน แล้วจ้องคอยซื้อกลับเมื่อสภวะตลาดกลับคืนสู่สภาวะปกติ...

ตลาดหุ้นปัจจุบันนี้มีข่าวอึมครึมหรือไม่ดี ก็วางเฉยไปก่อน ไม่จำเป็นต้องเต้นตามข่าว.. หากมั่นใจว่าเงินที่ใช้ในการลงทุนของเรา หากต้องถือสักระยะหนึ่งจะไม่ทำให้เราเดือดร้อนกับการใช้ชีวิต...มีหุ้นหลาย ๆ ตัว ตอน 670 จุด ราคา ณ ขณะนั้น กับ ขณะนี้ดัชนี 640 จุด +/- ก็แทบไม่ต่างกันเลย.. หุ้นแบบนี้เป็นหุ้นที่ควรมีการจดบันทึกไว้ และหุ้นที่ลงมาแบบไม่มีเหตุผลมีส่วนลดมาก ๆ ก็ควรบันทึกไว้ด้วย ใช้ในการเล่นรอบได้....

หุ้นต่าง ๆ ในตลาด ณ ปัจจุบัน เป็นโอกาสดีของคนมีเงิน ในสภาวะที่หุ้นมีส่วนลดแบบนี้ มีนักลงทุนหลาย ๆ คน ทยอยสะสมอยู่เรื่อย ๆ ... พวกเขาเล็งการไกลรอขายในราคาที่ดีกว่านี้อีก 2-3 เดือนข้างหน้า... คนเล่นเดย์เทรดควรงดเว้นการออกศึก เพราะไม่ใช่ท่านไม่เก่งกว่าตลาดหุ้น แต่ตลาดหุ้นช่วงนี้เป้นการสะสมหุ้นมากกว่าการทำกำไร.. หากเข้าไปแล้วจะรู้สึกอึดอัด และต้องขายเสียช่วงเสียน้ำบวกคอมฯ ซะเป็นส่วนใหญ่.... แต่พอสักระยะหนึ่งราคาหุ้นเหล่านั้นก็จะดีดตัวกลับขึ้นมาให้ท่านเดย์เทรดเสียความรู้สึกกันอีก... ท่านเดย์เทรดทั้งหลายจึงไม่ควรดื้อ... เพราะเกมส์หุ้นอยู่ในการคอนโทรลของคนมีเงิน...... (คนมีเงินมาก ๆ เหล่านั้น ส่วนใหญ่จะใจดำกับรายย่อยเสมอ ๆ )

ปล... ข้อความข้างบนนั้น นอกจากใช้ในการลงทุนแล้ว ทุก ๆ ท่านสามารถนำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจและดำเนินชีวิตได้...

กลอุบาย

จงเดินทางคดเคี้ยวเพื่อตัดตรงสู่เป้าหมาย คนข้างท้ายออกเดินทางไปก่อน แต่คนอยู่หน้ากลับถึงที่หมายก่อน นี่คือกลอุบาย" เป้าหมายของเราคือรุก แต่เรากลับถอยร่นก่อน เพื่อหาวิธีบรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้โดยทางอ้อม (วันที่ดัชนีและหุ้นแดง ๆ ต้องถอยตั้งรับ..ไม่ไล่หุ้นอย่างเด็ดขาด)

"หนทางอันคดเคี้ยวเลี้ยวลด มักเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดในการไปสู่เป้าหมาย สิ่งที่เรียกกันว่าทางอ้อมนั้น แท้ที่จริงก็คือ การหลีกออกจากเส้นทางหรือเป้าหมาย ที่ศัตรูเฝ้าคอยที่จะโจมตีเราอยู่นั่นเอง จากนั้นจึงลงมือปฏิบัติการทำให้ข้าศึกเสียศูนย์ ก่อนหน้าที่การจู่โจมจะเกิดขึ้น"

หมายความว่า....เราจะไม่เดินทัพออกศึกซื้อหุ้นในวันที่เขียวจัด ๆ เพราะเขาปั่นดัชนีหรือจุดพลุมาขายของแพงกันทั้งนั้น เราจะเดินทางลัดที่คดเคี้ยวโดยการซื้อหุ้นวันที่บรรยากาศการลงทุนน่ากลัวและทรมานใจนักลงทุน แต่เป็นวันที่ดีมาก ๆ สำหรับผู้รู้แจ้ง...อย่างเว็ปพวกเรา....
หากเราเลือกเส้นทางสบายบรรยากาศดี ๆ คือ วันที่ตลาดหุ้นดี เอเซียเขียวมาก ๆ หุ้นต่าง ๆ ก็จะแพงไปด้วย หากเราซื้อ.... ก็มีผลติดหุ้นติดดอย...เสียรอบได้ง่าย....และผิดหลักการลงทุนอย่างมาก...!!!

"ปั่นหุ้น" เขาทำกันอย่างไร : ตอนที่ 8 (ตอนจบ)

จังหวะที่ใช้ในการปั่นหุ้น

1) เมื่อหุ้นตัวนั้นราคาตกลงมาจนราคาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานมาก ในภาวะตลาดขาลง นักลงทุนรายใหญ่จะทยอยสะสมหุ้นแบบไม่รีบร้อน เมื่อตลาดกลับเป็นขาขึ้น จะมีการไล่ราคาหุ้นอย่างรวดเร็ว แล้วทยอยขาย ปีหนึ่งทำได้สัก 2-3 รอบ ก็คุ้มค่าต่อการรอคอยแล้ว

2) เมื่อมีข่าวที่ส่งผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานของบริษัทนั้น โดยทั่วไป นักลงทุนรายใหญ่จะรู้เห็นข่าววงในก่อน (INSIDER) และซื้อหุ้นเก็บไว้ เมื่อข่าวดีออกมา จะมีการไล่ราคาแล้วขายหุ้นออกไป หรือในทางตรงกันข้าม หากมีข่าวปัจจัยพื้นฐานของบริษัทนั้นแย่ลงมาก เช่น ใกล้หมดอายุการใช้สิทธิของ WARRANT, ข่าวขาดทุนรายไตรมาส, ข่าวบริษัทลูกขาดทุน จะเป็นการปั่นหุ้นรอบสั้นๆ เพื่อออกของ หรือหากได้ปล่อยขายไปเกือบหมดแล้ว จะใช้วิธีทุบหุ้นเพื่อเก็บของถูก แล้วรอปั่นในรอบถัดไป

3) ปลายตลาดขาขึ้น เมื่อหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี (BLUE CHIP) ทุกกลุ่มถูกนักลงทุนไล่ซื้อ จนราคาหุ้นขึ้นมาสูงหมดแล้ว โดยทั่วไปจะไล่เรียงจากหุ้นกลุ่มใหญ่ๆ เช่น กลุ่มธนาคาร ไฟแนนซ์ ที่ดิน วัสดุก่อสร้าง สื่อสาร และพลังงาน เมื่อนักลงทุนหมดตัวเล่น รายใหญ่จะเข้ามาปั่นหุ้นตัวเล็กๆ ที่ปัจจัยพื้นฐานไม่ดีราคาต่ำ รายย่อยจะเข้าผสมโรงเพราะเห็นว่าหุ้นกลุ่มนี้ยังขึ้นไม่มาก ซึ่งโดยทั่วไปเมื่อหุ้นตัวเล็กๆ ถูกนำขึ้นมาเล่นไล่ราคา มักเป็นสัญญาณว่าหมดรอบของภาวะขาขึ้นแล้ว (เพราะถ้าหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี ราคายังต่ำกว่าความเป็นจริง นักลงทุนก็ยังพุ่งเป้าซื้อขายหุ้นกลุ่มนี้อยู่ จนกระทั่งราคาหุ้นขึ้นสูงเกินกว่าปัจจัยพื้นฐานแล้ว จึงละทิ้งไปเล่นหุ้นปั่น เมื่อราคาหุ้นโดยรวมสูงเกินปัจจัยพื้นฐาน ตลาดหุ้นย่อมพร้อมที่จะปรับฐานได้ตลอดเวลา)

"ปั่นหุ้น" เขาทำกันอย่างไร : ตอนที่ 7

วิธีสังเกตเมื่อมีการปั่นหุ้น

1) มีข่าวดีมา แต่ราคาหุ้นไม่ไปทั้งๆ ที่มีปริมาณการซื้อขายมากขึ้น เหมือนมีคนกด ราคาอยู่ (เพื่อเก็บของ)

2) หลังจากนั้น มีการไล่ราคาอย่างรวดเร็วรุนแรง ปริมาณการซื้อขายพุ่งขึ้นอย่างเห็น ได้ชัด

3) จำนวนหุ้นที่ตั้งซื้อ (BID) มีการเติมเข้าถอนออกอยู่ตลอดเวลา

4) การเคาะซื้อไล่ราคาจะมีการเคาะนำครั้งละ 100 หุ้น 2-3 ครั้ง จากนั้นจะเป็น การไล่เคาะซื้อยกแถว

5) หลังจากหุ้นขึ้นมานานแล้ว พอมีข่าวดีมา จะเห็นการเคาะซื้อครั้งละมากๆ แต่การตั้งซื้อ (BID) ไม่หนาแน่น

"ปั่นหุ้น" เขาทำกันอย่างไร : ตอนที่ 6

หมายเหตุปั่นหุ้น

1) สมัยก่อนหุ้นปั่นจะเป็นหุ้นตัวเล็กที่พื้นฐานไม่ดี ปัจจุบันนี้ หุ้นปั่นจะเป็นหุ้นตัวเล็ก หรือหุ้นที่มีสภาพคล่องน้อยแต่พื้นฐานดี เนื่องจากนักลงทุนรายย่อยฉลาดขึ้น แต่สุดท้ายก็ถูกหลอกอยู่ดี

2) นักลงทุนรายย่อยจะไม่สนใจหุ้นพื้นฐานดี แต่ไม่มีสภาพคล่อง แต่จะชอบหุ้นปั่น (ทั้งๆ ที่รู้ว่าปั่น) เพราะราคาวิ่งทันใจดี ส่วนใครออกตัวไม่ทัน ติดหุ้น เขาจะโทษตัวเองว่า โชคไม่ดีไหวตัวไม่ทันเอง

3) นักลงทุนรายย่อยจะไม่ซื้อหุ้นที่ขาดสภาพคล่อง ถึงแม้จะมีพื้นฐานดี แต่จะรอจนมีคนไปไล่ซื้อหุ้นให้มีปริมาณซื้อขายคึกคักและราคาขยับสัก 5%-10% แล้วจึงเข้าไปผสมโรง เพราะทุกคนมีคติว่า

"ขาดทุนไม่กลัว กลัวติดหุ้น" (หุ้นขาดสภาพคล่อง)
4) นักลงทุนรายย่อยจะภาคภูมิใจหากสามารถซื้อขายหุ้นในวันเดียวแล้วได้กำไรเล็กๆ น้อยๆ สัก 1-2% มากกว่าซื้อหุ้นไว้ 1 ปีแล้วกำไร 20%-30% เพราะคิดว่าการซื้อขายหุ้นในวันเดียว แล้วได้กำไรต้องใช้ฝีมือมากกว่า (ทั้งที่จากเฉลี่ยทั้งปีแล้วมักขาดทุน)

5) หุ้นหลายๆ ตัวในตลาดหลักทรัพย์ มีนักลงทุนรายใหญ่คอยดูแล เวลามีข่าวดีต่อหุ้นตัวนั้นเข้ามา ถ้าคนดูแลไม่ต้องการให้ราคาหุ้นปรับขึ้น หุ้นตัวนั้นก็จะถูกกดราคาไว้ แต่ถ้าคนดูแลเข้ามาไล่ราคาหุ้นเมื่อไร หุ้นก็จะเปลี่ยนทิศทางเป็นขาขึ้นทันที และข่าวหนังสือพิมพ์จะออกมาว่า นักลงทุนตอบรับข่าว

ดีของหุ้นตัวนั้น จึงได้เข้ามาซื้อเก็บเอาไว้ ทั้งๆ ที่ หลายๆ ครั้ง เป็นการทำราคาของรายใหญ่เพียงรายเดียว ที่เป็นผู้กำหนดทิศทางของหุ้นตัวนั้นว่าจะขึ้นหรือลง

6) นักปั่นหุ้นจะกลัวสภาวะตลาดมากกว่า ก.ล.ต. (คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) เนื่องจาก ก.ล.ต. ไม่เคยลงโทษนักปั่นหุ้นรายใหญ่ได้ แต่เขาจะกลัวว่า ถ้าคาดการณ์ภาวะตลาดผิด ตนเองจะติดหุ้นเอง

7) เหตุผลที่นักปั่นหุ้นต้องใช้ชื่อคนอื่น ตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป เป็นตัวแทนในการถือหุ้น (NOMINEE) ช่วยซื้อขายหุ้นนั้น เพื่อไม่ต้องการให้ทางการสาวเรื่องมาถึงตนได้ ขณะเดียวกัน ก็ต้องการหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์การถือหุ้นเกินคนละ 5% ของทุนจดทะเบียน ที่ต้องแจ้งเรื่องนี้กับ ก.ล.ต.เพื่อเผยแพร่ต่อนักลงทุนทั่วไปด้วย

"ปั่นหุ้น" เขาทำกันอย่างไร : ตอนที่ 5

หากจะสรุปวิธีการที่ใช้ในช่วงปล่อยหุ้นนี้ สามารถแบ่งออกได้ 4 วิธีการย่อย มีการตั้งขายหุ้น ( OFFER ) ไว้ล่วงหน้า หลายแสนหุ้นในแต่ละขั้นเวลา เริ่มเคาะซื้อนำครั้งละ 100 หุ้น 2-3 ครั้ง และจะเคาะซื้อหนักๆ ก็ต่อเมื่อหุ้นที่ตั้งขาย ( OFFER ) เป็นหุ้นในกลุ่มของตน เมื่อซื้อได้จะรีบนำมาตั้งขายต่อ และจะมีการเติมขายหุ้นตลอดเวลา เมื่อหุ้นที่เสนอขาย ( OFFER ) ใกล้หมด จะเคาะซื้อยกแถว แล้วตั้งเสนอขาย ( BID )เข้ามายันหลายแสนหุ้น แต่จะทยอยถอนออกแล้วเติมเข้าตลอดเวลา

เมื่อหุ้นของคนอื่นที่ตั้งซื้อ ( BID ) มีจำนวนมากพอจะมีการเทขายสวนลงมาเป็นจังหวะๆ เขาจะทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ หุ้นในพอร์ตของตนเอง จะค่อยๆ ถูกระบายออกไป และในสุดท้ายเมื่อข่าวดี

ได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ในวันรุ่งขึ้น เขาจะทำทีเคาะไล่ซื้อหุ้นตนเองอย่างหนัก แต่จะไม่ตั้งซื้อแล้ว เพราะกลัวถูกขาย ดังนั้นจึงเป็นภาพเหมือนมีคนมาไล่ซื้ออย่างรุนแรง แล้วอยู่ๆ ก็หยุดไปเฉยๆ ถามว่าแล้วเขาปล่อยหุ้นไปตอนไหน คำตอบคือ เขาทยอยตั้งขายไปในระหว่างที่เขาทำทีซื้อนั่นเอง ผู้เคราะห์ร้าย คือ รายย่อยที่ไปเคาะซื้อตาม แต่รีรอที่จะขายเพราะเห็นว่ายังมีแรงซื้อแน่นอยู่ สุดท้ายต้องติดหุ้นในที่สุด

บทสรุป
ตลาดหลักทรัพย์ ถือเป็นแหล่งระดมทุนที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจ และความเจริญของประเทศชาติ ประชาชนทุกคนได้รับโอกาสให้นำเงินออมเข้ามาลงทุนกับบริษัทชั้นดีในตลาดหลักทรัพย์ หากเขาเหล่านั้นลงทุนด้วยความรู้ ความเข้าใจ ย่อมสามารถสร้างผลกำไร และความมั่นคงให้กับตนเอง และครอบครัว แต่ถ้าเข้ามาลงทุนด้วยวิธีเก็งกำไรโดยปราศจากความรู้ ย่อมมีโอกาสตกเป็นเหยื่อของนักปั่นหุ้นที่มีอยู่มากมายในตลาดหุ้นได้

เศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว เปรียบได้ดั่งสายฝนซู่ใหญ่ที่พัดสาดเข้ามาอีกครั้ง แสงระยิบระยับของกระดานหุ้นเร้าใจแมลงเม่าไม่แพ้แสงไฟในฤดูฝน เหล่าแมลงเม่าน้อยใหญ่พากันโบยบินเข้าตลาดหุ้น และแล้วตำนานเรื่องเดิมของเหล่าแมลงเม่าก็เริ่มต้นอีกครั้ง

"ปั่นหุ้น" เขาทำกันอย่างไร : ตอนที่ 4

ขั้นตอนในการปั่นหุ้น

5) การปล่อยหุ้น เมื่อหุ้นขึ้นมาได้ 80% ของราคาเป้าหมายแล้ว ระยะทางที่เหลืออีก 20% ของราคาคือช่วงของการทยอยปล่อยหุ้น ช่วงนี้จะเป็นช่วงชี้เป็นชี้ตายการลงทุนของนักปั่นหุ้น ถ้าทำพลาด นักลงทุนรายย่อยรู้เท่าทัน หรือตลาดไม่เป็นใจ เช่น เกิดสงครามโดยไม่คาดฝัน นักปั่นหุ้นเองที่จะเป็นผู้ติดหุ้นอยู่บนยอดไม้ จะขายก็ไม่มีใครมารับซื้ออาจต้องรออีก 6 เดือนถึง 1 ปีกว่าจะมีภาวะกระทิงเป็นจังหวะให้ออกของได้อีกครั้ง อีกทั้งอาจจะไม่ได้ราคาดีเท่าเดิม หรือถึงกับขาดทุนก็ได้

วิธีการปล่อยหุ้น เริ่มจากการรอจังหวะที่ข่าวดีจะประกาศออกมาเป็นทางการ นักปั่นหุ้นซึ่งรู้มาก่อนแล้วจะเริ่มไล่ราคาอย่างรุนแรง 4-5 ช่วงราคา มีการโยนหุ้น เคาะซื้อเคาะขายกันเองครั้งละหลายแสนหุ้นปริมาณซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพื่อดึงดูดความสนใจของรายย่อย

เมื่อรายย่อยเริ่มเข้าผสมโรง นักลงทุนรายใหญ่จะตั้งขายหุ้นในแต่ละช่วงราคาไว้หลายๆ แสนหุ้น และจะเริ่มเคาะนำ ส่งสัญญาณไล่ซื้อครั้งละ 100 หุ้นบ้าง 3,000 หุ้นบ้างหรือแม้แต่ครั้งละ 100,000 หุ้น หลายๆ ครั้ง เมื่อหุ้นที่ตั้งขายใกล้หมด เขาจะเคาะซื้อยกแถวพร้อมกับตั้งซื้อยันรับที่ราคานั้นทันที ครั้งละหลายแสนหุ้น ถามว่าเขาตั้งซื้อครั้งละหลายแสนหุ้น เขากลัวไหมว่าจะมีคน หรือนักลงทุนสถาบันขายสวนลงมา คำตอบคือ กลัว แต่เขาก็ต้องวัดใจดูเหมือนกัน หากมีการขายสวนก็ต้องใช้วิธีเคาะซื้อแต่ไม่ใช้วิธีตั้งซื้อ นักลงทุนรายย่อยเมื่อสังเกตว่ามีการไล่ซื้อ จะเข้ามาซื้อตาม นักลงทุนรายใหญ่ซึ่งคอยนับหุ้นอยู่ พอเห็นมีเหยื่อมาติด จะเคาะนำที่ราคาใหม่ที่สูงขึ้นอีก แต่เพื่อให้ไม่ต้องซื้อหุ้นเข้ามาเพิ่ม เขาจะเคาะซื้อไม้หนักๆ ก็ต่อเมื่อหุ้นที่ตั้งขายอยู่เป็นหุ้นในกลุ่มของตนเอง สมมติตนเองตั้งขายไว้ 500,000 หุ้น เมื่อได้รับการยืนยันจากเทรดเดอร์ว่า เริ่มมีการเคาะซื้อ จากนักลงทุนอื่น ถึงคิวหุ้นของตนแล้ว เช่นอาจมีคนเคาะซื้อเข้ามา 10,000 หุ้น เขาจะทำทีเคาะซื้อเองตามอีก 200,000 หุ้น เพื่อให้รายย่อยฮึกเหิม เมื่อซื้อแล้วเขาก็จะเอาหุ้น 200,000 หุ้นนี้มาตั้งขายใหม่ ยอมเสียค่านายหน้า ซื้อมาขายไปเพียง 0.5% แต่ถ้าสำเร็จจะได้กำไรตั้ง 50-100% เพราะฉะนั้น การไล่ซื้อช่วงนี้จึงเป็นการซื้อหนักก็ต่อเมื่อ ซื้อหุ้นตนเองตบตารายย่อยขณะที่ค่อยๆ เติมหุ้นขายไปทีละแสนสองแสนหุ้น

ส่วนการตั้งซื้อ ( BID ) ที่ตบตารายย่อยว่าแรงซื้อแน่นนั้น หากสังเกตดีๆ จะพบว่าเมื่อตั้งซื้อเข้ามาสองแสนหุ้น สามแสนหุ้น สักพักจะมีการถอนคำสั่งซื้อออก แล้วเติมเข้ามาใหม่เพื่อให้การซื้อนั้นไปเข้าคิวใหม่อยู่คิวสุดท้าย และจะทำอย่างนี้หลายๆ ครั้ง นักลงทุนรายย่อยที่ตั้งซื้อเข้ามา จะถูกดันไปอยู่คิวแรกๆ หมด และถ้าเขาเห็นว่านักลงทุนอื่น มีการตั้งซื้อเข้ามามากพอสมควรแล้ว นักลงทุนรายใหญ่ก็จะมีการเทขายสลับเป็นบางครั้ง เรียกได้ว่ามีทั้งการตั้งขายและเคาะขายพร้อนกันเลยทีเดียว

"ปั่นหุ้น" เขาทำกันอย่างไร : ตอนที่ 3

ขั้นตอนในการปั่นหุ้น

4) การไล่ราคาหุ้น เมื่อได้ปริมาณหุ้นมากพอ ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการไล่ราคา แต่การไล่ราคาต้องหาจังหวะที่เหมาะสมเหมือนกัน หากจังหวะนั้น ไม่มีเหตุผลเพียงพอ รายย่อยก็จะขายหุ้นทิ้งเมื่อราคาหุ้นขึ้นไปสูงพอประมาณ แต่หากหาเหตุผลมารองรับได้ รายย่อยจะยังถือหุ้นไว้อยู่ เพราะเชื่อว่าราคาหุ้น น่าจะสูงกว่านี้อีก กว่าจะรู้สึกตัว ปรากฏว่ารายใหญ่ขายหุ้นทิ้งหมดแล้ว เหตุผลหรือจังหวะที่ใช้ในการไล่ราคา มักจะใช้ 3 เรื่องนี้

ภาวะตลาดรวมเริ่มเป็นขาขึ้น กราฟทางเทคนิคของราคาหุ้นเริ่มดูดี มีข่าวลือ ซึ่งปล่อยโดยนักปั่นหุ้นว่า หุ้นตัวนี้กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงทางพื้นฐานไปในทางที่ดีขึ้น

การไล่ราคา คือ การทำให้ราคาปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว วิธีการคือ จะมีการเคาะซื้อครั้งละมากๆ แบบยกแถว แล้วตามด้วยการเสนอซื้อ ( BID ) ยันครั้งละหลายๆ แสนหุ้นจนถึงล้านหุ้น เพื่อข่มขวัญไม่ให้รายย่อยขายสวนลงมา

รายย่อยเห็นว่าแรงซื้อแน่น จะถือหุ้นรอขายที่ราคาสูงกว่านี้ รายใหญ่บางคนอาจจะแหย่รายย่อยด้วยการเทขายหุ้นครั้งละหลายแสนหุ้น เหมือนแลกหมัดกับหุ้นที่ตนเองตั้งซื้อไว้เอง รายย่อยอาจเริ่มสับสนว่ามีคนเข้ามาซื้อแต่เจอรายใหญ่ขายสวน ราคาจึงไม่ไปไหน สู้ขายทิ้งไปเสียดีกว่า รายใหญ่จะโยนหุ้นแหย่รายย่อยอยู่สัก 1-2 ชั่วโมง จากนั้นจะตามมาด้วยการไล่ราคาอย่างจริงจังทีละขั้นราคา ( STEP )

ถ้าหุ้นที่ปั่นเป็นหุ้นตลาด คนชอบซื้อขายกัน การไล่ราคาจะไล่แบบช้าๆ แต่ปริมาณ ( VALUME ) จะสูง ราคาเป้าหมายมักจะสูงขึ้นประมาณ 20-25% หากภาวะตลาดกระทิง ราคาเป้าหมายอาจจะสูงถึง 50% แต่ถ้าหุ้นที่ปั่นเป็นหุ้นตัวเล็กพื้นฐานไม่ค่อยดี ปริมาณการซื้อในช่วงเวลาปกติมีไม่มาก การไล่ราคาจะทำอย่างรวดเร็ว ราคาเป้าหมายมักจะสูงถึง 40-50% ถ้าเป็นภาวะกระทิง ราคาเป้าหมายอาจขยับสูงถึง 100%

ช่วงไล่ราคานี้ อาจจะกินเวลา 3 วันถึง 1 เดือน ขึ้นกับว่าเป็นหุ้นอะไร ภาวะตลาดอย่างไร เช่น ถ้าเป็นหุ้นเก็งกำไรที่ไม่มีพื้นฐานจะกินเวลาสั้น แต่ถ้าเป็นหุ้นพื้นฐานดีจะใช้เวลานานกว่า และถ้าเป็นภาวะกระทิง นักปั่นหุ้นจะยิ่งทอดเวลาออกไป เพื่อให้ราคาหุ้นขึ้นไปสูงที่สุดเท่าที่ตั้งเป้าเอาไว้

ในช่วงต้นของการไล่ราคา นักลงทุนรายใหญ่อาจยังคงมีการสะสมหุ้นเพิ่มอยู่บ้าง แต่รวมกันต้องไม่เกิน 5% ของทุนจดทะเบียนในแต่ละพอร์ตที่ใช้ปั่นหุ้นอยู่ พอปลายๆ มือจะใช้วิธีไล่ราคาแบบไม่เก็บของ คือ ตั้งขายเอง เคาะซื้อเอง เมื่อซื้อได้ ก็จะนำหุ้นจำนวนนี้ย้อนไปตั้งขายอีกในราคาที่สูงขึ้น และเคาะซื้อตามอีก

ทำเช่นนี้หลายๆ รอบ สลับกันไปมาระหว่างพอร์ตต่างๆของตนเอง ค่อยๆ ดันราคาสูงขึ้นไปเรื่อยๆ หากมีหุ้นของรายย่อยถูกซื้อติดเข้ามาจนรู้สึกว่าเป็นภาระมากเกินไป ก็อาจมีการเทขายระบายของออกไปบ้าง แต่เป็นการขายไม้เล็กๆ ในลักษณะค่อยๆ รินออกไป เพื่อไม่ให้นักลงทุนรายย่อยตกใจเทขายตามมากเกินไป ตัวหุ้นเองจะได้มีการปรับฐานตามหลักเทคนิค เพื่อจูงใจนักลงทุนรายใหม่ที่ยังไม่ได้ซื้อ จะได้กล้าเข้ามาซื้อ

"ปั่นหุ้น" เขาทำกันอย่างไร : ตอนที่ 2

ขั้นตอนในการปั่นหุ้น

1) การเลือกตัวหุ้น นอกจากจะต้องเลือกตัวหุ้นที่มีลักษณะตามที่กล่าวไว้เบื้องต้นแล้ว ยังต้องมีการนับหุ้นด้วยว่าหุ้นตัวนี้ตอนนี้มีใครถืออยู่ในสัดส่วนเท่าไร หากจะเข้ามาปั่นหุ้น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือนักลงทุนสถาบันจะเข้ามาแทรกแซงหรือไม่ ถ้าผู้ถือหุ้นรายใหญ่ให้ความร่วมมือด้วยก็จะง่ายขึ้น

2) การกระจายเปิดพอร์ตการลงทุน จะเปิดพอร์ตกระจายไว้สัก 4 - 5 โบรกเกอร์ ในชื่อที่แตกต่างกัน มักจะใช้ชื่อคนอื่นที่ไว้ใจได้เช่น คนขับรถ , เสมียน , คนสวน เพื่อป้องกันไม่ให้โยงใยมาถึงตนได้

3)การเก็บสะสมหุ้น มีหลายวิธีทั้งวิธีสุจริต และผิดกฎหมายในลักษณะการลวงให้คนทั่วไปเข้าใจว่า ราคาหุ้นตัวนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง
โดยทั่วไปการเก็บสะสมหุ้น มีวิธีดังต่อไปนี้

การทยอยรับหุ้น เมื่อเห็นว่าราคาหุ้นลงมามากแล้ว ก็ใช้วิธีทยอยซื้อหุ้นแบบไม่รีบร้อนวันละหมื่น วันละแสนหุ้น ขึ้นกับว่าหุ้นตัวนั้นมีสภาพคล่องมากน้อยขนาดไหน วิธีนี้เป็นวิธีสุจริตไม่ผิดกฎหมาย จะใช้เวลาในการเก็บหุ้นตั้งแต่ 2 สัปดาห์ถึง 2 เดือน การกดราคาหุ้น ถ้าระหว่างที่กำลังเก็บสะสมหุ้น ยังไม่ได้ปริมาณที่ต้องการ เกิดมีข่าวดีเข้ามาหรือตลาดหุ้นเปลี่ยนเป็นขาขึ้น เริ่มมีรายย่อยเข้ามาซื้อหุ้นตัวนี้ ก็จะใช้วิธีขายหุ้นล็อตใหญ่ๆ ออกมาเป็นการข่มขวัญนักลงทุนรายย่อย ถือเป็นการวัดใจ นักลงทุนรายย่อยมักมีอารมณ์อ่อนไหว เห็นว่าถือหุ้นตัวนี้อยู่ 2 - 3 วันแล้วหุ้นยังไม่ไปไหน แถมยังมีการขายหุ้นล็อตใหญ่ๆ ออกมา ก็จะขายหุ้นทิ้งแล้วเปลี่ยนไปเล่นตัวอื่นแทน สุดท้ายหุ้นก็ตกอยู่ในมือรายใหญ่หมด วิธีนี้จะใช้เวลา 5 - 10 วัน การเก็บแล้วกด วิธีนี้มักใช้เมื่อมีข่าววงใน ( INSIDE NEWS ) ว่าหุ้นตัวนี้กำลังจะมีข่าวดีเข้ามาหนุน ถ้าหุ้นตัวนั้นไม่มีสภาพคล่อง จะใช้วิธีโยนหุ้นไปมาระหว่างพอร์ตของตนที่เปิดทิ้งไว้

รายย่อยเมื่อเห็นว่าเริ่มมีการซื้อขายคึกคัก ก็จะเข้าผสมโรงด้วย คนที่ถือหุ้นอยู่แล้ว ก่อนนี้ไม่มีสภาพคล่อง จะขายหุ้นก็ขายไม่ได้ไม่มีคนซื้อ พอมีปริมาณซื้อขายมากขึ้นก็รีบขายหุ้นออก บางคนถือหุ้นมาตั้งแต่บาทหุ้นตกลงมาถึง 5 บาท พอเห็นหุ้นตีกลับขึ้นไป 5.5 บาท ก็รีบขายออก คิดว่าอย่างน้อยตนก็ไม่ได้ขายที่ราคาต่ำสุด ช่วงนี้รายใหญ่จะเก็บสะสมหุ้นให้ได้มากที่สุด โดยใช้เวลาประมาณ 5 วันทำการ

ขณะเดียวกันต้องคอยดูแลไม่ให้หุ้นมีราคาขึ้นไปเกิน 10 % เพื่อไม่ให้ต้นทุนของตนสูงเกินไปถ้าเกิดราคาสูงขึ้นมากจะใช้วิธีโยนขายหุ้นล็อตใหญ่ๆ ออกมา โดยให้พวกเดียวกันที่ตั้งซื้อ ( BID ) อยู่แล้วเป็นคนรับเมื่อได้จำนวนหุ้นตามที่ต้องการแล้ว สุดท้ายจะกดราคาหุ้นให้ต่ำลงมายังจุดเดิม โดยใช้วิธีโยนขายหุ้นโดยให้พวกเดียวกันตั้งซื้อเหมือนเดิม แต่จะทำอย่างหนักหน่วง และรวดเร็วกว่า ทำให้ราคาหุ้นลดอย่างรวดเร็ว ช่วงนี้จะใช้เวลา 3 - 5 วัน รายย่อยบางคนคิดว่าหมดรอบแล้ว จะรีบขายหุ้นออกมาด้วย

รายใหญ่ก็จะมาตั้งรับที่ราคาต่ำอีกครั้ง ช่วงนี้จะตั้งรับอย่างเดียว ไม่มีการไล่ซื้อ หรือไม่ก็หยุดการซื้อขายไปเลยให้เรื่องเงียบสัก 4 - 5 วันเป็นการสร้างภาพว่าก่อนข่าวดีจะออกมา ไม่มีใครได้ข่าววงในมาก่อนเลย รอจนวันข่าวดีประกาศเป็นทางการ จึงค่อยเข้ามาไล่ราคาหุ้น

วิธีสังเกตว่าในขณะนั้นเริ่มมีการสะสมหุ้นแล้วคือ ปริมาณซื้อขายจะเริ่มมากขึ้นผิดปกติ จากวันละไม่กี่หมื่นหุ้น เป็นวันละหลายแสนหุ้น ราคาเริ่มจะขยับแต่ไปไม่ไกลประมาณ 5-10% มองดูเหมือนการโยนหุ้นกันมากกว่า กดราคาหุ้นจนกว่าจะเก็บได้มากพอ แล้วค่อยไล่ราคาหุ้น

ข้อระวังอย่างหนึ่ง คือ มีหุ้นบางตัวโดยเฉพาะหุ้นตัวเล็กๆ นักลงทุนรายใหญ่มีข่าวอินไซด์ว่า ผลประกอบการงวดใหม่ที่จะประกาศออกมาแย่มาก หากภาวะการซื้อขายหุ้นตอนนั้นซึมเซา เขาจะเข้ามาไล่ซื้อ โยนหุ้นกันระหว่าง 2-3 พอร์ตที่เขาเปิดไว้ ให้ดูเหมือนรายใหญ่เริ่มเข้ามาเก็บสะสม หุ้นรายย่อยจะแห่ตาม รุ่งขึ้นรายใหญ่จะเทขายหุ้นขนานใหญ่ รายย่อยเริ่มลังเลใจ ขอดูเหตุการณ์อีกวัน

พอผลประกอบการประกาศออกมา ราคาก็หุ้นดิ่งเหวแล้ว รายย่อยจึงถูกดึงเข้าติดหุ้นราคาสูงในที่สุด

"ปั่นหุ้น" เขาทำกันอย่างไร : ตอนที่ 1

แมลงเม่า หมายถึง ปลวกในวัยเจริญพันธุ์ มีปีก ชอบบินเข้าเล่นแสงไฟในยามค่ำคืน และมักจบชีวิตในเปลวไฟ

นักลงทุนรายย่อย หมายถึง ผู้คนซึ่งพอจะมีสตางค์ ที่เข้าไปลงทุนในตลาดหุ้น เพราะทนต่อความยั่วยวนของราคาหุ้นที่ขึ้นลงหวือหวาไม่ได้ สุดท้ายมักจะหมดตัวไปกับหุ้นปั่น

ส่วนนิยามโดยสรุปของการปั่นหุ้น คือ การล่อ และลวงนักลงทุนรายย่อยให้เข้าไปซื้อหรือขายหุ้น ที่มีราคาสูงหรือต่ำกว่าสภาวะปกติ โดยเจตนาไม่สุจริต

การเปรียบนักลงทุนรายย่อยว่าเป็นแมลงเม่า จึงเหมาะสมด้วยประการฉะนี้

ลักษณะของหุ้นที่นิยมปั่น มีมูลค่าทางตลาด ( MARKET CAPITALISATION ) ต่ำ จะได้ไม่ต้องใช้จำนวนเงินมากในการไล่ราคา ปัจจัยพื้นฐานยังไม่ดี เพื่อที่นักลงทุนสถาบันจะไม่เข้ามาซื้อขายด้วย ซึ่งจะทำให้ยากต่อการควบคุมปริมาณ และราคาหุ้น

มีราคาต่อหุ้น ( MARKET PRICE ) ต่ำ ถ้าราคาต่ำกว่า 10 บาทยิ่งดี ด้วยเหตุผลสองประการ หนึ่งเป็นผลทางจิตวิทยา เช่น หุ้นถูกไล่ราคา จาก 3 บาท เป็น 6 บาท ถึงแม้ราคาจะปรับขึ้นมา 100% แล้ว แต่คนยังรู้สึกว่าไม่แพง เพราะยังถูกกว่าราคาพาร์ ( PAR ) สองผู้ถือหุ้นใหญ่ที่เป็นนักลงทุนสถาบัน มักมีต้นทุนที่ราคาพาร์ หรือสูงกว่า แม้หุ้นจะขึ้นมามาก แต่ถ้าเขาเชื่อว่าแนวโน้มของธุรกิจดี เขามักจะไม่ขาย ( ถ้าแนวโน้มธุรกิจไม่ดี เขาก็ขายทิ้งไปนานแล้ว ) ดังนั้น จึงไม่ต้องกังวลว่านักลงทุนสถาบันจะเข้ามาแทรกแซงในการซื้อขาย

มีจำนวนหุ้นหมุนเวียนน้อย เพื่อความมั่นใจว่าจะสามารถควบคุมปริมาณหุ้นได้ตามที่ต้องการ ผู้ถือหุ้นใหญ่รู้เห็นเป็นใจ หรือผู้ถือหุ้นใหญ่ถือหุ้นเพื่อการลงทุนระยะยาว จึงไม่สนใจเมื่อราคาหุ้นขึ้น หรือลงหวือหวามีข่าวดีมารองรับ ระยะหลังเริ่มมีการใช้ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นมาเป็นตัวล่อใจนักลงทุนรายย่อย เพื่อให้ตายใจว่าราคาหุ้นถูกไล่ขึ้นมาสมเหตุสมผล เช่น ข่าวการปรับโครงสร้างหนี้ ,ข่าวการร่วมกิจการ , กำไรรายไตรมาสที่พุ่งขึ้นสูงเป็นต้น

หุ้นปั่น...ปั่นหุ้น!?!

หุ้นปั่น...ปั่นหุ้น!?!

น่าจะเป็นคำที่นักลงทุนในตลาดหุ้นคุ้นหูและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในช่วงที่ ตลาดหุ้นกำลังคึกคักร้อนแรงและอยู่ในช่วง "ขาขึ้น" เป็นภาวะ "กระทิงคึก" สุดๆในขณะนี้

การซื้อขายที่หนาแน่น ราคาหุ้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างร้อนแรง นักลงทุนในตลาดมากกว่าครึ่งนั่งลุ้นกันสุดตัว เพราะเล่นเก็งกำไรระยะสั้นกันวันต่อวัน และวนเล่นกันวันละหลายรอบ ตามข่าวลือ ข่าวปล่อย ที่มีทั้งข่าวจริง ข่าวเท็จ แพร่สะพัดไปในห้องค้าเต็มไปหมด

ขณะที่ราคาหุ้นหลายๆตัวได้ทะยานขึ้นอย่างหวือหวาโดดเด่นและร้อนแรง สร้างความอู้ฟู่ร่ำรวยให้แก่นักลงทุน โดยหุ้นบางตัวปรับขึ้นมาแล้ว 400-500% และบางตัวปรับขึ้นไปได้ถึงหลัก 1000% หลายตัวปรับชนเพดานสูงสุด (30%) ติดต่อกันหลายวัน การซื้อขายหุ้นกระจุกตัวอยู่ที่หุ้นตัวใดตัวหนึ่งสูงผิดปกติ ก่อนจะวนไปกระจุกตัวในหุ้นตัวอื่นๆต่อ

เสียงที่อื้ออึงพูดกันถึง "หุ้นปั่น" และ "พฤติกรรมการปั่นหุ้น" ได้ดังหนาหูขึ้นทุกที ทั้งยังดูเหมือนกระบวนการปั่นหุ้นในยุคนี้จะซับซ้อนแยบยล และไฮเทคสุดๆ!!

ใครปั่นหุ้น...ปั่นอย่างไร...หุ้นตัวไหนเหมาะมือน่าปั่น อะไรคือลางบอกเหตุว่าหุ้นตัวนี้กำลังโดนปั่น โปรดติดตาม....!?!

===========================================================

ขาใหญ่ฮั้วกันปั่น

จากการสำรวจตรวจสอบขบวนการปั่นหุ้นพบว่า พฤติกรรมการไล่ซื้อเก็งกำไรผสมโรงตามของ นักลงทุนรายย่อยจำนวนมาก เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การปั่นหุ้นของหัวโจกหรือต้นตอที่จุดพลุ ไล่ราคาปั่นหุ้นประสบผลสำเร็จอย่างสมบูรณ์เพราะการเข้าผสมโรงไล่ซื้อตามเป็นการ "ต่อยอด" ให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นได้ต่อเนื่อง และเป็นสัญญาณให้ "ก๊วนปั่นหุ้น" ใช้เป็นจังหวะในการเทขายทำกำไรได้ในราคาสูง!!

นั่นหมายถึงรายย่อยได้ตกเข้าไปเป็นเครื่องมือ...เหยื่อ... หรือเครือข่ายหนึ่งของการปั่นหุ้น ในจุดที่เสี่ยงที่สุด!!

หากจะแยกแยะให้เห็นถึงกรรมวิธีการปั่นหุ้นและกลุ่มคนผู้ร่วมขบวนการปั่นหุ้น ที่เห็นกันดาษดื่นในยุคนี้ คือการเริ่มจุดพลุจากบรรดานักลงทุนรายใหญ่หรือ "ขาใหญ่" ที่มีเงินหนา สายป่านยาวในตลาดหุ้น ซึ่งแต่ละคนมีมูลค่าพอร์ตลงทุนไม่ต่ำกว่า 100 ถึง 1,000 ล้านบาท โดยก๊วนปั่นกลุ่มนี้จะมีผู้ร่วม ขบวนการเป็นบรรดาเครือข่ายขาใหญ่ด้วยกันเอง ก๊วนปั่นแต่ละรายจะมีบัญชีซื้อขายหุ้น (พอร์ต) เปิดไว้หลายโบรกเกอร์ หลายคนก็กระจายไปหลายโบรกฯ พอร์ตใครพอร์ตมัน เส้นทางเงินทองแยกเป็นอิสระต่อกัน แต่เป้าหมายและผลประโยชน์ตรงกัน

โดยอาจจะนั่งสั่งการ "ปั่น" แยกที่ใครที่มัน หรือรวมตัวกันที่ห้องปฏิบัติการส่วนตัวของขาใหญ่เอง และอาจรวมกลุ่มปั่นกันที่ห้องวีไอพีของโบรกฯใดโบรกฯ หนึ่ง!?!

ขั้นตอนการปั่นหุ้น ก่อนอื่นเลยคือ การเลือก "ตัวหุ้น" ที่จะปั่นหรือสร้างราคา โดยคุณสมบัติหรือลักษณะเด่น ของหุ้นน่าปั่น และปั่นง่ายนั้น ต้องเป็นหุ้นตัวเล็กที่ราคาไม่สูงมากนัก ประเภทหุ้นต่ำสิบหรือราคาอยู่ในช่วง 10-30 บาท และต้องเป็นหุ้นที่มีจำนวนหุ้นหมุนเวียนซื้อขายในตลาดได้จริงไม่มากนัก

เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมหรือสร้างราคาให้เปลี่ยนแปลงได้ง่าย และใช้เงินจำนวนไม่มากก็สามารถ ผลักดันราคาให้ปรับขึ้นไปได้ โดยสามารถกำหนดหรือคำนวณวงเงินที่จะใช้ในการปั่นหุ้นแต่ละตัวได้ ซึ่งวงเงินที่ใช้มีตั้งแต่ 400-2,000 ล้านบาท ตามราคาและจำนวนหุ้นที่ซื้อขายได้ในตลาด ซึ่งหุ้นเหล่านี้ถือเป็นหุ้นที่อยู่ในข่าย "หุ้นเหมาะมือ" น่าปั่น

ที่สำคัญ หุ้นเหล่านี้มักจะมีข่าวหรือมีเรื่องราวหนุนหลัง ที่เป็นปัจจัยเปลี่ยนแปลงพื้นฐาน ของบริษัท เช่น ผลการปรับโครงสร้างหนี้ การลดทุน-เพิ่มทุน แตกพาร์หรือแจกวอแรนต์ รวมทั้งการย้ายกลุ่มจากหมวดรีแฮปโก้กลับมาซื้อขายในหมวดธุรกิจปกติ ทั้งนี้ อาจจะเป็นทั้งข่าวจริง ข่าวลือ หรือข่าวคาดการณ์

ค่อยๆลากขึ้นไป "เชือด"

ก๊วนปั่นหุ้นนี้จะใช้กลยุทธ์ "ทยอยเก็บของก่อน แล้วค่อยปล่อยข่าว" โดยจะค่อยๆ เข้าไปซื้อหุ้นที่ราคายังนิ่งอยู่ในระดับต่ำตุนไว้ในพอร์ตจำนวนหนึ่ง จากนั้นจะนัดกันเข้าไปไล่ซื้อพร้อมๆกัน ในลักษณะไล่ราคา ที่จะทำให้ปริมาณวอลุ่มและราคาหุ้นวิ่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนทันที ซึ่งมีกรรมวิธีทั้งการเข้าไปตั้งราคาซื้อ (Bid) โดยทุ่มซื้อเป็นลอตใหญ่ๆจำนวนเยอะ และซื้อทุกราคาที่มีคนเสนอขาย หรือการตั้งคำสั่งซื้อโดยซอยคำสั่งเป็นย่อยๆและส่งคำสั่งถี่ๆ และซื้อทุกราคาเช่นกัน เพื่อจะทำให้นักลงทุนทั่วไป เห็นความต้องการซื้อที่หนาแน่นและการทะยานขึ้นอย่างร้อนแรงของราคาหุ้น เพื่อจูงใจและกระตุ้นให้รายย่อยไหลเข้าไปซื้อเก็งกำไรตาม โดยบางครั้งอาจใช้กลยุทธ์อำพราง โดยชักคำสั่งซื้อออกเมื่อถึงคิวที่จะจับคู่ซื้อได้ เพื่อหลอกล่อให้เห็นว่ามีความต้องการซื้อจำนวนมาก

ขั้นตอนต่อไปก็จะเริ่มขบวนการ "ปล่อยข่าว" เพราะพฤติกรรมของนักลงทุนจะไล่เช็กหรือ สอบถามข่าวเมื่อเห็นหุ้นตัวใดวิ่งผิดปกติ และจุดนี้นี่เองที่ข่าวต่างๆ จะถูกปล่อยออกมาตามห้องค้าในอินเตอร์เน็ต หรือข่าวออนไลน์ต่างๆ และอาศัยการแพร่ สะพัด โดยพูดกันปากต่อปาก

ก๊วนปั่นหุ้นอาจทำทีโทร.ถามมาร์เกตติ้งว่ามีข่าวลือออกมาเช่นนี้จริงหรือไม่ (ข่าวที่ว่าก็จะเป็นข่าวที่จะมีผลดีต่อราคาหุ้นตัวนั้นๆ) เมื่อนักลงทุนรายอื่นๆ โทร. มาถามต่อ มาร์เกตติ้งก็อาจกลายเป็นผู้กระจายข่าวออกไปเอง ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ จากนั้นนักลงทุนก็จะเอาไปพูดต่อเพื่อกระตุ้นให้ "คนรู้ทีหลัง" เข้ามาไล่ตาม "ต่อยอด" ราคาให้สูงขึ้นไปอีก

นี่ก็จะเป็นจังหวะหรือโอกาสงามๆที่ก๊วนปั่นจะได้ทยอย "ออกของ" ขายหุ้นออกมาได้ในราคาสูง ฟันกำไรตุงกระเป๋า ก่อนที่จะโยกเข้าไปปั่นหุ้นตัวอื่นต่อ และอาจจะวนกลับเข้ามา ปั่นหุ้นตัวเดิมได้อีกเป็นรอบๆ ขณะที่รายย่อยก็จะ "ติดหุ้น" ในราคาสูง เพราะเมื่อจบภารกิจการปั่นแล้ว ราคาหุ้นก็จะปรับตัวลง ซึ่งกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบจะใช้เวลาเพียงสั้นๆ 2-3-5 วัน

ปฏิบัติการ "จุดพลุ" ที่เริ่มตั้งแต่เข้าไปไล่ราคา จะมีการส่งสัญญาณหรือกำหนดช่วงราคาซื้อและ ราคาเป้าหมายที่จะขายไว้เป็นขั้นๆ ซึ่งจะรู้กันเอง เพื่อเป็นการส่งสัญญาณภายในกลุ่มถึงจังหวะในการขายทำกำไร แต่บางครั้งเป้าหมายของราคา อาจถูกปล่อยออกมาพร้อมกับข่าวหรือเรื่องราวที่ซัพพอร์ตตัวหุ้น และที่สำคัญ มักจะบังเอิญออกมาสอดคล้องกับบทวิเคราะห์ของบางโบรกเกอร์ที่ออกมาหนุน

ว่ากันว่า บทวิเคราะห์ของบางโบรกเกอร์สามารถกดปุ่ม "สั่ง" ให้ออกมาได้ ในช่วงเวลาที่พอดีกับการเข้า "ต่อยอด" ราคาของรายย่อยด้วย!!!

เพราะบรรดาขาใหญ่ ก๊วนปั่นทั้งหลาย ล้วนเป็นลูกค้าวีไอพีที่สร้างรายได้ ค่าคอมมิชชั่นให้แต่ละโบรกฯมหาศาล นอกจากนี้ หุ้นปั่นบางตัวยังพบว่ามีเครือข่ายของผู้บริหารโบรกเกอร์แฝงตัวร่วมก๊วนด้วย

ดังนั้น การดูข้อมูลบทวิเคราะห์ของหุ้นแต่ละตัว สมควรต้องดูเปรียบเทียบกันหลายๆแห่ง เพราะโบรกเกอร์ "น้ำดี" ที่เป็นที่พึ่งของนักลงทุนในตลาดยังมีอีกมาก และก็อาจออกบทวิเคราะห์หุ้นปั่นมาในช่วงเวลานั้นๆ เพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์

ผู้บริหาร "อินไซด์" ปั่นเอง

ก๊วนปั่นที่ต้องจับตา เพราะกำลังแพร่ระบาดอย่างหนักในขณะนี้ คือ ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนเอง ที่เป็นหัวโจกต้นตอในการปั่น โดยนอกจากจะร่วมกับเครือข่ายของตัวเองแล้ว หลายกรณียังมีการชักชวน ขาใหญ่เข้าร่วมขบวนการด้วย เพื่อเพิ่มพละกำลังและวงเงินในการปั่นให้บรรลุผล

กรณีนี้ ผู้บริหารจะใช้ข้อมูลภายในที่ยังไม่มีการเปิดเผยเป็นเครื่องมือในการชักจูง ให้ขาใหญ่เข้าร่วมขบวนการ ซึ่งหุ้นที่จะปั่นในกรณีนี้ จึงไม่จำเป็นต้องเป็นหุ้นตัวเล็กเสมอไป อาจเป็นหุ้นขนาดกลาง แต่ที่จะต้องมีคือข้อมูลภายในซึ่งเป็นข่าวจริงที่จะมีผลต่อราคาหุ้นโดยตรง

ผู้บริหารจะบอกข้อมูลให้ขาใหญ่รู้ว่า บริษัทกำลังจะมีข่าวดีอะไร และตั้งเป้าที่จะปั่นราคาให้ ปรับขึ้นไปได้ในระดับใด กรรมวิธีก็คล้ายๆ เดิมคือเริ่มเข้าทยอยตุนเก็บหุ้นในราคาต่ำ โดยผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นใหญ่จะใช้บัญชีของเครือข่ายที่จะทำให้ไม่สามารถเชื่อมโยงมาถึงตัวได้ หลังจากนั้น จะมีการเปิดเผยข่าวดีออกมา โดยผู้บริหารให้สัมภาษณ์หรืออาจจะแจ้งตลาด หลักทรัพย์ตามข้อบังคับที่ถูกต้อง

จากนั้นก็จะส่งสัญญาณให้เครือข่ายเข้าไปไล่ดันราคาหุ้นให้พุ่งขึ้นมา เมื่อมีรายย่อยผสมโรงเข้ามาไล่ซื้อต่อยอด เมื่อได้ตามราคาเป้าหมาย ก็จะฉวยจังหวะนี้ทยอยชิงขายทำกำไรออกมา

หรือบางครั้งเพียงแค่มีข่าวดีออกมา นักลงทุนก็จะเข้าไปไล่ซื้อ ยิ่งโถมเข้ามามาก ราคาก็ทะยานขึ้น ก๊วนปั่นอาจจะเข้าผสมโรงระยะหนึ่งเพื่อให้ตายใจ แต่ในอีกทางหนึ่งก็จะทยอยขายหุ้นต้นทุนต่ำออกมา หลังจากนั้นหลายครั้งที่พบว่า รายย่อยอาจยัง "เล่นกันเอง-ปั่นกันเองต่อ" ใครเข้ามาไล่ซื้อ "รับไม้สุดท้าย" ก็เจ็บตัวขาดทุนไปตามระเบียบ ขณะที่ก๊วนปั่นออกตัวขายหุ้นฟันกำไรตุงกระเป๋าไปแล้ว

ซึ่งการใช้ข้อมูลอินไซด์ของก๊วนผู้บริหารนี้ พบว่าหลายครั้งจะมีการ "ขยักข่าว" หรือค่อยๆทยอยปล่อยข่าวดีออกมาเป็นระลอก เพื่อให้สามารถกระชากราคาหุ้น ให้ขยับปรับขึ้นได้หลายรอบ ที่ข่าวอินไซด์ถูกปล่อยออกมาพร้อมๆ กับการตั้งราคาเป้าหมาย เช่น ขยักแรกตั้งเป้า 25 บาท ขยักต่อไปเป้า 30 บาท

ปล่อยข่าวรอบแรกก็จะปั่นให้ถึง 25 บาท แล้วขายทำกำไร ปิดธุรกรรมออกมาก่อน จากนั้นทิ้งช่วงเวลาไว้ ระยะหนึ่ง เพื่อเข้าไปทยอยเก็บหุ้นที่ปรับลงมาต่ำกว่า 25 บาท และปล่อยข่าวออกมาอีกขยัก เพื่อตั้งเป้าปั่นรอบต่อไปให้ถึง 30 บาท งานนี้เรียกว่า "เล่นรอบ" วนฟันกำไรกันได้หลายรอบ

อาชีพใหม่รับจ้างปั่น

สำหรับกลุ่มสุดท้ายที่เข้ามาปั่นหุ้นและทำกันเป็นล่ำเป็นสัน ยึดถือเป็นอาชีพใหม่ที่น่า ตกใจขณะนี้คือ รับจ้างปั่นหุ้น ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและ รู้พฤติกรรมนักลงทุนในตลาดหุ้นเป็นอย่างดี คนเหล่านี้อาจมาจากที่ปรึกษาการเงิน ทั้งที่ยังทำงานประจำอยู่และที่ออกมาตั้งตัวรับจ้างปั่นโดยเฉพาะ ได้ผลตอบแทนจากส่วนแบ่งกำไรจากพอร์ตของผู้บริหาร (นอมินี) และได้กำไรตรงจากการเข้าไปลงทุนของเครือข่ายตัวเอง

วิธีการทำงานคือจะเข้าไปเสนอตัวกับผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ ที่เป็นนักเล่นหุ้นซึ่งส่วนใหญ่ มักคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว และวางแผนในการสร้างเรื่องราว ที่หนุนให้การปั่นมีเหตุมีผลมีน้ำหนัก ซึ่งเรื่องราวที่ว่าจะอยู่บนหลักการที่ทำได้ ทั้งการแตกพาร์ เพิ่มทุนแจกวอแรนต์ จัดกลุ่มธุรกิจใหม่ แต่งตัวเอาบริษัทลูกเข้าตลาด หรือแม้กระทั่งเจรจาร่วมพันธมิตร ซึ่งข่าวต่างๆ นี้จะถูกวางแผนดำเนินการ อย่างมืออาชีพและค่อยๆทยอยปล่อยข่าวออกมา เพื่อให้นักลงทุนคล้อย ตามผสมโรงเข้ามาไล่ราคาตาม และเพื่อให้สอดคล้องกับจังหวะในการเข้าซื้อและ ขายหุ้นของก๊วนปั่นมือปืนรับจ้าง

ว่ากันว่า ก๊วนปั่นทั้ง 3 กลุ่มข้างต้นนี้ สามารถทำกำไรในแต่ละรอบไม่ต่ำกว่า 100-500 ล้านบาท ในเวลา 3-7 วัน มากกว่าบางบริษัทที่ทำธุรกิจมาทั้งปี!!!

===========================================================

จะเห็นว่า ทุกขั้นตอนของกระบวนการปั่นหุ้นในยุคนี้ สมัยนี้ มีหลักการ ฉับไว รวดเร็ว ไร้ร่องรอย กระทำการตอนตลาดอยู่ในช่วงขาขึ้นและร้อนแรง หุ้นทุกตัวที่ถูกปั่นจึงมักประสบผลสำเร็จ ราคาวิ่งเกินปัจจัยพื้นฐาน และแม้รายย่อยบางกลุ่มบางคนจะได้กำไรจากการเข้าไล่ซื้อตาม แต่สุดท้าย มักติดหุ้นในราคาต้นทุนสูงมากกว่า

มีคำถามว่า รายย่อยจะมีโอกาสเข้าไปหากำไรร่วมกับขบวนการปั่นหุ้นได้หรือไม่!??

ผู้เชี่ยวชาญในวงการตลาดหุ้นชี้แนวทางว่า ในช่วงปี 2546 ที่ผ่านมา ราคาหุ้นส่วนใหญ่ ที่ปรับขึ้นได้ทุกตัวนั้น แน่นอนว่าส่วนหนึ่งเป็นกำไรไหลเข้ากระเป๋ารายย่อย เพราะด้วยปัจจัยพื้นฐานภาพรวมตลาดที่เปลี่ยนแปลงดีขึ้นอย่างชัดเจน รายย่อยที่เข้าไปผสมโรง ต่อในทอดแรกๆ ก็ยังขายทำกำไรออกมาได้ ตามที่นักกลยุทธ์แนะติดปากว่า "ตามข่าวให้ทัน เข้าให้ถูกจังหวะ" และ "เข้าเร็ว-ออกเร็ว" แต่กำไรที่จะได้ก็มีจำกัด วัดกันไม่ได้กับก๊วนปั่นที่มีต้นทุนตุนไว้ต่ำกว่าและ รู้จังหวะในการขายที่ราคาสูงกว่า

เพราะเป็นผู้ควบคุมราคาเอง!!

แต่ที่อันตรายกว่านั้น คือรายย่อยที่ได้กำไรแล้ว "ติดใจ" ขายออกไปแล้ว แต่ยังเห็นราคาวิ่งต่อได้ จึงกลับเข้าไปรับใหม่ในราคาสูงกว่าเดิม ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นช่วงไม้สุดท้าย ที่ก๊วนปั่นเริ่มทยอยออกของแล้ว

สุดท้าย ผลพวงจากการ "ติดใจ" กลายเป็น "ติดหุ้น" ทุนหายกำไรหด!!

แต่ขอเตือนว่า ตลาดหุ้นปี 2547 แม้ทุกสำนักวิเคราะห์จะฟันธงว่าดัชนีหุ้นยังไปได้ต่อว่ากันไปถึง 800-900 จุด แต่ดัชนีจะสวิงแกว่งตัวขึ้น-ลงผันผวนมาก และการลงทุนในระดับดัชนีที่สูงกว่า นอกจากจะเล่นยากแล้ว ความเสี่ยงก็จะสูงขึ้นไปด้วย การเล่นเก็งกำไรระยะสั้น ผสมโรงไล่ราคาตามข่าวลือ เหมือนวิ่งลงหลุมพรางที่ก๊วนปั่นขุดล่อเอาไว้ โอกาสบาดเจ็บขาดทุนจึงมีมากกว่าที่จะได้กำไรติดปลายนวม ถ้าไม่แน่จริง ไม่ทันข่าว ไม่ทันเกมส์...อย่าดีกว่า

แต่ถ้าคิดว่าเจ๋งจริง...และยอมรับความเสี่ยงที่สูงได้ ก็ลองวัดดวงดู!!!

คัมภีร์ ไตรยุทธ์



1. เล็งแล้วซื้อ (เกิดขึ้น)
เลือกหุ้นยอดนิยม / หุ้น Lead / หุ้นติด Most Active รอจังหวะราคาหุ้นถูกทุบลงมาแล้วเริ่มยืนได้ โดยสังเกตุราคาหุ้นไม่ทำ New Low และวันต่อมาทำจุดต่ำยกสูงขึ้น ราคาหุ้นทะลุเส้นแนวโน้มลงระยะสั้น กลาง [ ใช้เครื่องมือทางเทคนิคเคิล กราฟราย 30 นาที รอจังหวะราคาหุ้นตกลงมาแรงๆ และเริ่มยืนได้คือ ราคาไม่สร้างจุดต่ำใหม่ แต่แกว่งตัวออกด้านข้าง กรอบ Bollinger Bands แคบลงเคลื่อนตัวแนวนอน RSI อยู่ต่ำกว่า 40 (จังหวะนี้เฝ้าดูไว้ เริ่มน่าสนใจแล้ว) รอจนราคาเริ่มขยับขึ้น จน RSIเคลื่อนตัวมาอยู่ที่ระดับ 40 - 50 (เท่าที่สังเกตุมา ราคาหุ้นจะทรงตัวอยู่ระดับนี้ก่อนทะยานขึ้น 1-3 วัน)
** ให้เข้าซื้อบริเวณนี้ แล้วอย่าลืมกำหนดจุด Stop Loss ไว้ด้วย (ความไม่แน่นอน คือความแน่นอน)**

2. ถือแล้วรอ (ตั้งอยู่)
หลังจากเข้าซื้อแล้ว ก็อดทนรอ (ขันติ) หากราคาหุ้นยังทำ New Highราคายืนเหนือเส้นเฉลี่ย 5 วัน 10 วัน 25 วัน และทำจุดต่ำยกสูงขึ้น ก็ถือต่อไป (Let Profit Run) ช่วงนี้ให้สังเกตุนิสัยหุ้นว่ารอบนี้ว่ามันยืนอยู่เหนือเส้นเฉลี่ยเส้นไหน (5 วัน 10 วัน หรือ 25 วัน)

3. งาบแล้วชิ่ง (ดับไป)
เมื่อราคาหุ้นเริ่มอ่อนแรงไปต่อไม่ไหว ราคาหุ้นจะไม่ทำ New Highและแกว่งตัวออกด้านข้างจากเดิมกราฟแท่งเทียนที่ปรากฏแท่งเขียวมากกว่าแท่งแดงจะเปลี่ยนเป็นแท่งแดงมากกว่าและแท่งแดงยาวกว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นเริ่มโค้งลงตัดเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวสุดท้ายราคาหุ้นหลุดเส้นแนวโน้มขึ้น (สังเกตุได้จากเส้นค่าเฉลี่ย 5 วัน 10 วัน 25 วัน)
**ถึงจังหวะนี้ ให้รีบขายทำกำไรได้แล้ว ความโลภ ไม่เคยปรานีใคร **

แนวทางการขายหุ้น

1. การซื้อหุ้นได้ถูกตัว (ได้จากผลการวิเคราะห์) รวมถึงซื้อได้ถูกจังหวะ จะช่วยให้ขายหุ้นได้ไม่ยาก
2. ระวังการขายหุ้น Big Lot เพราะนั่นไม่ได้สะท้อนภาพโดยรวมของตลาด
3. การที่หุ้นมีราคาสูงขึ้นจากฐานเดิมไปมากอย่างรวดเร็ว ก็ต้องระวัง เพราะนั่นย่อมแสดงให้เห็นว่า จุขายนั้นอยู่ไม่ไกลออกไปนัก
4. ดัชนีหุ้นจะสูงอย่างต่อเนื่องขึ้นไปได้ ก็ต่อเมื่อมีมูลค่าการซื้อขายที่สูงคอยสนับสนุน
5. ขายออกไปก่อน หากหุ้นขึ้นอย่างรวดเร็วภายในระยะ 8-12 วัน
6. ควรขายหากหุ้นขึ้นไปอย่างรวดเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยขึ้นไปจากเดิม 25-30%
7. นักลงทุนรายใหญ่จะขายเมื่อมีแรงรับมารับหุ้นไว้ได้เท่านั้น
8. ราคาหุ้นที่สูงขึ้น โดยไม่มีมูลค่าการซื้อขายเข้ามารองรับ ย่อมหมายถึงการเกิดอุปสงค์เพียงชั่วคราว ควรรีบขาย
9. มูลค่าการซื้อขายสูง แต่ราคาหุ้นไม่ไปไหน จะมีสัญญาณว่าจะมีการกระจายตัวเล่นมากขึ้น
10. หุ้นที่ปิดต่ำ ควรต้องระวังและรีบขาย
11. เมื่อทุกคนรู้สึกว่า หุ้นสูงขึ้น ก็ให้รีบขาย เพราะคนส่วนใหญ่ความรู้สึกก็จะคล้ายๆ กัน เพราะหาไม่แล้วก็จะสายเกินไป ตามที่ แจ็ค เครฟัส กล่าวว่า “ขายเมื่อมีข่าวดีล้นตลาด และซื้อเมื่อรู้สึกว่ากลัวสุดขีด กลัวตาย และคนอื่นๆ ไม่มั่นใจ”
12. ถ้าหุ้นเปิดสูง แต่ปิดต่ำกว่าราคาเปิด แสดงสัญญาณใกล้จุดสูงสุดรอบนั้นแล้ว
13. ขายออกไปดีกว่า ถ้าราคาหุ้นไม่วิ่งเลยหลายวัน
14. พิจารณาขายหากหุ้นขึ้นไปหลายสัปดาห์ และเริ่มย้อนกลับที่เดิม
15. หากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน ลดลง 2 ไตรมาสติดต่อกัน ขอแนะนำว่าขายออกไปดีกว่า
16. ขายเมื่อเห็นว่า ราคาหุ้นในกลุ่มที่เราเล่นอยู่เริ่มไปไม่ไหว
17. อย่าขายหุ้นตามข่าวร้าย ข่าวลือ เพราะนั่นเป็นเพียงกระแสชั่วคราว
18. พยายามขายหุ้นออกไปเมื่อราคาอยู่ต่ำกว่าแนวรับหลักของราคาช่วงนั้น
19. ถ้าขายหุ้นช่วงขาขึ้นไม่ทัน ก็ต้องรีบขายตอนขาลง หลังจากถึงจุดสูงสุดรอบนั้นแล้ว
20. หลังจากที่หุ้นขึ้นไปสู่จุดสูงสุดแล้วลดลง 8% ในบางกรณีก็จำเป็นต้องดูประวัติการขึ้นลงของหุ้นแต่เดิมว่า มีรูปแบบอย่างไร และดูว่าการขึ้นของราคางวดนี้จะจบลงตรงจุดใด หรือเพียงแค่ปรับตัวในช่วงระหว่าง 8-12% และในบางครั้งคุณอาจต้องขายหุ้นออกไป เมื่อราคาลดต่ำลงกว่า 12-15%
21. หากหุ้นมีการขึ้นไปโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง แล้วหล่นลงมาทันทีเป็นสัญญาณเตือนการขาย
22. ถ้ามีการขายอย่างรุนแรงในขณะที่หุ้นขึ้นไปสูงเกือบสุด และถัดมาด้วยมูลค่าการซื้อขายที่ลดลง และราคาเริ่มถอย ก็ขอให้รีบขายในวันที่ 2 หรือ 3 หลังจากที่ไม่สามารถดันต่อไปได้
23. ให้พิจารณาขาย หากราคาหุ้นปิดปลายสัปดาห์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว หรือต่ำกว่าราคาในแนวหนุน
24. จำนวนวันในช่วงขาขึ้นกับขาลง จะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อหุ้นเริ่มลง
25. รอสัญญาณยืนยันการซื้อก่อน และอย่าซื้อหุ้นที่ขายออกไป เพียงเพราะว่าคุณซื้อมาได้ในราคาถูกกว่าเก่าเท่านั้น
26. ต้องเรียนรู้การซื้อขายที่ผิดพลาดของตัวคุณเองในอดีต วิเคราะห์ด้วยตนเอง โดยอาจเขียนลงในแผนผังการซื้อขายให้ชัดเจน
27. การขายต้องขายไปอย่างรวดเร็ว ก่อนที่รอจนเกิดความชัดเจน และต้องขายเมื่อหลุดแนวหนุนที่เคยเป็น
28. ควรมีการคาดการณ์การทำกำไรในแต่ละสัปดาห์
29. ขายเมื่อหุ้นแตะแนวต้าน หรือขายเมื่อทะลุแนวต้านขึ้นไปแล้ว
30. ขายเมื่อหุ้นขึ้นสู่จุดสูงสุดใหม่
31. ขายเมื่อหุ้นขึ้นไปสูง โดยไม่มีฐานพอ
32. ขายหุ้นเมื่อฐานการขึ้นไปอย่างหละหลวม และต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน
33. ในบางกรณีให้ขายหุ้น เมื่อราคาทะลุขึ้น โดยมูลค่าการซื้อขายในช่วงสัปดาห์มากกว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
34. หุ้นบางตัวให้ขายออกไปเมื่อราคาสูงขึ้น 70-100% สูงกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน
35. ในช่วงหุ้นขาขึ้น หากเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน เริ่มมีแนวโน้มลดลง นับว่าเป็นสัญญาณขาย
36. หากราคาสัมพัทธ์กับตลาด (RSI) ลดต่ำกว่า 70% เป็นเหตุผลที่ต้องขาย

Monday, March 2, 2009

Dowjones Indexes

คาดการเศรษกิจไทยปี 52


บาทคาดว่าจะวิ่งไปแตะ 38 ภายในเมษา โดยมี target ที่ 39-40 ภายในมิถุนานี้

เหตุเพราะ รัฐบาลกับแบงค์ชาติใช้เป็นเครื่องมืออุ้มส่งออก ลดนำเข้า

ยิ่งบาทอ่อนค่าเร็วเท่าไร ก็ยิ่งเป็นการบังคับให้ต่างชาติออกจากตลาดมากเท่านั้น

ราคาน้ำมันยังไม่ปรับขึ้น จึงไม่มีแรงกดดันเรื่องราคา CPI จะออกมาติดลบจากราคาน้ำมันที่ลดลงเป็นหลัก และความต้องการสินค้าที่ลดลงโดยเฉพาะสินค้าเกษตร

ไตรมาสหนึ่ง ส่งออกเดือนกุมภาจะดีขึ้นกว่ามกรา แต่การนำเข้า การบริโภคภายในประเทศ การลงทุน จะถดทอยอย่างแรง yoyไตรมาสนี้ GDP จะหดตัวแรงสุด

ไตรมาสสองจะหดตัวลงต่อเนื่อง แต่จะไม่แรงเท่าไตรมาสหนึ่ง แม้รัฐบาลจะพยายามกระตุ้น ก็จะไม่เป็นผลเท่าที่ควร เพราะผลกระทบจากต่างประเทศจะเข้ามาต่อเนื่องในไตรมาสนี้ ดำดิ่งในอัตราที่ลดลง

ไตรมาสสามจะทรงตัว จากการกระตุ้นของรัฐบาลในไตรมาสสอง ซึ่งต้องใช้เงินอีกไม่ต่ำกว่า สามแสนล้านบาท พี่กรณ์กะพี่มาร์ครีบไปหาเงินมาเดี่ยวนี้เลย อย่าน้อยนะ หามาเยอะ ๆ

ไตรมาสสี่จะฟื้นตัวได้เอง ไม่ต้องทำอะไรก็ฟื้น เพราะไตรมาสสี่ที่ผ่านมามีการนำเข้าทองคำมากกว่าปกติ ทำให้การนำเข้าพุ่งขึ้น ขณะที่ส่งออกติดลบ หากราคาน้ำมันไม่พุ่งสูงขึ้น ตัวเลขเศรษฐกิจจะดูดีกว่าคาด

นี่คือภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่จะเกิดขึ้นในอีก สิบเดือนข้างหน้า จากข้อมูลที่ผมมีอยู่ถึงปัจจุบัน

จากคุณ : โอ่งสี

ความหมายของค่า P/E P/BV และ ROE

P/E - ย่อมาจาก Price/Earning per Share ถ้าสมมติว่ากำไรของบริษัทไม่เติบโตเลย P/E จะหมายถึงระยะเวลาคืนทุน เช่น P/E 5 เท่าหมายถึงระยะเวลาลงทุน 5 ปี ... P/E นี่ยิ่งต่ำยิ่งดีครับ

P/BV - ย่อมาจาก Price/Book Value ซึ่ง Book Value นี่จริงๆก็คิดมาจากส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity) หารด้วยจำนวนหุ้น ... ยิ่งเราซื้อหุ้นได้ต่ำกว่า BV มากเท่าไหร่ (P/BV ต่ำ) ก็หมายความว่าเราสามารถซื้อหุ้นได้ในราคาต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีของบริษัท ซึ่งตามตำราทั่วๆไปก็จะบอกว่า P/BV ยิ่งต่ำยิ่งดี ตัวเลขมาตราฐานที่มักจะใช้เป็นฐานก็คือเลข 1 เท่า

ROE - ย่อมาจาก Return on Equity หรือกำไรสุทธิหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้น เป็นอัตราส่วนที่ Buffett นั้นให้ความสำคัญค่อนข้างมาก ความหมายของ ROE นั้นเป็นตัวที่บ่งบอกว่าเงินที่บริษัทนั้นเก็บเอาไว้ทุกบาทนั้นบริษัทสามารถนำไปทำให้งอกเงยได้ในอัตราผลตอบแทนเท่าไหร่ ... เพราะฉะนั้น ROE ยิ่งสูงก็ยิ่งดี ตัวเลขมาตราฐานที่มักจะใช้กันคือความสูงกว่า 12-15% อย่างต่อเนื่องหลายๆปี

ที่กล่าวไปข้างต้นก็เป็นสิ่งที่หนังสือทั่วๆไปให้ความหมายไว้ แต่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงความสัมพันธ์ของ Ratio ทั้ง 3 ตัวนี้ซักเท่าไหร่ .. ผมจะลองผูกสูตรให้ดูกันนะครับ

P/E = Price/EPS = Price/(Net Profit/Number of Share)P/BV = P/BV = Price/(Equity/Number of Share)ROE = Return/Equity = (Net Profit/Equity)

ลองเอาผูกกันดูนะครับ จะได้ P/BV = P/E x ROEจากที่หนังสือทั่วไปบอกว่าหุ้นที่ดีจะต้องมี P/E ต่ำ P/BV ต่ำ ROE สูง ลองมาใส่ในสูตรจะเห็นว่ามันมีความขัดแย้งกันอยู่พอสมควร

1. สมมติว่าให้หุ้นตัวหนึ่งมี P/E คงที่ที่ 10 เท่า ถ้า ROE เท่ากับ 5% หรือ 0.05 จะได้ P/BV 0.5 ก็จะเห็นว่า P/E หุ้นตัวนี้อยู่ในระดับกลางๆ ไม่สูงไม่ต่ำไป P/BV ก็ต่ำเพียง 0.5 ก็ถือว่าถูกมาก แต่ ROE ที่ 5% นั้นจริงๆแล้วถือว่าต่ำมาก
2. สมมติให้หุ้นอีกตัวหนึ่งมี P/E เท่ากับ 10 เหมือนกัน ROE 20% P/BV จะเท่ากับ 2 ซึ่งจะเห็นว่าถ้ามองจาก P/BV นั้นอาจจะมองว่าหุ้นราคาไม่ถูกแล้ว เพราะแพงกว่ามูลค่าทางบัญชีถึง 1 เท่า แต่ถ้ามองในแง่ของ ROE ที่สูงถึง 20% ก็จะเห็นว่าหุ้นตัวนี้มีคุณภาพดีมากๆตัวหนึ่ง

แล้วปัญหาก็คือเราจะเลือกซื้อหุ้นตัวไหนดีเบอร์ 1 หรือเบอร์ 2 เพราะจากสูตรข้างต้นจะเห็นว่า P/BV ต่ำกับ ROE สูงนั้นมักจะไม่มาด้วยกัน ... เราจะต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ในมุมมองของผม ส่วนใหญ่การลงทุนที่ผ่านมาที่ทำให้ผมประสบความสำเร็จอยู่ซ้ำๆคือหุ้นประเภท 2 ที่มี ROE สูงแม้จะมี P/BV สูง ... เพราะฉะนั้นเวลาลงทุนจริงๆ ผมแทบจะไม่ได้มอง P/BV เลยครับ ส่วนใหญ่ก็จะมอง P/E ROE และอนาคตของบริษัทซะมากกว่า ซึ่งตอนนี้มาดูหุ้นใน Port ของผม 4 ตัวก็เป็นหุ้นที่มี P/BV อยู่ในระดับ 3-4 เท่าทั้งนั้น (มีเพียงตัวเดียวที่ P/BV ประมาณ 1 เท่าหน่อยๆ) และ ROE ประมาณ 30-40%

สาเหตุที่ผมเลือกหุ้นที่มี ROE สูงมากกว่าหุ้นที่มี P/BV ต่ำ เพราะการลงทุนแบบเน้นคุณค่านั้นก็แบ่งออกเป็น 2 แนวหลักๆคือแนวเกรแฮมที่เน้นหุ้นที่ราคาถูกเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะเน้นการซื้อหุ้นที่ P/BV ต่ำ P/E ต่ำ และแนวที่ 2 คือแนว Buffett ที่เน้นหุ้นที่มีคุณภาพสูงราคาเหมาะสม คือซื้อที่มี ROE สูงอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มจะดีต่อไป ในขณะที่ P/E ก็ไม่แพงมากเกินไป การลงทุนทั้ง 2 แนวนั้นถ้าจริงๆแล้วผมว่าใช้ได้ดีทั้งคู่ แต่จากผลงานของทั้งบัฟเฟตเทียบกับเกรแฮมก็จะเห็นว่าแม้เกรแฮมจะทำผลงานได้ดีแต่ Buffett นั้นทำผลงานได้ดีกว่ามาก ...

แล้วเมื่อไหร่เราถึงจะควรซื้อหุ้นที่มี ROE ต่ำและมี P/BV ต่ำ? --
1. เมื่อนักลงทุนเป็นนักลงทุนที่อาจจะไม่มีความรู้หรือไม่มีเวลาติดตามข่าวสารการลงทุนอย่างต่อเนื่อง การลงทุนในหุ้นที่มี P/E และ P/BV ต่ำหลายๆตัว (ผมว่าอย่างต่ำต้อง 10 ตัว) เนื่องจากเป็นการลงทุนที่มีการพิสูจน์มาระดับหนึ่งแล้วว่าให้ผลตอบแทนที่ชนะตลาดได้ แต่สำหรับคนที่มีความรู้ในด้านการลงทุนด้านธุรกิจและต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่าผมว่าการซื้อหุ้น P/BV ต่ำคงไม่ใช่คำตอบที่ดีเท่าไหร่
2. เมื่อเราเจอหุ้นที่มีพื้นฐานเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน สมมติมีหุ้นตัวหนึ่งในอดีตอาจจะมีผลกำไรที่ไม่ค่อยดีทำให้มีค่า ROE ต่ำอยู่นาน ค่า P/BV แต่ถ้าเรามีข้อมูลเพียงพอว่าบริษัทมีพื้นฐานที่เปลี่ยนไปเช่นมีการลงทุนในโครงการบางอย่างที่ได้ผลดีมากและสามารถสร้างกำไรในอนาคตได้เป็นกอบเป็นกำ ซึ่ง ROE ในอนาคตจะเพิ่มสูงขึ้น ถ้าเรามีโอกาสได้เจอหุ้นแบบนี้โอกาสที่จะกำไรหลายๆเท่าต้วนั้นมีสูงมาก หุ้นพวกนี้เห็นได้บ่อยๆในกลุ่มธุรกิจวัฏจักร ที่อยู่ในช่วงต่ำสุดของ Cycle และกำลังมีแนวโน้มที่ดี ในอดีตก็จะเห็นหุ้นเรือเมื่อหลายๆปีก่อนมี ROE ต่ำมากๆ P/BV ก็ต่ำมากๆเช่นกัน จนค่าระวางเพิ่มขึ้น ROE ก็เพิ่มขึ้นสูงถึงระดับ 100% ใครได้ซื้อหุ้นพวกนี้ไว้ลงทุนระยะยาวจนปัจจุบันน่าจะทำกำไรได้หลาย 10 เท่าภายในระยะเวลาไม่นานมากนัก

Cradit : คุณ YOYO

SAA Consensus หุ้นที่มีการ update วันนี้

SETTRADE.COM - บทวิเคราะห์

SETTRADE.COM - บทวิเคราะห์ ภาวะตลาด

SETTRADE.COM - บทวิเคราะห์ เทคนิค

SETTRADE.COM - บทวิเคราะห์ หุ้นรายตัว

SETTRADE.COM - บทวิเคราะห์ พิเศษ

SETTRADE.COM - บทวิเคราะห์ หุ้น IPO

กรุงเทพธุรกิจ - ธุรกิจ

กรุงเทพธุรกิจ - การเงิน - การลงทุน