Sunday, April 1, 2012

THE THEORY OF “TIMMING” เศรษฐศาสตร์ แห่งความจริง

THE THEORY OF “TIMMING” เศรษฐศาสตร์ แห่งความจริง

นักเล่นหุ้น นักธุรกิจ นักการเมือง ต้องอ่าน

 

เศรษฐศาสตร์ แห่งความจริง

       จะขอเริ่มต้นด้วยการแยกเรื่องราวทางเศรษฐกิจออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ ส่วนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตลาดเก็งกำไร เช่น เรื่องของ ดอกเบี้ย เงินเฟ้อ การคำนวณ GDP มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ การลงทุน หรือเรื่องของการทำธุรกิจ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เราสามารถคิดได้อย่างเป็นเหตุ เป็นผล, ใช้เหตุผลตรงไปตรงมาในระดับปกติธรรมดาในการคิดได้ ส่วนที่สอง เป็นเรื่องของตลาดเก็งกำไร เช่นตลาดหุ้น ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ตลาดซื้อขายล่วงหน้า ตลาดซื้อขายทอง ตลาดซื้อขายน้ำมัน ฯลฯ ตลาดเก็งกำไรเหล่านี้ไม่ได้มีเหตุผลตรง ๆ ในแบบที่เราคิดกัน ไม่สามารถใช้เหตุผลในระดับปกติธรรมดา แบบที่เราใช้ในการทำธุรกิจ ฯลฯ ในการเอาชนะ หรือคาดการณ์ทิศทางราคาให้ถูกต้องได้ เราจึงเห็น คนเก่ง ๆ มีการศึกษาสูง เป็น ด็อกเตอร์ เป็นหมอ เป็นนักวิชาการ เป็นนักธุรกิจ ที่ประสบความสำเร็จ หาเงินได้มากจนร่ำรวย พอมาเล่นหุ้นกลับขาดทุน คาดการณ์ทิศทางราคาผิดตลอด เพราะหลักการเหตุผลมันคนละอย่างกัน วิธีการหลักคิดที่ใช้ในการทำธุรกิจ แล้วประสบความสำเร็จจนร่ำรวย พอเอาหลักการเหตุผล มาใช้ในตลาดหุ้นกลับขาดทุน เพราะตลาดหุ้นไม่ได้มีเหตุผลตรง ๆในแบบที่เราคิดกันแต่อยู่เหนือกฎเกณฑ์ของเหตุและผล ถ้าตลาดหุ้นเป็นเหตุ เป็นผลและใช้เหตุผลวิเคราะห์คาดการณ์ทิศทางราคาได้ คนเก่ง ๆ มาเล่นหุ้นต้องได้กำไรไม่ใช่ขาดทุนกันเป็นส่วนใหญ่เช่นนี้

      

Saturday, March 31, 2012

DSM Concept Version 3 : บทความพิเศษ ตอนที่ 2 – ใจสู่ใจสายรหัสDSM

ส่วนนี้ให้นักลงทุนทุกเขียนชื่อ เล่น อีเมล์ คำแนะนำข้อคิด ข้อเตือนใจ ไปสู่คนต่อๆ ไป และรอส่งต่อไปยังนักลงทุนท่านอื่นๆ ตามลำดับสายรหัส


031 ขวัญชัย Email: kwanchai_w@yahoo.com or kwanchai_w@hotmail.com
ชื่อเล่น “ขวัญ”


ข้อคิด ความเห็น “ทำตามเขาไป เดี๋ยวก็เป็นไปเอง” สังเกตผลงาน และความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เปรียบเหมือนการหัดว่ายน้ำ เห็นอาจารย์เขาลอยตัวในน้ำได้ เพียงขยับร่างกายไม่มากนัก ก็ลอยตัวได้ ท่วงท่าสง่างาม แล้ว แต่เราขยับร่างเต็มกำลังจนอ่อนล้า ก็ยังจมลงๆๆ ไม่ลอยเหมือนอย่างอาจารย์ทำให้ดู เมื่อเราฝึกฝนเวลาผ่านไปสักระยะ เราก็ลอยตัวได้นิดหน่อย.... เพื่อนร่วมรุ่นว่ายน้ำกันไปไกลแล้ว ......... เราจะเก็บก้าวเล็กๆนิดหน่อยนี้ .....ไปต่อกันให้ได้ระยะทางยาว...อย่างใจเย็นๆ.........”ภูมิใจและพอใจกับก้าวเล็กๆ”.......

สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นผมขอแนะนำว่าเวลา ได้เงินแฝงแล้ว ยังไม่ต้องเอาไปเพิ่มหุ้น ยังไม่ต้องเอาไปแปลงร่างใดๆ ให้เก็บใส่กระปุกไว้ คือสะสมไว้อย่างเดียวก่อน ให้ได้เป็นหมื่นๆ แสนๆ ก่อนเพราะการที่เราจะใช้ ซื้อหุ้นเพิ่มเราต้องรอจังหวะ ให้เงินที่เราหามาได้ก้อนแรกอยู่กับเรานานๆก่อน สิ่งที่ได้คือ “กำลังใจ” และเท่ากับว่าสำเร็จขั้นแรกแล้วคือ ขั้น”สะสมเงินแฝง” เมื่อเราชำนาญขึ้น เงินนี้จะมากขึ้น แล้วค่อยฝึกขั้นที่/ต่อไปคือ “ขั้นการใช้เงินแฝงสะสม” อย่าดูเบา เพราะหลายท่านได้เงินแฝงแล้วไปซื้อหุ้นเพิ่มในเวลาไม่ถูกจังหวะ เงินแฝงก็จะลดลง ๆ ๆ อย่างน่าเสียดาย การใช้เงินแฝง ก็คือ การพิจารณาลงทุน เราต้องดูโครงการที่ดีก่อนที่จะลงใช่ไหมครับ ไม่เชื่อลองถาม พี่กุง(คนชื่อนินจา)เลย ถ้าท่านทำตามแบบนี้แล้วท่านจะได้ไม่พลาด

“เงินแฝงที่เราได้มา ไม่ใช่ได้มาง่ายๆ มาได้มาจากน้ำพักน้ำแรงที่เราได้ศึกษาDSM มา จึงต้องเห็นคุณค่าของมัน อย่าใช้อย่าไม่มีแผนเด็ดขาด” ถ้าทำถูกต้องผมคิดว่า ทุกคนที่เข้ามาศึกษาแนวทางนี้
จะมีเงินก้อนทุกคน นั่นคือ เงินก้อนแห่งความภาคภูมิใจ ไงครับ
ท่องคาถาเศรษฐีนะครับ “อุ อา กะ สะ” ขอให้ทุกคนที่ก้าวเข้ามาในคลับแห่งนี้จงเป็นเศรษฐี
กันทุกคน

DSM Concept Version 3 : บทความพิเศษ ตอนที่ 1 – เปิดใจนักลงทุนหุ้นDSM

โครงการครบรอบก่อตั้งคลับเพื่ออิสรภาพทางการเงินคบ 1 ปีพอดีได้ให้นักลงทุนหุ้นแบบDSM ได้ให้คำแนะนำ ต่างๆ จากประสบการณ์หนึ่งปีที่ผ่านมามีดังต่อไปนี้

1.ดะเชา
ข้อคิดที่ได้... ทำในสิ่งที่เราถนัดและมีความสุข ทุกอย่างมันก็จะราบรื่น ถึงมันจะมีอุปสรรคบ้างแต่มันก็ไม่ยากเกินแก้ไข
ข้อแนะนำ...อยากให้อดทนกับสิ่งที่เรากำลังเรียนรู้อย่าพึ่งท้อ ไม่ว่าเราจะทำผิดพลาดยังไงก็เอามาเป็นบทเรียนแล้วเริ่มใหม่
ข้อเตือนใจ...อย่าไปยึดติดกับคำพูดของคนอื่นมากจนเกินไป จนทำให้ลืมความเป็นตัวของตัวเองไม่มีความคิดอะไรที่ดีสุดโต่งหรือแย่สุดขีดหรอกน่ะ ค่อยคิดค่อยทำแล้วจะดีเอง “ความสุขอยู่ที่เรากำหนด ไม่ใช่คนอื่น”


2.เต่าหยวนเปียว
เวลาผ่านไปเร็ว นี้ใกล้ครบรอบ 1 ปี คลับเพื่ออิสรภาพทางการเงิน นั่งคิดอยู่ว่าจะเขียนอะไรดี หากเป็นชิ้นเป็นอัน คงทำไม่ได้ดีนักเอาเป็นว่า ข้อคิดจากการลองทำแนวทางนี้มา 1 ปีเศษๆ ทำไมผมถึงบอกว่าแนวทางนี้ เพราะว่าผมไม่ได้ทำตามกฎ DSM เป๊ะๆ ไม่ได้ซื้อขายตามสเตป ผมต้องฝ่าฟันกับความคิดที่สับสนและหมกหมุ่มกันการหาว่าช่องว่างคืออะไร และคิดว่ามีอะไรที่ผมยังรู้ไม่เท่าคุณเด่นศรีหรือเพื่อนคนอื่นๆ
ถึงตอนนี้ผมก็ไม่รู้ว่าเจ้าช่องว่างที่ว่าคืออะไร แต่ในสมองผมไม่ได้เที่ยวหาคำตอบ หากแต่ได้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์มาก กล่าวคือ “ช่องว่างคือสิ่งที่ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีวันจบสิ้น” ต้องคิดค้นไปเรื่อยๆ ซึ่งนี่คือช่องว่างในจินตนาการของผม ต่างไปจากต้นกำเนิดอย่างสิ้นเชิง
ดีใจและรู้สึกปลาบปลื้มเป็นอย่างยิ่ง ที่เวบบอร์ดหุ้นยังมีบุคคลอย่างเช่นคุณเด่นศรี และอีกหลาย ๆ ท่าน ได้บรรลุถึงหัวใจหลักของนักลงทุน กล่าวคือ “นักลงทุนที่แท้จริงเป็นผู้ให้ ให้กับคนหมู่มาก ยิ่งให้ยิ่งได้รับ”
พอร์ตลงทุนหุ้นของผม ณ ปัจจุบัน ก็ยังคงได้อาศัยความรู้จากแนวทาง DSM ในการบริหารพอร์ต จนผ่านพ้นมาได้ด้วยดี และคงต้องพัฒนาต่อไป ผมเองไม่ได้รีบเร่ง ของเพียบแต่มุ่งหน้าไปสู่จุดหมายทุกขณะ

ข้อคิดที่ดีของผม

DSM Concept Version 3 : DSM (35) – SET DSM index คืออะไร

วิธีคิดดัชนี DSM ของพอร์ตของนักลงทุนแต่ละท่าน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อไม่ให้พวกเราทั้งหลายที่ทำ DSM แล้วหลงไปยึดติดกับ SET INDEX

2. เพื่อเอาไว้ดูว่าในแต่ละวันดัชนี DSM ของเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

การคำนวณดัชนีหุ้นนั้นมีอยู่หลายวิธี แต่ละวิธีก็มีจุดดี จุดด้อย นี่คือสาเหตุที่เราต้องมีทั้ง SET INDEX , SET50 และ SET100

วิธีคิดแบบแรกคือ PRICE WEIGHT คิดแค่ราคาหุ้นอย่างเดียว เช่น

DSM Concept Version 3 : DSM (34) – กลยุทธ์หุ้นDSM สู้ศึก XR ทำอย่างไร

การเพิ่มทุนของหุ้นในการลงทุนหุ้น DSM จะทำอย่างไรดี หัวข้อนี้ได้แรงบันดาลใจจากคุณ Minibar(หนึ่งในศิษย์เอก DSM)ได้พูดคุยใน MSN ว่าได้ไปจ่ายเงินเพิ่มทุนให้กับหุ้นตัวหนึ่งในราคาหุ้นละ 1.71 บาท(รู้หรือยังว่าหุ้นอะไร ถ้ายังติดตามต่อนะ) เลยได้เกิดข้อคิดอะไรบ้างอย่างทำให้ต้องเขียนกลยุทธ์หุ้น DSM สู้ศึก XR จะทำอย่างไรดี เพราะหลักการข้อหนึ่งของการลงทุนDSM คือไม่ควรเพิ่มเงินลงทุนเข้าไปในพอร์ตอีก แล้วใช้กระแสเงินสดแฝงของหุ้นตัวเองสร้างและสะสมหุ้นให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้กระแสเงินสดแฝงมากขึ้น เหมือนเงาที่ติดตามตัว(หุ้นมากขึ้น กระแสเงินสดแฝงมากขึ้นเช่นกัน)

เดือนแห่งความรัก เช้าวันนึ่งก่อนตลาดหุ้นเปิดเวลาประมาณ 09.36 น. ของวันที่ 3 ก.พ.48 หุ้น THL ได้ขึ้นเครื่องหมาย H ห้ามการซื้อขาย และปลด H เวลา 13.36 น. ของวันเดียวกัน ราคาเปิดของหุ้น 2.78 บาทเปิดมาก็ติดลบลงไปถึง 0.14 บาท (ราคาปิดวันที่ 2 ก.พ.48 คือ 2.92 บาท) ราคาสูงสุด 2.85 บาท ต่ำสุด 2.74 บาท ราคาปิด 2.76 บาท ได้มีคำถามว่าเกิด อะไรขึ้นตั้งแต่ เห็น H ห้ามซื้อขาย ได้รู้คำตอบว่า มีการเพิ่มทุนอย่างไม่สมเหตุผล จึงเป็นที่มาของคำถามว่า เราชาว DSMers จะทำอย่างไรเมื่อรู้ว่าหุ้นมีการเพิ่มทุน(XR) และหุ้นที่เราถือประวัติ หรือผลประกอบการก็ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี และเราก็ไม่มีเงินจะซื้อหุ้นเพิ่มทุนเสียด้วย เพราะเงินมีจำกัดจะทำอย่างไรดี ยิ่งเป็นนักลงทุนหุ้น DSM เริ่มลงทุนใหม่ หรือพอร์ตเล็ก ๆ แต่ถ้ามีเงินจากกระแสเงินสดแฝงจากตัวหุ้นเองสามารถที่จะซื้อเพิ่มทุนได้ ก็ให้มองข้ามวิธีที่จะแนะนำต่อไปนี้ได้เลย

กลยุทธ์นี้เมื่อหุ้นประกาศเพิ่มทุน แต่ไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุน ทำได้ดังนี้

Friday, March 30, 2012

DSM Concept Version 3 : DSM (33) – กลยุทธ์หุ้น DSM สู้ศึก XD ทำอย่างไร

การลงทุนหุ้นวิธี DSM เป็นไปตามแผนที่วางมา ไม่ว่าวันนี้หุ้นจะแดง หรือว่าจะเขียว ไม่ต้องคิดคาดเดาตลาด (กอดหุ้นวิ่ง ทิ้งหุ้นแดง) ในภาวะตามปกติ แต่เมื่อไรเข้าช่วงเดือนมี.ค.ถึงพ.ค. ของแต่ละปี ยอมมีเงินปันผล สำหรับบริษัทที่เงินปันผล นักลงทุนสามารถทำตามแผนอย่างไม่หวั่นไหว วันที่ต้อง ขึ้น XD หลังวัน XD เราก็ทำตามแผน แต่ว่ามันเป็นแผนที่เรารู้ว่ามันต้องราคาลดลงเท่ากับที่ได้ปันผล แต่มีการตั้งคำถามว่า ถ้าไม่อยากได้เงินปันผลจะทำอย่างไรดี โดยมีเหตุผลดังต่อไปนี้
1. ไม่อยากรอรับเงินปันผลหลังจากวัน XD ไปอีก อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์
2. เงินปันผลที่ได้รับโดนหักภาษี ณ ที่จ่ายอีก 10% ของเงินปันผล ยิ่งทุนน้อยยิ่งไม่ต้องการเสียเงินส่วนนี้
3. หุ้นบางตัวก็มีเครดิตภาษี บางตัวก็ไม่มีเครดิตภาษี ทำให้ไม่ได้รับผลประโยชน์จากการขอรับเครดิตภาษีได้อย่างเต็มที
4. นักลงทุนบางคนไม่ต้องการได้เครดิตภาษี เพราะเสียภาษีที่ฐานภาษีสูงแล้วหรือไม่ต้องการโดนตรวจสอบอย่างละเอียดเมื่อขอรับเครดิตภาษี โดยมีเหตุผลส่วนตัวอื่นๆ
5. เพราะต้องการรับเป็นกระแสเงินแฝงมากกว่ารับเงินปันผล


จึงมีที่มาของคำถามว่าการลงทุนหุ้น DSM แล้วจะขึ้น XD ทำอย่างไรดี ที่ไม่ผิดกฎ ซื้อให้ถูกกว่าขาย ไม่คาดเดาตลาด เพราะเดาอย่างไรก็ไม่ถูก ถ้าเดาตลาดถูกหรือรู้น่ารวยไปนานแล้ว จริงหรือเปล่า ท่านผู้อ่านทุกท่าน

คุณ Vprewat(หนึ่งในศิษย์เอก DSM) ได้ลองทำกับหุ้น LOXLEY, LPN จึงเป็นที่มาของกลยุทธ์หุ้นDSMสู้ศึก XD ได้คาดเดาว่ามันน่าจะลงเท่าเงินปันผลหรือมากกว่า ได้ทำการขายหุ้นทั้งหมด 100% ก่อนขึ้นวัน XD แล้วผลออกมาอย่างไรกันบ้าง มันน่าจะได้รับกระแสเงินสดแฝงเท่ากับเงินปันผลหรือมากกว่า แต่อย่าลืมนะว่า ห้ามเดาตลาด คำนี้ใช้ได้ผลเสมอทั้งๆ ที่ว่ามันน่าจะลงเท่ากับเงินปันผลแต่ผลที่ตามมาไม่ใช่ แล้วอย่างไร ตัวอย่างนะ

DSM Concept Version 3 : DSM (32) – DSM Double Pyramid Theory คืออะไร

คือการบริหารพอร์ตหุ้น DSM อีกแบบหนึ่งเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิ์ภาพการลงทุนให้มีขีดความสามารถสูงสุดเท่าที่จะทำได้ มีนักลงทุนหลายท่านได้ บ่นถึงว่า เวลาหุ้นเป็นขาลงทำให้มูลค่าพอร์ตลดลงอย่างรวดเร็วทำให้นักลงทุนบ้างท่านอาจไม่สบายใจกับมูลค่าพอร์ตที่ลดลง แต่จริงๆแล้วDSM ไม่สนใจมูลค่าพอร์ตแต่อย่างไร แต่ทำอย่างไรได้ เราเป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งอาจมีช่วงเวลานึ่งที่ไปดูแล้วเกิดอารมณ์ร่วมกับมัน ทั้งที่รู้ว่าไม่ควรใส่ใจกับมัน เลยเป็นที่มาของการเล่นวิธีการลงทุนแบบ DSM Double Pyramid Theory ก็ต้องมาขยายความอีกนิดหน่อยว่าคำว่า Double ก็คือคู่ หรือ สอง ส่วน Pyramid นี้นักลงทุนทุกท่านคงน่าจะเคยเห็นรูปร่างของPyramid อยู่แล้วว่ามีฐาน กว้างและยอดของมันเล็ก เอามาประยุกต์กับการเล่นหุ้นได้ซึ่งอาจไม่ได้เป็นเรื่องแปลกใหม่แต่อย่างใดแต่ได้เอามาประยุกต์ใช้เท่านั้น

DSM Concept Version 3 : DSM (31) – DSM Double Theory คืออะไร

อะไรคือ Double Theory ชาว DSMers บางท่านคงเคยได้ยินมาก่อน จากคุณลำชี (หนึ่งในศิษย์เอก DSM) ได้เล่าให้ฟังว่า ได้คิดค้นวิธี Double โดยบังเอิญซึ่งตอนนั้น คุณลำชีได้พยายามคิดค้นคำว่าช่องว่างของตลาดหุ้นคืออะไร และเป็นความบังเอิญในระหว่างการเทรดหุ้น DSM เกิดขึ้นตอนซื้อหุ้นกลับหลังจากขายกองหลังไป แล้วได้ค้นพบวิธีนี้โดยบังเอิญ จะเล่าสู่กันฟังว่า เป็นอย่างไร
1. วิธีนี้เหมาะเล่นหุ้นตอน side way กับตอนหุ้นขาลงเริ่มใช้ตอนหุ้นกลับตัว (เขียวอ่อน)
2. วิธีนี้เป็นการผสมผสานระหว่างวิธี DSM กับการเก็งกำไร โดยการใช้ประโยชน์จากกองหลังที่ทิ้งเอาไว้จากวิธี DSM
3. วิธีนี้ต้องมีเงินลงทุนอีกหนึ่งก้อนเพื่อใช้เอาไว้เล่นเก็งกำไรอย่างเดียว ซึ่งไม่เกี่ยวกับบัญชีของวิธี DSM
4. วิธีนี้ทำให้เราเป็นนักเก็งกำไรหรือนักพนัน ซึ่งใช้ประโยชน์จากการเป็นนักลงทุนวิธี DSM
5. วิธีนี้สามารถประยุกต์เอามาใช้กับการเล่น Day Trade

DSM Concept Version 3 : DSM (30) – DSM Music Theory คืออะไร

กฎธรรมชาติของตลาดหุ้นนำไปสู่การเล่นหุ้นแบบโน้ตดนตรี (ซึ่งมีเสียงสูง เสียงต่ำ)
1. หุ้นตัวนึ่งไม่มีวันขึ้นตลอดไปหรือลงตลอดไป
2. ในวันที่ตลาดขึ้นหุ้นไม่ได้ขึ้นทุกตัว และวันในวันที่ตลาดลงหุ้นไม่ได้ลงทุกตัวเช่นกัน

นำไปสู่การเล่นหุ้นแบบโน้ตดนตรี ซึ่งมีโน้ตเสียงสูง เสียงต่ำหรือราคาสูง ราคาต่ำ และมีหุ้นที่เขียว หุ้นที่แดง ของแต่ละวัน

มีหลักการง่ายดังต่อไปนี้

Thursday, March 29, 2012

DSM Concept Version 3 : DSM (29) - สูตร 3-0-2-8 คืออะไร

เป็นวิธีที่คิดขึ้นมากเปรียบเทียบกับกีฬาฟุตบอล(ซึ่งเป็นกีฬาโปรดของคุณเด่นศรี)ซึ่งได้แบ่งเป็นกองหลัง กองกลาง กองหน้าซึ่งแต่ละกองมีหน้าที่ต่างกันไป

3-0-2-8 คืออะไร

เดิมมี 1,000 หุ้น ทิ้งกองหลังไว้ 300
แล้วอาศัย 700 หุ้นที่เหลือ สร้าง 300 ที่ปล่อยไปให้กลับคืนมา(รวมทั้งหมด1,300 หุ้น )
อาจมองเป็น 10,000 หุ้น ทิ้งกองหลัง 3,000 หุ้น และใช้7,000 หุ้นสร้างหุ้นขึ้นมาอีก 3,000 หุ้นเป็น 10,000 หุ้น(รวมทั้งหมด 13,000 หุ้น)แล้ว เอามาแบ่งเป็นกองกลาง 2,000 หุ้น กองหน้า 8,000 หุ้น ซึ่งวิธีนี้ต้องระดับ DSMระดับMaster ถึงจะทำได้อย่างง่ายดายก็คือคุณเด่นศรีใช้วิธีนี้อยู่


หรือ เริ่มต้นจากมีหุ้น 1,300 หุ้น แล้วแบ่งกองหลัง 300 หุ้น กองกลาง 200 หุ้น กองหน้า 800 หุ้น หรืออาจเริ่มต้นจากมีหุ้น 13,000 หุ้น จะได้แบ่งเป็นกองหลัง 3,000 หุ้น กองกลาง 2,000หุ้น กองหน้า 8,000 หุ้น ซึ่งจะสามารถแบ่งขาย กองต่างๆ ได้อย่างละ 10% ได้ง่าย


หรือ เริ่มจากหุ้น 10,000 หุ้น แบ่งกองหลัง 3,000 หุ้น กองกลาง 1,400 หุ้น และกองหน้า5, 600 หุ้น ถ้ามองเป็น% จะได้ดังต่อไปนี้ หุ้น 100% แบ่งกองหลัง 30% แล้ว เอาที่เหลือ 70% คิดให้เป็น 100% แล้วจึงนำมาแบ่ง เป็นกองกลาง 20% (14%จากเริ่มต้น) และกองหน้า 80% (56%จากเริ่มต้น) และก่อนทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ทุกรอบ ที่ห่างกองหลังไปอีก 15 ช่อง ถือว่าขึ้นรอบใหม่


หลังจากทราบว่า 3-0-2-8 แบ่งได้เป็นอย่างไรได้แล้วมาดูส่วนต่าง ๆ กองต่างๆทำงานกันอย่างไร

DSM Concept Version 3 : DSM (28) - เคล็ดลับของความสำเร็จลงทุนหุ้นวิธี DSM

แบ่งได้เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้
1. เงินฟรี คิดว่าจะทำอย่างไรได้มันมา แต่ถ้าไม่ได้เงินฟรีก็ไม่เป็นไรทำตามวิธีการ สักวันจะรู้ว่าเงินฟรี คืออะไร
2. “เขียวซื้อ แดงขาย” หรือ “กอดหุ้นวิ่ง ทิ้งหุ้นแดง” ซึ่งเป็นคือ DenSri Indicator=DSI
3. หุ้นเท่ากับหุ้น มองว่าหุ้นทุกตัวเป็นตัวเดียวกับหุ้นแต่ต่างกันที่ระดับราคาเท่านั้น
4. ระบบบัญชีซึ่งสำคัญมากในการจับคู่หุ้นที่ซื้อขาย และยังสร้างฐานข้อมูล (Data Base) ซึ่งมีประโยชน์อันมหาศาลต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้โดยระยะเริ่มในสองปีแรก เป็นเพียงระยะหว่านเมล็ดพันธุ์ หลังจากนั้น ก็จะเริ่มระยะเก็บเกี่ยว ถึงจะรู้จักคำว่า “ไม่ได้สร้างรายได้จากหุ้นในปัจจุบัน แต่เป็นการสร้างรายได้จากฐานข้อมูลในอดีตที่ผ่านมา” เป็นอย่างไร
5. สูตร 3-0-2-8
6. ธรรมชาติของตลาดหุ้นนำไปสู่การเล่นหุ้นDSM แบบโน้ตดนตรี (DSM Music Theory) ซึ่งมีโน้ตเสียงสูง เสียงต่ำหรือมีราคาที่สูง ราคาที่ต่ำ และหุ้นที่เขียว หุ้นที่แดง ซึ่งจะเขียนบทต่อไป
7. การปฏิบัติตามแผน อย่างมีวินัยเท่ากับการลงทุน การมีจิตใจแน่วแน่ มั่นคง ไม่หวั่นไหว ไม่คิดกำไรขาดทุน(ไม่นับเงินบนโต๊ะพนัน) พร้อมกับดึงเงินออกจากโต๊ะ(เงินสำรองและค่าบริหาร) และเล่นเกม(ตลาดหุ้น)ต่อ แล้วต้องลืมเรื่องเวลาด้วย จะได้สบายใจและปรับปรุงไปเรื่อย ๆ ลองไปเรื่อย ๆ แล้วคุณจะพบวิธีการที่เหมาะสมกับตัวคุณ “คิดได้ จดไว้ ลงมือทำ ทบทวน” “ความผิดพลาดไม่น่ากลัว ที่น่ากลัวคือกลัวผิดพลาด” และ “ไม่ยึดติดมูลค่า แต่สนใจการเปลี่ยนแปลงมูลค่า”

DSM Concept Version 3 : DSM (27) - หลักการตัววัดผล DSM ทั้ง 8 ตัว

เมื่อได้ ทำการลงทุนหุ้น DSM แล้วละได้ กระแสเงินสดแฝง นำมาทำการแบ่งเป็นสัดส่วนแล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ตัววัดผลการลงทุนในหุ้น DSM มีอะไร อย่างไรบ้าง ดังต่อไปนี้

1. เงินสำรองหนี้ 25% ต้องเพิ่มขึ้นทุกเดือน
2. จำนวนหุ้น ต้องเพิ่มขึ้นทุกเดือนเพิ่มทั้งปริมาณและชนิดของหุ้น
3. ปริมาณกระแสเงินสดแฝง ที่ได้รับแต่ละรอบของการซื้อคืน ต้องมากขึ้นหรืออย่างน้อยก็คงที่
4. ปริมาณกองหลังจะต้องลดลงเรื่อย ๆ เพราะสามารถซื้อคืนได้
5. ปริมาณอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินอื่นๆ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วต้องเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
6. หนี้สินที่เลวต้องทยอยลดลงและหมดไป
7. แหล่งเงินทุนจะต้องเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ มีเงินลงทุนเสนอเข้ามามากขึ้นเรื่อย ๆ
8. เงินปันผลเพิ่มขึ้นทุกปี เพราะปริมาณหุ้นปันผลเพิ่มขึ้น
ถ้าเงินปันผลมีมากกว่าค่าใช้จ่ายต่อปี อาจไม่ต้องทำงานธุรกิจเช่าหุ้น หรืออาจขอหยุดพักร้อนปิดกิจการไปสักเดือนสองเดือนก็ย่อมได้เพื่อไปเที่ยวพักผ่อนในที่ๆ ต้องการได้ แต่ถ้าสามารถให้คนอื่นมาทำธุรกิจเช่าหุ้นแทนเราได้ถึงตอนนั้นอาจมีสร้างธุรกิจแบบเครือข่ายการทำธุรกิจเช่าหุ้นขึ้นมา ดังที่ว่าการใช้เงินคนอื่น และเวลาข้อคนอื่นทำงานให้เรา ซึ่งเราจะได้มีเวลาไปทำอย่างอื่นที่มีความสำคัญกว่าสิ่งนี้

ความลับของคนรวย 2 ประการคือ

DSM Concept Version 3 : DSM (26) – กระแสเงินสดแฝงในอนาคตคืออะไร

คำว่า “กระแสเงินสดแฝง” เกิดจากการลดค่าของทรัพย์สิน หรือขายหุ้น แล้วซื้อหุ้นให้ถูกกว่าที่ขายไป จะได้กระแสเงินสดแฝงขึ้นมาก แล้วคำว่า “กระแสเงินสดแฝงในอนาคต” นั้นคือการที่จะได้กระแสเงินสดแฝง ที่จะเกิดขึ้นภายในอนาคต หรือ ขายหุ้นตอนปัจจุบัน แล้วจะซื้อหุ้นให้ถูกกว่าที่ขายไปในอนาคต จะทำให้เกิดกระแสเงินสดแฝงภายในอนาคต จึงเป็นที่ของคำว่า “กระแสเงินแฝงในอนาคต” และเป็นการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์จากเงินที่เป็นกองหลัง ให้มากที่สุดนั้นเอง

จากตัวอย่างของหุ้น A ที่เป็นกองหลัง 3 กอง ที่ขายไว้ 9.00, 8.90, 8.80 บาท กองละ 1,000 หุ้น และ หุ้นได้ขึ้นไปอยู่ที่ราคา 9.75 บาท ซึ่งเป็นจุด short หุ้นจุดใหม่ รอบใหม่เพราะมีราคาสูงกว่าราคากองหลังตัวแรก ไป 15 ช่อง ดังนั้นราคากองหลัง 3 กอง ที่ทิ้งไว้ระวังหลัง เราจะทำประโยชน์สูงสุดจากกองหลังเหล่านี้อย่างไรดี ซึ่งทำให้เกิดการคิดคำนวณเอากระแสเงินสดแฝงในอนาคตมาใช้ ถ้าตามแผนของเรา สมมุตรับคืนที่ 5 ช่อง หรือกี่ช่องก็แล้วแต่แผนของแต่ละท่านของนักลงทุน DSM

Wednesday, March 28, 2012

DSM Concept Version 3 : DSM (25) – กระแสเงินสดแฝงคืออะไร แบ่งรายได้อย่างไร

กระแสเงินสดแฝง (Phantom cash flow) คือการลดค่าของทรัพย์สิน (หุ้น) ที่เราถือครอง และได้ กระแสเงินสดออกมาจากทรัพย์สิน (หุ้น) โดยที่ยังถือครองทรัพย์สินนั้นอยู่ เหมือนคำกล่าวว่า “กำไรเมื่อซื้อ ไม่ใช่กำไรเมื่อขาย” เพราะการรอให้ราคาหุ้นสูงขึ้นถือว่าช้ามากและเสี่ยงมาก

ถ้าเปรียบเทียบได้กับเรามีอสังหาริมทรัพย์(หุ้น)ให้เช่า แล้วเก็บค่าเช่าทุกเดือน(กระแสเงินสดแฝงเก็บค่าเช่าทุกวัน) โดยที่เรายังเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์(หุ้น)นั้นอยู่ จะเห็นได้ว่า อัตราความเร็วของหุ้นที่ให้เช่าสามารถเก็บค่าเช่าทุกวันย่อมได้เร็วกว่าอสังหาริมทรัพย์ที่เก็บได้ทุกเดือน ดังนั้นหุ้นให้ผลตอบแทนที่สูงมากว่าอสังหาริมทรัพย์ แต่อย่างไรเราก็ไม่สามารถที่จะมีแต่หุ้นได้อย่างเดียวแล้วจะทำอย่างไรดี ถ้าเราอยากได้อสังหาริมทรัพย์ อยากมีธุรกิจต่างๆ เพื่อจะได้สร้างกระแสเงินสดอย่างต่อเนื่อง และสิ่งของมีค่าอื่นที่เป็นทรัพย์สินมีค่าอื่นๆ ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถสร้างกระแสเงินสดแฝงได้ แต่ก็มีค่าทางด้านจิตใจและจิตวิญญาณ ดังต่อไปนี้


DSM Concept Version 3 : DSM (24) – DSM รับประกันเงินต้นคืน100%

นักลงทุนทุกท่าน เคยได้ยินการรับประกันในแบบต่าง ๆ กันมาแล้ว อย่างพวกอสังหาริมทรัพย์ มีการประกันอัคคีภัย มีประกันแผ่นดินไหว หรือ พวกขนส่งต่าง ๆ ก็มีการประกันภัยสินค้าและอุบัติหรือ เมื่อเราไปรับประทานอาหารภัตตาคารที่มีชื่อเสียง ไม่พอใจในรสชาติของอาหารก็ยังมีประกันความพอใจ หรือไปซื้อสินค้าพวกเครื่องไฟฟ้า เสื้อผ้า ก็ยังมีการรับประกันความพอใจ แต่ทำไม นักลงทุนในหุ้นถึงไม่มีใครรับประกันคืนเงินต้น ทั้ง ๆ ที่มีแต่โบรกเกอร์ชื่อดังต่าง ๆ ออกบทวิเคราะห์ต่าง ๆ มากมายแล้ว ราคาหุ้นไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่ให้ไว้กับนักลงทุนที่เป็นลูกค้าของโบรกนั้น ๆ ดังนั้นนักลงทุนหุ้นทุกท่านไม่มีโบรกไหนเลยที่จะรับประกันคืนเงินต้น แล้วอย่างนี้จะทำอย่างไรดี

ถ้าอย่างนี้ไม่มีโบรกไหนกล้ารับประกันคืนเงิน แล้วเราซึ่งเป็นนักลงทุนเองทำไม ไม่รับประกันคืนเงินให้กันตัวของนักลงทุนเสียเอง ซึ่งจริง ๆ แล้วนักลงทุนผู้ชาญฉลาดจะรับประกันคืนเงินให้กับตัวเองเสมอ แต่ถ้านักลงทุนบางท่านไม่สามารถรับประกันคืนเงินให้กันตนเองได้ อย่างนี้ต้องเรียกว่าเป็นนักพนัน ไม่ใช่นักลงทุน แต่จริง ๆแล้วในโลกแห่งการลงทุน มีนักพนันจำนวนมากที่คิดว่าตนเองเป็นนักลงทุน แล้วอย่างนี้เราซึ่งเป็นนักลงทุนจะทำอย่างไรถึงจะรับประกันเงินให้กันตัวเองได้ และต้องการเป็นนักลงทุนที่ชาญฉลาดจะทำอย่างไร

DSM Concept Version 3 : DSM (23) – 10 คำถามที่ดี ย่อมได้คำตอบที่ดี

1.ทำอย่างไรจึงจะซื้อหุ้นคืนได้ทั้งหมด
ตอบ. ด้วยมิติของเวลาเป็นInfinity ไม่ต้องกลัวที่จะซื้อคืนไม่ได้ สามารถซื้อคืนได้เสมอและรอจนกว่าราคาจะต่ำกว่าที่ขาย ถ้าราคาไม่ขึ้นไม่ลงมาอาจรอการแตกพาร์ แล้วค่อยซื้อค่อย ขอให้ซื้อต่ำกว่าที่ขายเป็นใช้ได้

2. เมื่อซื้อคืนได้หมดแล้ว และหุ้นเปลี่ยนเป็นขาขึ้น จะทำอย่างไรกับหุ้นในมือ
ตอบ. ให้เอากระแสเงินสดแฝงเข้าซื้อเพิ่มหุ้น(หุ้นขึ้นได้หุ้น หุ้นลงได้เงิน) แล้วก็ปล่อยเล่นเป็นกองกลาง และกองหน้าเล่นขาขึ้นตามลำดับ โดยการขึ้นของหุ้นจะมีหุ้นตกเรียกว่าขาลงในขาขึ้น แสดงว่ามีจังหวะทำเงินตลอดเวลาอยู่ที่ว่าเกณฑ์ที่ท่านตั้งไว้เป็นอะไร

3. การวัดผลของการดำเนินงาน (พอร์ตหุ้น) ใช้อะไรเป็นตัววัดบ้าง
ตอบ. ค้นหาคำตอบได้ที่DSM (27) - หลักการตัววัดผล DSM ทั้ง 8 ตัว

4. หน้าที่ของหุ้นในพอร์ต คืออะไร

Tuesday, March 27, 2012

DSM Concept Version 3 : DSM (22) – DSM บุญหรือบาป

มีคำกล่าวว่า “คนจนเล่นหวย คนรวยเล่นหุ้น” หรือ “ตลาดหุ้นคืนบ่อนพนันที่ถูกต้องตามกฎหมาย” บุคคลภายในมองตลาดหุ้นเปรียบเสมือนบ่อนการพนัน ดังนั้นมีหลายคนหลายท่านบอกว่า การเล่นหุ้นมีคนได้มีคนที่เสียเงิน ดังนั้นน่าจะเป็นบาปกรรม เพราะคนที่ได้เงินบาปมีความโลภต้องการได้เพิ่มอีก ส่วนคนที่เสียเงินก็เสียใจ เศร้าใจ และอยากจะเอาคืนอีก บางคนหาเงินด้วยวิธีสุจริต หรือต้องกู้หนี้ยืมสินเพิ่มมาเล่นหุ้นเพียงเพื่อต้องการเองเงินคืนและคาดหวังว่าจะได้กำไรอีกด้วย เรื่องอย่างนี้ก็ย่อมเป็นธรรมดาสำหรับบุคคลที่จะคิดอย่างนี้ เพราะในตลาดหุ้นมีนักเก็งกำไรหรือนักพนันจำนวนมาก เหมือนคำกล่าวที่ว่า

การพนันไม่เคยทำให้ใครได้ดี
การพนันเป็นอุบายไปสู่ความยากจนอย่างแท้จริง
เมื่อชนะการพนัน ก็ลิงโลดใจ ใช้เงินอย่างไร้คุณค่า ขาดความยั้งคิด
เมื่อเสียพนัน ก็หม่นหมอง ร่างกายและจิตใจหดหู่ เกิดความแค้นที่จะเอาชนะ
ยิ่งตั้งใจจะเอาชนะ ก็ยิ่งติดการพนันลึกจนยากจะถอนตัว

แต่ถ้าเปลี่ยนมาลงทุนหุ้นด้วยวิธี DSMการลงทุนในหุ้นเพื่อสร้างรายได้จากทรัพย์สิน (หุ้น) เพื่อรับกระแสเงินสดแฝงกับเงินปันผล แล้ววิธีนี้ไม่เป็นบาปหรือนั้นเป็นคำถามที่ตามมา เราชาว DSMers มาวิเคราะห์กันซิว่าเป็นบาปหรือเปล่า หรือว่าได้บุญ ดังต่อไปนี้

DSM Concept Version 3 : DSM (21) – เมื่อหุ้นเป็นเทวดาตกสวรรค์จะทำอย่างไร

การเลือกหุ้นเพื่อลงทุนวิธีDSM ควรที่เลือกหุ้นออกมาจาก SET50Index หรือ SET100Index ซึ่งเป็นตัวที่เป็น BIG CAPS และจะเสนอรายชื่อหุ้นที่เป็นBIG CAPS 60 ตัว มีมูลค่าตลาดหุ้นรวมกัน 81% ถ้าหุ้นพวกนี้ขึ้น SET ก็ขึ้น ถ้าหุ้นพวกนี้ตก SET ก็ลง
รายชื่อหุ้นมีดังต่อไปนี้
PTT, SCC, ADVANC, PTTEP, BBL, TOP, KBANK, SHIN, KTB, THAI, SCB, SCCC, LH, AOT, ATC, TOC, RATCH, SCIB, TMB, BANPU, ITD, EGCOMP, NPC, BAY, SSI, BEC, TRUE, PSL, BOA, TTA, CP7-11, RCL, TPIPL, DELTA, UCOM, TUF, CPF,BECL, SYNTEC, NFS, EWC, TPC, KEST, CPN, UBC, HANA, PICNI, BGH, ITV, BIGC, KK, MCOT, SATTEL, ASP, TT&T, CK, MAKRO, TISCO, TNX, AA ทั้งหมด 60 ตัว

แล้วถ้าเราไปเลือกหุ้นผิดตัวผิดจังหวะอย่างเช่น N-PARK จะทำอย่างไรดี
ถ้าย้อนกลับไปดูเมื่อประมาณ ต.ค. 2546 ราคาสูงสุด 9.60 บาท แล้ววันที่ 17 พ.ย. 2547 ราคาต่ำสุดอยู่ที่ 0.75 บาท ภายในระยะเวลาปีเศษ และราคาปัจจุบันวันที่ 25 เม.ย. 2548 ราคาปิดอยู่ที่ 0.93 บาท แล้วจะทำอย่างไร หุ้นตัวนี้จะเรียกว่า เทวดาตกสวรรค์

ดังนี้จึงมีหลักยึดง่าย ๆ คือ

DSM Concept Version 3 : DSM (20) – เปรียบเทียบวิธีการลงทุนของ VI, DSM กับอสังหาริมทรัพย์

เปรียบเทียบการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของหุ้นแบบ VI, DSM กับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะทำให้เราเห็นภาพมากขึ้นอย่างชัดเจน

VI…คือคนที่รู้ว่าทำเลทองอยู่ที่ไหน และที่สำคัญกว่าคือรู้ว่าทำเลทองที่ว่า ตอนนี้ราคาถูกมาก และเข้าไปกว้านซื้อเก็บไว้ ถ้าเกิดจะมีคนมาขอซื้อต่อแพงๆ เรา VI ก็เฉยๆ เพราะเรารู้ว่าเราจับจองทำเลทองไว้อยู่ ในอนาคตเมื่อคนอื่นๆ รู้มากขึ้น การค้าก็ไหลมาเทมา รายได้จากค่า เช่าค่าเซ้งก็จะไหลมาเทมา และราคาที่ดินก็จะขึ้นตามไปด้วยในที่สุด

DSM…คือคนที่ประมาณได้ว่าทำเลทองอยู่ที่ไหน เลือกเอาที่คนพลุกพล่านหน่อยๆ จะได้ซื้อคล่องขายคล่อง แต่อาจจะไม่รู้ว่าราคาตลาดขณะนั้นเป็นราคาที่เหมาะสมหรือยัง ก็เข้าไปกว้านซื้อที่ไว้ เสร็จแล้วก็เอามาแบ่งขายเป็น lot เล็กๆ ที่ราคาตลาด ถ้าตลาดมี Demand สูงก็โก่งราคาหน่อย ถ้าปล่อยถูกๆ แล้วยังไม่มีคนเอาก็ตั้งราคาถูกลงไปอีก แต่ที่สำคัญเมื่อปล่อยไปแล้ว ก็ค่อยๆ ทยอยซื้อคืนเมื่อ lot ที่เราปล่อยขายไปนั้น ราคาตกลงมาต่ำกว่าราคาที่เราขายไป

Monday, March 26, 2012

DSM Concept Version 3 : DSM (19) – เปรียบเทียบ VI กับ DSM แบบถึงลูกถึงหุ้น

บทนี้ได้เน้นการเปรียบเทียบ VI กับ DSM เจาะลึกแบบถึงลูกถึงหุ้นโดยเปรียบเทียบเป็นข้อๆไป ดังต่อไปนี้

1.การมองและวิธีคิด
VI…ข่าวดีปล่อย ข่าวร้ายซื้อ เป็นการสวนกระแสแบบพิจารณารอบคอบ เพราะเข้าใจอย่างดีว่าหุ้นตก แค่เพียงราคาในตลาดตกชั่วคราว แต่ถ้าบริษัทนั้นๆ มีความสามารถในการแข่งขันเชิงยั่งยืน (ส่วนต่างกำไรดีและการหมุนเวียนสินค้าคงคลังมีสภาพคล่อง) หมายถึงเราได้ของดีราคาถูก เราหาประโยชน์จากตลาด ไม่ยอมให้อารมณ์ตลาดมาชักนำ ต่างจากคนทั่วไป ที่ดูราคาเฉพาะกราฟหุ้น เพราะราคาหุ้นที่ผันผวนส่วนใหญ่เกิดจากจินตนาการในทางผิดๆ โดยเฉพาะเน้นไปทางร้าย ไม่ใช่ปัญหาธุรกิจ
DSM… มองหุ้นที่ถือและครอบครองเสมือนเป็นทรัพย์สิน ซึ่งต้องการสร้างรายได้จากทรัพย์สินนั้นๆ โดยได้รับกระแสเงินสดแฝงเปรียบเสมือนเก็บค่าเช่าจากทรัพย์สินชิ้นนั้นๆ ต้องเริ่มจากความเข้าใจในการลงทุน จะทำให้เกิดความคิดในการลงทุนที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะทำให้การลงทุนในหุ้นตามแนวทางนี้ และก็จะได้รับผลของการลงทุนอย่างคุ้มค่า อย่างต่อเนื่องและระยะยาวตลอดไปเรื่อย ทำให้เห็นว่าหุ้นตกก็ยิ้มได้ และหุ้นขึ้นก็ยิ่งยิ้มได้ ดังนั้นยิ้มได้ทั้งสองทางไม่ว่าจะขึ้นหรือจะลง

DSM Concept Version 3 : DSM (18) – DSM ความเหมือนที่แตกต่าง

เปรียบเทียบความเหมือนที่แตกต่างกับการลงทุนชนิดอื่นๆเช่น ลงทุนระยะยาว(VI=Value Investor), ลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร (VS=Value Speculator), ลงทุนวิธี DSM โดยเปรียบเทียบกรณีต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. ระยะเวลาการลงทุน
การลงทุนระยะยาว…ถือหุ้นระยะยาว
การลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร…ถือหุ้นระยะสั้น
การลงทุนวิธี DSM…ถือหุ้นตลอดชีวิต

2. การเลือกหุ้น
การลงทุนระยะยาว…ดูพื้นฐานอย่างรอบคอบ
การลงทุนระยะสั้นเก็งกำไร…ดูหุ้นที่กำลังนิยมในขณะนั้นๆ
การลงทุนวิธี DSM…เลือกหุ้นที่ชอบและอยู่ได้นานในตลาดหุ้น

3. เป้าหมาย

DSM Concept Version 3 : DSM (17) – Q&A DSM จากใจถึงใจ

Q. สิ่งที่สำคัญที่สุดใน DSM คืออะไร
A. แนวคิดและใจ (วิธีการมาทีหลัง พลิกแพลงเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา)
แนวคิดที่สำคัญจริงๆก็คือ เราต้องการหากระแสเงินสดแฝงจากการซื้อขายหุ้นในพอร์ตของเราเอง เพื่อมาเพิ่มจำนวนหุ้นในพอร์ต มูลค่าของพอร์ตจะเป็นอย่างไรยังไม่ใช่ประเด็นหลัก
ถ้าใจโลเลของชาว DSMers แบบลูกครึ่งจะแสดงออกมาเวลาที่หุ้นขึ้น ๆ ลง ๆ แล้ว เราคาดเดาตลาด(สังเกตว่า เดาถูกเราดีใจ เดาผิดเราเสียดาย อะไรแบบนี้ เมื่อเกิดความรู้สึกแบบนี้ ให้รีบฉุกคิดว่า ตอนนี้กำลังเดาอยู่นะ ผิดวัตถุประสงค์แล้ว) โดยเฉพาะเวลาที่หุ้นขึ้น เราอยากจะขาย ตรงจุดที่คิดว่า Peak 100% เหมือนตอนเก็งกำไร ซึ่งเราก็รู้ว่า ทำไม่เคยได้ ก็เลยอยากจะหาวิธีที่ไม่ต้องเดาตลาด จึงมาเลือกวิธีนี้ พอมาเลือกแล้ว จะเดากันอีกทำไม ถ้าอย่างนั้น ก็มาเล่นเก็งกำไรกันให้สนุกสนานเหมือนเดิม แล้วก็ร้องไห้ขายหมู ซื้องูกันต่อไปดีกว่าไหม
ดังนั้น DSMer พันธุ์แท้ ต้องไม่เดาตลาดและไม่สนมูลค่าพอร์ต ถึงราคาขายต้องขายตาม Step ถึงราคาซื้อ ต้องซื้อตาม Step ระยะยาวแล้วเห็นผลเอง มองให้เป็นการลงทุนระยะยาว ๆ

Q. ขายไปแล้วซื้อคืนไม่ได้ทำอย่างไรดี

Sunday, March 25, 2012

DSM Concept Version 3 : DSM (16) – DSM 7 ข้อ ดั่งแก้วสารพัดนึก

ดั่งแก้วสารพัดนึกแบ่งได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้

1. DSMers ต้องเข้าใจว่า เป้าหมายของเราคือ การเก็บสะสมหุ้นให้ได้มากขึ้น โดยไม่ต้องใช้เงินเพิ่ม

2. DSMers ต้องไม่สนใจมูลค่าพอร์ตหุ้นไม่ว่าจะมีมูลค่าเพิ่มหรือลดลง

3. DSMers สนใจแต่กระแสเงินสดแฝงเพราะกระแสเงินสดแฝง คือรายได้ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งการเพิ่มจำนวนหุ้น การเร่งเพิ่มกระแสเงินสดแฝง โดยยังไม่เข้าใจดีพอ เป็นอันตรายพอควร เช่น การใช้ กระแสเงินสดแฝงในอนาคตนั้น ปลอดภัยดีจริง แต่หากยังไม่ชำนาญอาจพอร์ตชอร์ตได้ จุดสำคัญที่สุดของการขยายพอร์ตคือ ต้องไม่เกิดกระแสเงินสดชอร์ต เมื่อใดก็ตามที่ท่านเพิ่มเงินเพราะภาวะเงินชอร์ต ท่านกำลังเข้าสู่การสูญเสียการควบคุมบัญชีของท่าน เหมือนกับการลงทุนขาดทุนแล้วเอาเงินลงไปอีกหรือเหมือนซื้อหุ้นเฉลี่ยขาลงซึ่งไม่ควรทำที่สุดอย่างหนึ่ง

4. การเข้าซื้อยังคงมีความสำคัญมาก ส่วนจะเข้าซื้ออย่างไร เช่นไร ล้วนแล้วแต่การฝึกฝนในแนวทางของตน หากเข้าซื้อ แล้วหุ้นลงเริ่มสร้างได้กระแสเงินสดแฝงได้เลย แล้วถ้าหุ้นขึ้น มูลค่าเพิ่ม (ไว้ไปได้กระแสเงินสดแฝงที่มากขึ้น) ล้วนแล้วแต่ดีทั้งนั้น แต่อย่าลืมว่าไม่ได้ดูที่มูลค่าพอร์ตที่เพิ่มขึ้นหรือว่าลดลงแต่อย่างไร

DSM Concept Version 3 : DSM (15) – สิ่งที่ควรคิดเมื่อรักจะเป็น DSMers

นักลงทุนหุ้นวิธี DSM จะเรียกตัวเองว่าเป็น DSMers

1. DSMers ต้องมีเป้าหมายชีวิต อย่างน้อยที่สุด เราควรจะรู้ว่า ความฝันของเราคืออะไร แล้วมันเกี่ยวข้องกับการลงทุนแบบไหน อย่างไร ตั้งเป้าหมายให้ใหญ่ ๆเข้าไว้ หาความสัมพันธ์ระหว่างความฝันกับการลงทุนให้เจอ แล้วพยายามไปให้ถึง

2. ศึกษาวิธี DSM ให้ถ่องแท้ แล้วค่อยๆทดลองปรับใช้จนลงตัว แล้วกำหนดมันเป็นแผนการอันนำไปสู่เป้าหมายชีวิตที่กำหนดไว้ หรือความฝันที่ตั้งใจ DSM เป็นเพียงวิธีการหนึ่งของการลงทุน การลงทุนที่แท้จริงคือแผนการที่จะนำเราไปสู่เป้าหมายชีวิตอย่างเป็นรูปธรรมนั่นเอง

3. ใช้เงินทำงานให้เรา ไม่ใช่ใช้ตัวเราทำงานเพื่อเงิน ในDSM ตัวเงินไม่ใช่สิ่งที่เราสนใจแต่เรามองรายได้ที่เกิดขึ้น มองจำนวนหุ้นเพิ่มมากขึ้น ควรมีหักค่าบริหารพอร์ตออกมาทุกระยะเป็นค่าใช้จ่ายด้วยเพื่อเป็นกำลังใจในการลงทุน กำไรไม่ใช่สิ่งที่เราสนใจเลย เราต้องการหารายได้จากพอร์ตการลงทุนของเรา

DSM Concept Version 3 : DSM (14) – หุ้นขึ้นได้หุ้น หุ้นลงได้เงิน

นักลงทุนหุ้นวิธีDSM เคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ...การเล่นหุ้นทั้งขาลงและขาขึ้น...หุ้นขึ้นได้เงิน หุ้นลงได้หุ้น... เป็นคำกล่าวที่เสี่ยงอย่างมาก ๆ ที่จริงแล้วต้องเป็น “หุ้นขึ้นได้หุ้น หุ้นลงได้เงิน” เป็นอย่างไร

ทำไมต้องพูดว่า “หุ้นขึ้นได้หุ้น หุ้นลงได้เงิน” เพราะเปรียบเทียบการลงทุนในหุ้น เสมือนทำกิจการให้เช่าหุ้น ดังนั้นหลักการคิดคือ กิจการที่เราทำอยู่กำลังดี กำลังเติบโต เราต้องเพิ่มการลงทุน หรือ ขยายกิจการออกไป แต่ถ้า เมื่อไรที่กิจการกำลังก้ำกึ่งระหว่างจะดีหรือไม่ดีไม่ควรเพิ่มการลงทุนหรือขยายกิจการเป็นอันขาด

ต้องแยกคำ “ซื้อหุ้นคืน” กับ “ซื้อหุ้นเพิ่ม”(เงินจากกระแสเงินสดแฝง) เมื่อเราทำตามแผนการที่วางไว้ ของการลงทุนด้วยวิธี DSM เมื่อหุ้นเป็นขาลงเริ่มแดง ขายออกทุก 2 ช่อง ช่องละ10% ไปเรื่อย ๆ จะจนกว่าหุ้นเริ่มขึ้นจะซื้อคืนเมื่อหุ้นขึ้นจากจุดต่ำสุดมา 4 ช่อง ค่อยเข้าซื้ออันนี้หมายถึงการ “ซื้อหุ้นคืน” แต่เมื่อไรที่จะซื้อหุ้นเพิ่ม คือการเอาเงินจากกระแสเงินสดแฝงมาซื้อหุ้นเพิ่มเติม แต่อย่าลืมนะ ต้องซื้อหุ้นตัวที่เหลือน้อย หมายความว่าหุ้นตัวนี้ขายดี หรือขึ้นมามาก เปรียบเทียบได้กับเป็นกิจการที่ดี กำลังเจริญเติบโต ต้องมีการขยายงาน ถึงจะเริ่มมีการ “ซื้อหุ้นเพิ่ม”จากเงินกระแสเงินสดแฝง ถ้าให้ดีการซื้อหุ้นเพิ่มต้องซื้อหุ้นอย่างน้อย 1,000 หุ้น หรือ อย่างน้อย200,000 บาท ซึ่งซื้อแล้วสามารถทำงานได้ทันทีจากหุ้นที่ซื้อเพิ่มขึ้นมา

Saturday, March 24, 2012

DSM Concept Version 3 : DSM (13) – ช่องว่างและการแปลงร่างคืออะไร

ช่องว่างของตลาดหุ้น ต้องใช้ให้ถูกจังหวะอย่าไปเร่งพอร์ต ควบคุมการใช้ช่องว่างด้วยระบบบัญชี โดยให้หุ้นสมดุลด้วยช่องว่างและให้ช่องว่างสมดุลด้วยระบบบัญชี

การแปลงร่าง จะแปลงไปเป็นหุ้นกลุ่มใดตัวใดก็ได้ ขอเพียงให้มีราคาต่ำกว่าและอยู่ในช่อง Spread หุ้นเดียวกัน และเงินที่เหลือจากการแปลงร่าง ให้ถือว่าเป็นกระแสเงินสดแฝงแต่มันเป็นกระแสเงินสดแฝงเทียม ซึ่งไม่ควรแปลงร่างมากเกินไปโดยไม่จำเป็น

การแปลงร่างใช้กับหุ้นขาขึ้นเท่านั้น ถ้าหุ้นขาลงจะไม่แปลงร่าง(ยกเว้นกรณีที่ต้องการเปลี่ยนตัวเพราะต้องการไล่หุ้นตัวเดิมออกจากพอร์ต) ปกติแล้วจะใช้การแปลงร่างเมื่อ หุ้นตัวนั้นเหลือในมือแค่ 10-20%

การแปลงร่างมี 2 แบบคือ แปลงร่างเป็นตัวมันเอง (ที่เหลือน้อย) กับ แปลงร่างไปเป็นหุ้นตัวอื่นๆ และหุ้นตัวอื่นๆ แปลงร่างมาเป็นตัวมัน นั่นคือการแปลงร่างอย่างสมดุลซึ่งกันและกัน

การแปลงร่างจะไม่ใช่การเปลี่ยนตัวหุ้น แต่การแปลงร่างเป็นเหมือนการขยายการลงทุนในจังหวะที่ต้องขยาย นั่นคือ เมื่อแปลงจากหุ้น A ไปเป็นหุ้น B แล้ว เราต้องดูแลทั้ง Aและ B เราจะไม่ทิ้ง เมื่อใดที่มีจังหวะ เก็บหุ้น A คืนได้ ก็ควรเก็บกลับคืนมามันจะทำให้พอร์ตของเราค่อยๆ ขยายตัวอย่างเหมาะสม ไม่แนะนำให้แปลงร่างบ่อยเกินไป ทุกครั้งในการแปลงร่างต้องมีเหตุมีผลรองรับเสมอ และห้ามทำตามใจ อย่าเห็นกันกระแสเงินสดแฝงเทียมเพียงอย่างเดียว

DSM Concept Version 3 : DSM (12) – หลักการซื้อคืน 3 แบบ

หลักการซื้อคืนดังนี้ 3 แบบ ดังต่อไปนี้
1. ซื้อคืนเมื่อราคาต่ำกว่าที่ขาย ประมาณ 5 ช่อง

2. ซื้อคืนเมื่อซื้อกลับมาได้รวดเดียว 3 ราคาที่ขายไป

3. ซื้อคืนเมื่อหุ้นขึ้นจากจุดต่ำสุดขึ้นมา 4 ช่อง ค่อยเข้าซื้อ

สมมุติว่าคุณซื้อหุ้นราคา 10.00 บาท จำนวน 10,000 หุ้น ทีละ 10% เท่ากับ 1,000 หุ้น

กรณีที่ 1. หมายถึงว่าได้ขายหุ้นไปหุ้นไปที่ราคา 9.90 บาท และสามารถรับหุ้นกลับได้ที่ 9.65 บาท ให้เคาะซื้อด้าน offer

กรณีที่ 2. หมายถึงว่าได้ขายหุ้นไปตามแผนที่วางไว้ ขาย ทุก 2 ช่อง รับหุ้นกับคืนทุก 3 ช่อง เช่น ขายไปที่ 9.90, 9.80, 9.70, 9.60, 9.50 บาทแล้วราคาหุ้นมานิ่งที่ 9.55 บาท ซึ่งสามารถรับกลับได้ที่ 9.90, 9.80, 9.70 ซึ่งสามารถซื้อกลับได้ 3 ไม้ที่ขายไป

กรณีที่ 3. หมายถึงว่าได้ทำการขายหุ้นไปตามแผนที่วางไว้ แล้วมีแรงขายออกมาจากหุ้นอย่างมากและต่อเนื่อง ซึ่งไม่ควรรีบไปรับหุ้นกลับต้องรอให้หุ้นลงจนสุดและนิ่งแล้วราคาเริ่มขึ้นมาได้ 4 ช่อง แล้วค่อยซื้อคืน เช่น ขายที่ 9.90, 9.80, 9.70, 9.60, 9.50, 9.40, 9.30, 9.20, 9.10, 9.00 บาท แล้วราคาก็ไหลลงไปอีกเรื่อย ๆ หลังจากที่เราขายหมดมือไปแล้ว สมมุติว่า ราคาลงไปถึง 8.50 บาท แล้วเริ่มนิ่งๆ มีแรงซื้อกลับเข้ามาอยู่ที่ 8.70 บาท ก็สามารถซื้อคืนทั้งหมดที่เราขายไปได้ทั้งสิบไม้ ถ้าหลังจากรับกลับแล้วขึ้นวิ่งขึ้นมาที่ 9.20 บาท ก็ยิ้ม แต่ถ้าซื้อแล้วหุ้นลงต่อทำอย่างไรดี ไม่ต้องกลัวก็ขายใหม่โดยเอาจุดที่เราซื้อคืน 8.70 บาท เป็นฐาน ถ้าลงมาที่8.60 บาท ขายตามแผนการลงทุนที่วางไว้

DSM Concept Version 3 : DSM (11) – ระบบการซื้อ - ขายหุ้น DSM

ระบบการซื้อ - ขายที่ดี คือส่วนสำคัญของ DSM

เมื่อกระโจนเข้าสู่สมรภูมิหุ้น บ่อยครั้งที่อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล ทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้บ่อยๆ หลายๆ ครั้งที่เรามักไม่กล้าขายหุ้นเมื่อหุ้นลง จนหุ้นลงมาก ก็ยิ่งตัดใจขายลำบากยิ่งขึ้น วิธี DSM ช่วยสร้างระบบป้องกันตัวไว้อย่างแยบยล การตัดขายเพียง 10% นอกจากจะช่วยสร้างกระแสเงินสดแฝงแล้ว ยังเหมือนกับการประกันเพื่อลดความเสี่ยงของหุ้นและยังมีหุ้นที่เหลืออีก 90% ที่เราถือไว้อีกด้วย ซึ่งต้องปฏิบัติไปตามแผนการลงทุนที่วางเอาไว้และอย่าลังเล เมื่อถึงเวลาที่ต้องขาย ถึงเวลาซื้อก็ต้องซื้อ เรื่องง่าย ๆ แค่นี้จริง ๆ

ถึงต้องเน้นว่าต้องมีการวางแผนการก่อนเทรดหุ้น ว่าถ้าหุ้นลงจะทำอย่างไร ถ้าหุ้นขึ้นจะทำอย่างไร เพื่อที่จะได้จำกัดและลดอารมณ์ร่วมตามอารมณ์ตลาดหุ้น แล้วจะประสบความสำเร็จการลงทุนตามแนวทางนี้ได้

การลงทุนควรจะเป็นไปแบบอัตโนมัติ คือไม่ต้องใช้ความคิดเลย มันจะเป็นไปตามระบบ ตามแผน ตาม Step ของมัน ถ้าสร้างแผน สร้างระบบ มันจะทำหน้าที่แทนเรา ตัดสินใจแทนเราและแทนการใช้อารมณ์ของเรา

ให้จำไว้ว่า ลงทุนด้วยวิธีDSM ไม่มีทุนเดิม ซื้อมาแล้วก็ให้ลบราคาซื้อออกไป และราคาขายขึ้นอยู่กับราคาในแต่ละวัน ในแต่ละเวลา ส่วนราคาซื้อคืน คือราคาที่ซื้อแล้วได้กระแสเงินสดแฝงจากราคาที่ขายไป ซึ่งเป็นไปตามแผนการที่วางเอาไว้ว่าขายกี่ช่อง รับคืนกี่ช่องของนักลงทุนแต่ละท่านนั้นเอง

Friday, March 23, 2012

DSM Concept Version 3 : DSM (10) – Warren Buffett ลงทุนวิธี DSM ด้วยหรือไม่

“My favorite time frame for holding a stock is forever” หมายถึง“เวลาที่ผมชอบที่สุดคือเวลาที่ผมได้ถือหุ้นไว้ตลอดไป” คำประโยคนี้คือหัวใจที่ทำให้ Warren Buffett ทำกำไรจากหุ้นได้มากที่สุด นั่นคือ Warren Buffett คิดและลงทุนในแนวทางของคนรีดนมวัว และจะเลือกหุ้นที่มีอนาคตดี ชนิดที่เรียกว่า ต่อให้เขาตายไปแล้วบริษัทนั้นก็ยังคงอยู่ต่อไป เช่น โค้ก ยิลเล๊ต และกอดหุ้นเหล่านั้นไว้ตลอดไป ซึ่งเป็นแนวคิดเช่นเดียวกับ DSM ถึงแม้ว่าวิธีการจะแตกต่างกันแต่จุดมุ่งหมายเป็นไปตามแนวทางเดียวกันและที่สำคัญวิธีDSM น่าจะประสบความสำเร็จได้เร็วกว่าวิธีการของ Warren Buffett ที่ทำไว้ได้หรือไม่ คงต้องรอให้ได้รับการพิสูจน์กันต่อไปในอนาคตเหมือนคำกล่าวที่ว่า “ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน” ดังนั้นต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี เป็นเครื่องพิสูจน์วิธีDSM ทำให้มีคำกล่าวโดยเฉพาะว่า“My favorite time frame for trading on DSM is forever” สำหรับชาวDSMer ทุกท่าน

จะใช้ DSM ให้ประสบความสำเร็จ ต้องลืมเรื่องเวลา ต้องลืมเรื่องกำไรขาดทุน นักเล่นหุ้นที่มีราคาหุ้นติดสูงอยู่ ลองถามตัวเองสักนิดว่า กังวลใจเพราะอะไร เพราะราคาหรือเวลา ถ้าซื้อหุ้นแล้วรีบร้อนอยากขาย ขายถูกขายแพงก็เป็นทุกข์ ดังนั้นถ้าตั้งใจจะลงทุนตามแนวทาง DSM แล้วห้ามเลิกกลางคันเป็นอันขาด และต้องลงทุนตลอดชีวิตหรือว่าลงทุนระยะยาว ๆ มาก ต้องเลือกหุ้นที่อยู่กับเราไปจนวันตายเมื่อดังที่ Warren Buffett ได้ทำการเลือกหุ้นแล้วอยู่กับหุ้นตัวไหนตลอดชีวิต

DSM Concept Version 3 : DSM (9) – DSM วัวเนื้อหรือวัวนม

เปรียบเทียบแนวคิดของ DSM กับการขุนวัวเนื้อและรีดนมวัว

DSM ไม่ใช่สูตรสำเร็จที่ทำแล้วจะรวยทันที แต่เป็นกระบวนการที่ทำให้คุณไปถึงอิสรภาพทางการเงินในระยะเวลาที่คุณกำหนดได้ โดยในระหว่างเดินทางในเส้นทางนี้ ร่างกายและจิตใจของคุณจะสดชื่นเบิกบาน เปรียบเสมือนมีอิสรภาพทางเวลา และ จิตใจ ไปพร้อมกับการมีอิสรภาพทางการเงิน

การซื้อขายหุ้นแบบเก็งกำไร ก็เหมือนการขุนวัวเนื้อให้อ้วนแล้วก็จับไปชำแหละ(ฆ่า) ส่วนการเก็บหุ้นปันผลไว้ก็เหมือนกับการเลี้ยงวัวนมเพื่อรีดนมวัว

การขายวัวเนื้อแต่ละครั้งได้เงินมากมาย ต่างจากการรีดนมวัวแต่ละวันที่ได้เงินทีละนิด แต่ได้สม่ำเสมอทุกวัน และได้ลูกวัวเป็นของแถมด้วย ลูกวัวที่ได้นี้ ถ้าเป็นแม่วัวนมเมื่อเลี้ยงให้โตก็จะได้แม่วัวไว้รีดนมวัวเพิ่ม ถ้าเป็นวัวตัวผู้จะเก็บไว้เป็นพ่อพันธุ์หรือขายเป็นวัวเนื้อก็ได้ทั้งนั้น การที่เลี้ยงวัวนมและรีดนมทุกวันวันละนิดวันละหน่อยนั้นคือการได้กระแสเงินสดแฝงทุกวัน และเลี้ยงวัวนมต่อมาก็จะได้ลูกวัวตามมาอีกนั้นคือได้หุ้นฟรีจากกระแสเงินสดแฝงที่จะสะสมทุก ๆวันและจากเงินปันผลอีก ไม่ว่าคุณจะใช้ DSM กับหุ้นตัวไหน ถ้ายังคงแนวคิดและเป้าหมายในการเป็นเจ้าของวัวนมล่ะก็ คุณยังอยู่ในทางของ DSM ระหว่างทางจะขายลูกวัวตัวผู้ไปบ้างก็ไม่เป็นไร เงินที่ได้ถ้ายังนำกลับมาซื้อแม่วัวก็ยังอยู่ในแนวทางของ DSM

DSM Concept Version 3 : DSM (8) – กลยุทธ์เมื่อหุ้นลง

ซื้อหุ้นแล้ว ไม่มีใครรับประกันได้ว่าราคาหุ้นจะขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีกลยุทธ์เพื่อรับมือในเวลาหุ้นลง

สมมุติว่าคุณซื้อหุ้นราคา 10.00 บาท จำนวน 10,000 หุ้น
บนหน้าจอจะเป็นแบบนี้

Vol. Bid Offer Vol.
100,000 9.95 10.00 50,000

จำไว้ว่า ขายที่ Bid ซื้อที่ Offer อย่าไปเสียเวลาต่อรองราคาเหมือนเดินเป็นอันขาด
วิธีคือ ถ้าราคาหุ้นต่ำกว่าที่ซื้อ 2 ช่อง ให้ขาย 10% (คงพอจะได้คำตอบแล้วนะว่า ทำไมขายครั้งแรกต้อง 2 ช่อง เพราะจะได้รู้ว่าหุ้นลงจริง ไม่ได้ลงหลอกๆ จะได้ไม่เสียหุ้นง่ายเกินไป) และอย่ากลัวการขายเมื่อหุ้นลง (แดง) อย่ากลัวว่าจะซื้อหุ้นคืนไม่ได้เพราะว่าอย่างไรก็สามารถซื้อหุ้นคืนได้ตลอดเวลาที่ต้องการ ด้วยแผนการลงทุนที่ทำเอาไว้

ถ้าราคาลงมาเป็นแบบนี้

Vol. Bid Offer Vol.
200,000 9.90 9.95 170,000

ลงมา 2 ช่องแล้ว ขายเลยดีไหม ยัง ๆ อย่าใจร้อนรออีกนิด
ก่อนอื่นต้องรู้ว่าเราจะขายกี่หุ้น กรณีนี้เราจะขาย 1,000 หุ้น ให้ดูวอลุ่มที่ช่อง Bid ว่ามีมากแค่ไหน และดูด้วยว่ามีใครขายที่ราคา 9.90 หรือยัง
อย่าขายเป็นคนแรก เพราะอาจโดน กลต. เพ่งเล็งได้ว่ามีเจตนาทุบราคา(โดยเฉพาะขาย 100 หุ้น)

ถ้าสักพัก ราคาเป็นแบบนี้

Thursday, March 22, 2012

DSM Concept Version 3 : DSM (7) – เริ่มต้นลงทุนวิธี DSM

เมื่อเลือกหุ้นที่จะลงทุนในแบบ DSM ได้แล้ว คราวนี้ก็มาถึงเวลาเข้าซื้อหุ้น

กฎการลงทุนหุ้นวิธี DSM
1. ซื้อให้ถูกกว่าขาย
2. เวลาไม่จำกัดในการซื้อคืน (มิติของเวลาเป็นInfinity)

ตอนเริ่มต้นถ้าสามารถซื้อหุ้นได้ราคาที่ต่ำ แล้วหุ้นขึ้นยอมมีกำลังใจในการลงทุนหุ้นDSMได้มาก แล้วจะทำอย่างไร โดยการเขียวซื้อ แดงขาย หรือ กอดหุ้นวิ่ง ทิ้งหุ้นแดง (DenSri Indicator=DSI) ซึ่งวิธีง่ายๆ แบบนี้เมื่อซื้อหุ้นแล้วหุ้นขึ้น (กอดหุ้นวิ่ง) แต่ถ้าหุ้นลงก็ทำตามวิธี DSM ที่มีวิธีรับมือกับขาลง (ทิ้งหุ้นแดง) ดังนั้นการเข้าซื้อในจังหวะที่เหมาะสมก็มีความสำคัญมากแต่ก็ไม่ได้จำเป็นต้องซื้อได้ต่ำที่สุดของราคาเช่นกัน (เพราะไม่มีใครซื้อได้จุดต่ำสุด และขายได้จุดสูงสุดของราคาหุ้นได้)

จะรู้ได้อย่างไรว่า เวลาไหนควรซื้อ
ประสบการณ์จะบอกคุณเองว่า ซื้อตอนนี้ ตอนนั้น ราคาหุ้นจะขึ้น ไม่มีกฎตายตัวว่าจะดูอย่างไร เพราะถ้ามีกฎแบบนี้แล้ว ทุกๆ คนคงรวยกันหมดทั้งโลกแน่ๆ
ดังนั้น เมื่อเราไม่สามารถหาจุดซื้อที่ประกันได้แน่นอนว่าหุ้นจะขึ้น เราก็อย่าไปกังวล ให้เราหาจุดซื้อในช่วงที่หุ้นมีทีท่าขยับตัวขึ้นหุ้นเขียวอ่อนเริ่มซื้อได้ (เขียวซื้อ แดงขาย หรือ กอดหุ้นวิ่ง ทิ้งหุ้นแดง ) ถ้าซื้อผิดจังหวะ ก็รับมือด้วยวิธี DSM ห้ามซื้อในเวลาที่หุ้นกำลังมีราคาลดลงเด็ดขาด จำไว้ว่า ถึงแม้ราคาหุ้นจะถูกแล้ว แต่ก็ยังมีถูกกว่า และยังมีถูกที่สุดอีกด้วย (นรกยังมีนรก สวรรค์ยังมีสวรรค์) อาจจะฝืนความรู้สึกสำหรับบางคน แต่ถ้าเคยบาดเจ็บจากการซื้อหุ้นราคาถูกแล้วอีกแป๊บเดียวราคาก็ถูกกว่าที่ซื้อมา ก็จะเข้าใจเองว่าเป็นอย่างไร

ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่จุดเริ่มต้นเหมือนกับการเดินทางหมื่นลี้ สำคัญที่ก้าวแรก ที่ก้าวเดิน จงก้าวเดินด้วยความมุ่งมั่น แต่ละก้าวที่เดินดูรอยเท้าที่ก้าวมาและก้าวต่อไปก้าวด้วยจิตใจที่นิ่งรู้ว่าก้าวซ้ายหรือขวา เมื่อทำไปก็จะรู้ควรก้าวทางไหน และนักลงทุนแต่ละท่านก็จะสามารถสร้าง Model Trade ของแต่ละบุคคลขึ้นมาได้อย่างค่อยเป็นค่อยไปอย่างอัตโนมัติเหมือนกับการฝึกขี่จักรยาน ตอนแรกต้องมีล้ม แล้วเราก็ลุกขึ้นมาขี่จักรยานอีก จนขี่จักรยานเป็น หลังจากนั้นเราก็สามารถขี่จักรยานได้อย่างอัตโนมัติโดนที่ไม่ต้องไปเริ่มฝึกขี่จักรยานอีก ถึงแม้นไม่ได้ขี่จักรยานมาเป็นเวลานาน เพราะว่าเป็นเป็นไปโดยอัตโนมัตินั้นเอง

DSM Concept Version 3 : DSM (6) – การเลือกหุ้นเพื่อลงทุนวิธี DSM

คุณสมบัติของหุ้นที่จะเลือกลงทุนด้วยวิธี DSM
1. ต้องเป็นหุ้นที่จ่ายเงินปันผล โดยดูจากประวัติย้อนหลังของบริษัทหลาย ๆ ปี
2. ต้องเป็นหุ้นที่มีคนนิยม และมีจำนวนหุ้นซื้อขายในตลาดมากพอสมควร เพราะเราจะสร้างหุ้นเพิ่มจากส่วนต่างของราคา จากการแกว่งตัวของราคาจะรู้ได้อย่างไรว่าหุ้นตัวนั้นเป็นที่นิยม ให้ดูมูลค่าการซื้อขายมาก แสดงว่าหุ้นตัวนั้นได้รับความนิยมมาก
3. ต้องเป็นหุ้นแก่นหลักของเศรษฐกิจของประเทศ ประเภทว่าถ้าหุ้นตัวนี้แย่หรือล้มหายจากตลาด หุ้นตัวอื่นๆก็คงโดนฝังหรือออกจากตลาดไปก่อนหน้านี้แล้ว
4. ต้องเป็นบริษัทที่คุณอยากร่วมเป็นเจ้าของกิจการ
การที่จะหาหุ้นที่มีคุณสมบัติครบทั้ง 4 ประการ สำหรับแต่ละคน อาจจะเป็นเรื่องยาก คุณจึงต้องยอมตัดคุณสมบัติบางประการออกไปบ้าง เช่น
    - สำหรับคนที่มีเวลาซื้อขายหุ้น อาจจะเลือกหุ้นที่ราคาแกว่งตัวมาก โดยที่หุ้นนั้นอาจจะจ่ายปันผลไม่ดีนัก เพื่อที่จะสร้างจำนวนหุ้นให้เพิ่มในอัตราที่มากพอ เมื่อได้หุ้นมากพอแล้วจึงเปลี่ยนตัวไปยังหุ้นที่หมายตาที่จ่ายเงินปันผลที่ดี อย่างพวกหุ้น Warrant ต่าง ๆ ต้องมีแผนตั้งแต่เริ่มแรกในการเล่นWarrant ตัวนั้นๆ เช่นต้องการดึงกระแสเงินสดแฝงออกจาก Warrant ให้เร็วและเน้นสร้างกระแสเงินสดแฝง ไม่ต้องการเพิ่มหุ้นแต่อย่างใด หรือเล่น Warrant ต้องการเพิ่มหุ้น และเก็บกระแสเงินสดแฝงตามสัดส่วนที่ได้ เอาไว้แปลงร่างจากหุ้น Warrant เป็นหุ้นตัวแม่ ตัวอย่างเช่น CPF-W2 ต้องการแปลงเป็น CPF หรือ ZMICO-W3 ต้องการแปลงเป็น ZMICO หรือ STEC-W2 ต้องการแปลงเป็น STEC แต่มีข้อแม้อีกอย่างนึ่งว่า ตัว Warrant นั้นต้องมีอายุอย่างน้อย 2 ปีก่อนหมดอายุ แต่ถ้าได้มากกว่า 2 ปี ยิ่งดีซึ่งจะทำให้เราได้สร้างกระแสเงินสดแฝงได้เป็นจำนวนมากตามอายุที่ยาวนานของ Warrant ตัวนั้น ๆ คำแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนหุ้น Warrant ต้องมีเวลาเอาใจใส่พอร์ตอย่างมาก
    - สำหรับคนที่ไม่มีเวลาซื้อขายหุ้น ถ้าเลือกหุ้นที่มีการแกว่งตัวมากอาจจะกระตุกหัวใจ แบบนี้ควรเลือกหุ้นพื้นฐานดี จ่ายปันผลสม่ำเสมอ ราคาไม่เปลี่ยนแปลงมาก คุณเพียงแค่ใช้เวลาดูแลเพียงวันละครึ่งชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว
5. ถ้าใครมีประสบการณ์กับหุ้น Finance ตอนที่ปิดบริษัท 56 แห่ง ก็ควรหลีกเลี่ยงหุ้นกลุ่ม Finance แต่ก็ยังสามารถลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ได้ แต่ต้องมีกฎทางออกเตรียมพร้อมไว้เสมอ
6. เมื่อใดควรไล่หุ้นตัวนั้นออกจากพอร์ต มี 2 กรณี
    6.1 หุ้นนั้นไม่มีการเคลื่อนไหวเลย
    6.2 หุ้นที่มีราคาไหลลงมามากกว่า 50% จากราคาที่ซื้อมาสูงสุด ต้องเอาออกจากพอร์ต แล้วจดราคาเอาไว้เมื่อไร หุ้นตัวนี้กลับตัวเป็นขาขึ้นชัดเจนค่อยเข้าไปลงทุนใหม่ แต่ยกเว้นว่า หุ้นตัวนั้นคืนทุนให้เรียบร้อยแล้ว ก็เก็บไว้สร้างกระแสเงินสดแฝงต่อไปเรื่อย ๆ
7. หุ้นเป็นเพียงหนึ่งในยานพาหนะสำหรับการลงทุน (Investment Vehicles) ซึ่งนำไปสู่อิสรภาพทางการเงิน ดังนั้นไม่ควรยึดติดที่ตัวหุ้นใด ๆ และสามารถเปลี่ยนแปลงตัวหุ้นได้ตามแผนการลงทุนที่วางเอาไว้ เพราะการยึดติดตัวหุ้นนั้นคือความทุกข์อย่างหนึ่ง “จงปล่อยวางไม่อย่างนั้นท่านจะสูญเสียทุกอย่าง” แต่ให้ยึดแนวทาง DSM แทนการยึดติดที่ตัวหุ้นแทน


เริ่มต้นด้วยจำนวนหุ้นเท่าใด
จำนวนหุ้นที่เหมาะสมสำหรับวิธี DSM คือ 10,000 หุ้น ดังนั้นถ้าหุ้นที่คุณหมายตาไว้มีราคาหุ้นละ 100 บาท คุณจะต้องมีเงินลงทุน 1 ล้านบาท การเลือกหุ้นในระดับราคาที่เหมาะสมจะทำให้การซื้อขายหุ้นตามแผนการลงทุนทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ถ้าคุณรักและอยากลงทุนในหุ้นราคา 100 บาทจริงๆ มี 2 วิธี
1. หาเงินล้านจากการทำงานมาลงทุน
2. เริ่มจากหุ้นตัวละ 10 บาท ใช้เงินลงทุน 1 แสน ลงทุนด้วยวิธี DSM อย่างมีวินัย ไม่เกิน 7 ปี คุณก็จะก้าวไปลงทุนในหุ้นระดับราคา 100 บาท ได้อย่างสง่าผ่าเผย (อัตราเฉลี่ย3%ต่อเดือน)

DSM Concept Version 3 : DSM (5) – ฉันเป็นนักลงทุนประเภทไหน

บรรดาผู้คนที่เข้ามาเกี่ยวข้องในตลาดหลักทรัพย์แบ่งได้ 2 ประเภท
1. นักลงทุน
2. นักเก็งกำไร

ลองถามตัวเองก่อนว่า ฉันเป็นนักลงทุนหรือนักเก็งกำไร
ตลาดทุกชนิดบนโลกต้องมีคนทั้ง 2 ประเภท ถ้ามีแต่นักลงทุน ราคาหุ้นก็จะอยู่นิ่งๆ ไม่ขยับไปไหน ถ้ามีแต่นักลงทุนที่ลงทุนเพื่อรับเงินปันผล ข่าวที่เราได้ยินอาจจะบอกว่า วันนี้ราคาหุ้นเปลี่ยนแปลง 0.5 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 1 ล้านบาท ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติใดๆ ถ้าผมหรือคุณจะเป็นนักเก็งกำไร แต่ลงทุนวิธีDSM เน้นให้เป็นนักลงทุนที่แท้จริง

ข้อแตกต่างระหว่างนักลงทุนกับนักเก็งกำไร
นักเก็งกำไร : ต้องการกำไรเป็นเงินสดในระยะเวลาที่กำหนด เช่น 1 นาที, 1 ชั่วโมง, 1 วัน, 1 สัปดาห์, 1 เดือน ขึ้นอยู่กับความอดทนของนักเก็งกำไรหรือนักพนัน
นักลงทุน : ต้องการรายได้จากกระแสเงินสดแฝงจากหุ้นและเงินปันผล

วิธีดูแบบง่ายสุดคือ
ถ้าคุณซื้อหุ้นเพราะหวังว่า ราคาหุ้นจะขึ้นและขายเพื่อทำกำไรจากส่วนต่าง คุณเป็นนักเก็งกำไร
ถ้าคุณซื้อหุ้นแล้วรอรับเงินปันผล พร้อมกับได้กระแสเงินสดแฝงนั้นแสดงว่าคุณเป็นนักลงทุน

นักลงทุนหรือนักเก็งกำไร ใครเหมาะที่จะใช้วิธี DSM
ถ้าคุณหวั่นไหวกับราคาหุ้นที่เปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ใครๆ ก็เป็นกัน แต่สำหรับValue Investor (VI) แล้ว เมื่อลงทุนหุ้นใดไปแล้ว จะไม่เปลี่ยนแปลงจนกว่าจะมั่นใจว่าบริษัทนั้นๆ มีแนวโน้มที่จะดำเนินงานต่อไปได้ไม่ดี VI จึงจะเปลี่ยนไปลงทุนในบริษัทอื่น แต่ถ้าราคาหุ้นตกลงมามากเท่าใด ตราบใดที่บริษัทนั้นยังมีผลประกอบการที่ดี VI ก็ยังคงลงทุนต่อไป และอาจจะซื้อเพิ่มอีกด้วย วิธี DSM จึงเหมาะกับนักลงทุนแบบ VI ที่ใช้เงินลงทุนก้อนเดิมที่มีอยู่มาเพิ่มจำนวนหุ้น VI หลายๆ คนที่ผมรู้จักก็ไม่อยากใช้ DSM เพราะไม่ถนัด ส่วนนักเก็งกำไรส่วนใหญ่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า วิธี DSM ช้า ไม่ทันใจ แถมได้กำไรน้อยอีกด้วย
ดังนั้น DSM จึงเป็นส่วนผสมระหว่างนักลงทุนที่เป็น VI ในสายเลือด แต่เพิ่มทักษะในการซื้อขายหุ้นแบบนักเก็งกำไรเข้าไป เพื่อเพิ่มจำนวนหุ้นให้มากขึ้น โดยใช้การทำงานเพียงเล็กน้อยในแต่ละวัน ใครที่คิดจะใช้วิธี DSM เพียงเพราะหวังว่าจะช่วยทำให้เงินที่หายไปจากการซื้อขายหุ้นได้คืนมาล่ะก็ ลองคิดดูอีกครั้งนะว่าคุณมีจิตวิญญาณของนักลงทุนแบบ VI หรือไม่ เพราะถ้าคุณเลิกกลางคัน คุณจะสูญเสียมากกว่าการเก็งกำไรก็เป็นได้ และที่สำคัญวิธี DSM นี้ใช้เวลานานอย่างน้อย 2 ปี ถึงจะคุ้มต้นทุนตอนเริ่มต้น

Wednesday, March 21, 2012

DSM Concept Version 3 : DSM (4) – ทำไมเวลาต้องอย่างน้อย 2 ปี

ทำไมเวลาต้องอย่างน้อย 2 ปีด้วย
เพราะจากผลตอบแทนจากการลงทุนหุ้นแบบ DSM จะได้กระแสเงินสดแฝงโดยเฉลี่ยขั้นต่ำอย่างน้อย 3% อาจได้มากกว่านี้ได้ เพราะบางเดือนได้มาก บางเดือนได้น้อยกว่านี้

จากสูตรคำนวณ 72 จำกันได้หรือเปล่า ถ้าเอาเลข 72 ตั้งหารด้วยจำนวน % ต่อปีผลลัพธ์จะได้เท่ากับจำนวนปีที่ทำให้เงินต้นเป็น 2 เท่า

ผลลัพธ์จำนวนปีที่ทำให้เงินต้นเป็นสองเท่า = 72/ (3%x12) = 2 ปี ดังนี้ภายในสองปีจะได้เงินเริ่มต้นเป็นทุกสองเท่า นั้นย่อมแสดงว่า เราสามารถทำให้ได้กระแสเงินสดแฝงเท่ากับจำนวนเงินต้น จึงเป็นที่มาว่าทำไมต้องอยู่กับหุ้นตัวนี้เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี และที่สำคัญตลาดหุ้นเมืองไทยสามารถทำให้คืนเงินต้นได้เร็วยิ่งขึ้นเพราะเป็นตลาดที่มีความผันผวนสูง
ดังนั้นการลงทุนไม่จำเป็นต้องรีบเร่งลงมือทำ ต้องค่อย ๆ ก้าวเดินแบบทารก และโอกาสของนักลงทุนมีอยู่ทุก ๆ วินาที ต้องมีความ “อดทนเพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมีเป้าหมาย” ตามที่ได้วางแผนไว้

DSM Concept Version 3 : DSM (3) – คุณสมบัติของนักลงทุนวิธี DSM

คุณสมบัติของนักลงทุนผู้ที่จะใช้วิธี DSM
1. ต้องเป็นนักลงทุนระยะยาว ระยะยาวในที่นี้คือ ตลอดชีวิต เงินลงทุนนี้จะต้องเป็นเงินเก็บจากเงินที่ต้องจ่ายให้ตัวเองอย่างน้อย 10% จากรายได้แต่ละครั้งและรวมส่วนเหลือจากการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันแล้วและเก็บมาจากรายจ่ายฟุ่มเฟือย (เช่น สุรา เบียร์ บุหรี่ การพนัน เป็นต้น) และห้ามถอนเงินนี้มาใช้เป็นอันขาด เพราะถือว่าเป็นเงินลงทุนตลอดชีวิต ถ้าจะถอนได้ตามสัดส่วนกระแสเงินสดแฝงที่ได้รับเท่านั้น และสามารถให้ทรัพย์สินเป็นมรดกให้กับลูกหลานได้ หรือจะกล่าวว่าวิธี DSM ดีถึงชั่วลูกชั่วหลานก็ไม่ผิดแต่อย่างใด
2. ต้องมีแนวคิดในการสร้างรายได้จากพอร์ต ไม่ใช่กำไรจากพอร์ต โดยที่ไม่สนใจ มูลค่าพอร์ตที่ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงและสิ่งแรกที่ต้องทำคือแยกให้ออกก่อนว่า ความแตกต่างระหว่างทำกำไรส่วนต่างกับการลงทุนเพื่อสร้างรายได้ ถ้าแยกได้แล้วจะลงทุนตามแนวทางนี้ได้สำเร็จ
3. อิสรภาพทางการเงินไม่ได้หมายถึงความร่ำรวยมีเงินหลายร้อยล้านพันล้านบาท แต่หมายถึงการมีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง มีอิสระที่จะทำสิ่งที่ต้องการทำ อิสรภาพทางการเงินไม่ได้วัดที่จำนวนเงินที่มี แต่วัดกันที่ "ใครมีเวลาเพื่อใช้ชีวิตในแบบที่ตนเองต้องการมากกว่ากัน"
4. ต้องมีวินัยในการลงทุน การตัดสินใจลงทุนด้วยวิธี DSM ถ้าหากเลิกกลางคัน จะเกิดความเสียหายมาก ถ้าเลิกก่อนเวลาอย่างน้อย 2 ปี
5. ต้องมีเป้าหมายในอนาคต เป้าหมายนี้ไม่ใช่เงินจำนวนเท่าใด แต่เป้าหมายที่ต้องตั้งคือ "ฉันจะต้องได้รับเงินปันผลเท่าใดจึงจะพอใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน" เพื่อจะมีอิสรภาพทางการเงินในแบบที่ต้องการ
6. จิตใจต้องหนักแน่น มั่นคง ไม่วอกแวกกับเสียงทักของนักเก็งกำไรหรือนักพนัน
7. ต้องมีเวลาดูแลพอร์ตอย่างเอาใจใส่
8. ต้องมีความสมัครใจด้วยตัวของนักลงทุนเอง ที่จะเลือกใช้แนวทางDSM นี้ซึ่งไม่มีใครสามารถบังคับได้และถ้าพร้อมแล้วหลังจากศึกษาแนวคิดเข้าใจดีแล้วให้เริ่มสร้าง Model Trade ของแต่ละนักลงทุนเองได้เลย พร้อมกับสร้างหลักการตัววัดผลของความสำเร็จของแต่ละนักลงทุนเองโดยนำเอาตัวอย่างเบื้องต้นจากบทความแห่งนี้เป็นต้นแบบ
9.การลงทุนหุ้นวิธีDSM เสี่ยงหรือไม่ แต่ความเสี่ยงไม่ได้อยู่ที่การลงทุน แต่อยู่ที่การขาดความเข้าใจในแนวคิดของการลงทุนด้วยวิธีนี้ต่างหาก ซึ่งถ้าไม่เข้าใจถือว่าเสี่ยงมากที่สุดแทนต่างหาก แต่อย่างไรไม่มีอะไรในชีวิตที่ไม่มีความเสี่ยง แต่การลงทุนควรเป็นสิ่งที่มีความเสี่ยงต่ำเสมอดังนั้นการลงทุนหุ้นวิธีDSM จึงเป็นคำตอบ

DSM Concept Version 3 : DSM (2) – หัวใจและแนวคิดของ DSM

หัวใจของการลงทุนหุ้น DSM คือ แผนการลงทุนและระบบบัญชี และเป้าหมายสูงสุดของการลงทุนหุ้น DSM คือ การสะสมจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นและสร้างกระแสเงินสดแฝง

ถ้าลงทุนหุ้นตามแผนการลงทุนที่วางเอาไว้อย่างเคร่งครัดแล้วไม่ต้องสนว่าตลาดหุ้นเป็นขาขึ้น(Uptrend) หรือขาลง (Downtrend) ถ้าได้ถึงระดับนี้ ท่านได้เป็นถึงระดับ Master ซึ่งได้เลื่อนขึ้นมาจากระดับ Basic แล้วนั้นเอง และเมื่อเราทำตามแผนการดีเยี่ยมนี้แล้วจะค้นพบว่าวิธีDSM ตอนเล่นหุ้นขาขึ้นได้ดีกว่าตอนเล่นหุ้นขาลง (ต้องศึกษา สูตร 3-0-2-8 อย่างละเอียดแล้วจะได้คำตอบที่ต้องการ)

แนวคิดของ DSM
“สะสมจำนวนหุ้นให้เพิ่มมากขึ้นโดยไม่ต้องลงทุนเงินเพิ่ม” เหมือนกับแนวคิดทางด้านเศรษฐศาสตร์การใช้ทรัพย์กร (เงิน) ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพื่อให้เห็นภาพง่ายๆ ลองนึกว่า ถ้าคุณมีบ้านให้เช่า ทุกเดือนจะได้ค่าเช่า ค่าเช่าที่ได้นี้ให้สะสมเก็บไว้ เมื่อได้มากพอก็นำไปลงทุนเพิ่ม จากบ้าน 1 หลัง กลายเป็น 2 หลัง จาก 2 หลังกลายเป็น 4 หลัง จาก 4 หลังกลายเป็นโรงแรม (แนวคิดดั้งเดิมจากเกมเศรษฐี ที่คุณโรเบิร์ต ที คิโยซากินำมาประยุกต์และเพิ่มเติมกลายเป็นเกม Cash Flow)

ทำไมไม่ควรลงทุนเงินเพิ่ม เพราะสิ่งที่เราลงทุน สิ่งนั้นมันต้องสร้างตัวมันเอง เหมือนกับการให้เงินแต่ละเหรียญทำงานให้ท่าน เพื่อให้มันออกลูกออกหลานเฉกเช่นฝูงปศุสัตว์ในทุ่งหญ้าซึ่งจะช่วยนำรายได้มาสู่ท่าน เป็นกระแสความมั่งคั่งที่หลั่งไหลเข้าสู่ถุงเงินของท่านอย่างไม่ขาดสาย(จากหนังสือเศรษฐีชี้ทางรวย)

แนวคิดวิธีDSMนี้ คาดว่านักลงทุนต่างชาติทำคล้าย ๆ กัน ให้ลองสังเกตดู วันไหนเค้าขายวันนั้นหุ้นตก เพราะเค้าคงดูภาวะตลาดเหมือนกัน ถ้าหุ้นลง เค้าก็ขายตาม ไม่ฝืนตลาด โดยเฉพาะขายแล้วต้องลง เพราะเค้าจะได้ซื้อคืนในราคาถูกกว่าที่ขาย ถ้าวันไหนเค้าซื้อ หุ้นก็ขึ้น เพราะเค้าคิดว่า ถ้าซื้อแล้วหุ้นต้องขึ้น อีกอย่างหนึ่งถ้าซื้อหุ้นมาไว้ในมือ ใครๆก็ต้องอยากให้ราคามันขึ้นไปเรื่อย ๆ แม้จะมีแค่เพียง 100 หุ้น ก็ยังอยากให้ราคามันขึ้น จะได้ขายเอากำไร ยิ่งมีเป็นล้านหุ้น ยิ่งต้องอยากให้หุ้นขึ้น แต่ทำไมนักลงทุนต่างชาติที่มีหุ้นในมือมหาศาล ทำไมไม่ชอบให้หุ้นขึ้น แต่ชอบให้ขึ้น ๆ ลง ๆ และ ลงหนัก ๆ ทำให้คิดว่าหุ้นขาลงมันต้องมีอะไรดีกว่าหุ้นขาขึ้นแน่ ๆ ถ้าหุ้นขาขึ้นได้กำไร แสดงว่าหุ้นขาลงมันน่าจะอภิมหากำไรเลย และด้วยวิธีนี้ทำให้นักลงทุนต่างชาติจึงมีหุ้นเอามาขายได้เรื่อยๆ ไม่มีวันหมดสิ้นสักที

เรานักลงทุนหุ้นวิธีDSM ทำตามแนวทางเดียวกับนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งต่อไปจะมีหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มากขึ้นเรื่อยๆ นับจำนวนไม่ได้เลย

Tuesday, March 20, 2012

DSM Concept Version 3 : DSM (1) – จุดกำเนิด DSM

ที่มาขอคำว่า DSM มาจากอะไร
DSM ย่อมาจาก DenSri Method มาจากชื่อนักลงทุนที่ชื่อเด่นศรี เป็นคนคิดค้นวิธีการเล่นหุ้นเพื่อการลงทุนด้วยวิธี Short Against Portเป็นคนแรกที่กล้าเปิดเผยวิธีการลงทุนเช่นนี้ และคนตั้งชื่อ DSM คือนักลงทุนชื่อ คลายเครียด (Endophine) เจ้าของ คลายเครียดเรโช อันโด่งดัง ในวันที่ 6 ส.ค.2547 ได้ตั้งชื่อ DSM=DenSri Method หรืออีกความหมายหนึ่งคือ DSM= Descending Sell Method และเพื่อเป็นเกียรติแก่คุณเด่นศรีที่ได้เปิดเผยเคล็ดลับสู่อิสรภาพทางการเงิน หลังจากนั้นชื่อ DSM ได้ถูกเรียกขานจากนักลงทุนเมื่อพูดถึงแนวทางการเล่นหุ้นเพื่อลงทุนสร้างหุ้นและกระแสเงินสดแฝง

แล้ววันที่ 18 ส.ค. 2547 คุณ MacroArt ได้ เสนอชื่อคลับว่า คลับนักเล่นหุ้นเพื่ออิสรภาพทางการเงิน ซึ่งมีความหมายถึงหนังสือ Rich Dad Poor Dad และสุดท้ายก็ได้เปลี่ยนเป็นชื่อ “คลับเพื่ออิสรภาพทางการเงิน” วันที่ก่อตั้งคลับแห่งนี้วันที่ 25 ส.ค. 2547 เป็นวันแรกที่มีอยู่อย่างเป็นทางการของนักลงทุนด้วยวิธีDSM ด้วยประการนี้เอ่ย

DSM Concept Version 3 โดย จูล่ง-สุภาพบุรุษจากเสียงสาน [สารบัญ]

สารบัญ

1. DSM (1) – จุดกำเนิด DSM
2. DSM (2) – หัวใจและแนวคิดของ DSM
3. DSM (3) – คุณสมบัติของนักลงทุนวิธี DSM
4. DSM (4) – ทำไมเวลาต้องอย่างน้อย 2 ปี
5. DSM (5) – ฉันเป็นนักลงทุนประเภทไหน
6. DSM (6) – การเลือกหุ้นเพื่อลงทุนวิธี DSM
7. DSM (7) – เริ่มต้นลงทุนวิธี DSM
8. DSM (8) – กลยุทธ์เมื่อหุ้นลง
9. DSM (9) – DSM วัวเนื้อหรือวัวนม
10. DSM (10) – Warren Buffett ลงทุนวิธี DSM ด้วยหรือไม่
11. DSM (11) – ระบบการซื้อ - ขายหุ้น DSM
12. DSM (12) – หลักการซื้อคืน 3 แบบ
13. DSM (13) – ช่องว่างและการแปลงร่างคืออะไร
14. DSM (14) – หุ้นขึ้นได้หุ้น หุ้นลงได้เงิน
15. DSM (15) – สิ่งที่ควรคิดเมื่อรักจะเป็น DSMers
16. DSM (16) – DSM 7 ข้อ ดั่งแก้วสารพัดนึก
17. DSM (17) – Q&A DSM จากใจถึงใจ
18. DSM (18) – DSM ความเหมือนที่แตกต่าง
19. DSM (19) – เปรียบเทียบ VI กับ DSM ถึงลูกถึงหุ้น
20. DSM (20) – เปรียบเทียบวิธีการลงทุนของ VI, DSM กับอสังหาริมทรัพย์
21. DSM (21) – เมื่อหุ้นเป็นเทวดาตกสวรรค์จะทำอย่างไร
22. DSM (22) – DSM บุญหรือบาป
23. DSM (23) – 10 คำถามที่ดี ย่อมได้คำตอบที่ดี
24. DSM (24) – DSM รับประกันเงินต้นคืน100%
25. DSM (25) – กระแสเงินสดแฝงคืออะไร แบ่งรายได้อย่างไร
26. DSM (26) – กระแสเงินสดแฝงในอนาคตคืออะไร
27. DSM (27) – หลักการตัววัดผล DSM ทั้ง 8 ตัว
28. DSM (28) – เคล็ดลับของความสำเร็จลงทุนหุ้นวิธี DSM
29. DSM (29) – สูตร 3-0-2-8 คืออะไร
30. DSM (30) – DSM Music Theory คืออะไร
31. DSM (31) – DSM Double Theory คืออะไร
32. DSM (32) – DSM Double Pyramid Theory คืออะไร
33. DSM (33) – กลยุทธ์หุ้นDSM สู้ศึก XD ทำอย่างไร
34. DSM (34) – กลยุทธ์หุ้นDSM สู้ศึก XR ทำอย่างไร
35. DSM (35) – SET DSM index คืออะไร
บทความพิเศษ ตอนที่ 1 – เปิดใจนักลงทุนหุ้นDSM
บทความพิเศษ ตอนที่ 2 – ใจสู่ใจสายรหัสDSM

DSM Concept Version 3 โดย จูล่ง-สุภาพบุรุษจากเสียงสาน [คำนำ]

DSM Concept Version 3

คำนำ

นักลงทุนในตลาดหุ้น มี 2 ประเภท พวกเก็งกำไรกับนักลงทุน แต่ในตลาดหุ้นมีนักเก็งกำไรเป็นจำนวนมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับนักลงทุนจริงๆ แล้วคำว่า “นักลงทุน” จะมีสักกี่คนที่เป็นนักลงทุนที่แท้จริงและรู้จักคำว่า “กระแสเงินสดแฝง” เล่นหุ้นเพื่อสร้างกระแสเงินสดแฝง ไม่ได้ต้องการส่วนต่างของราคา และสะสมหุ้นให้เป็นสินทรัพย์ ได้มีนักลงทุนที่ออกมาเปิดเผยวิธีการและเคล็ดวิชา ในการลงทุนหุ้นเพื่อเป็นนักลงทุนที่แท้จริงมีนามว่า “เด่นศรี” ซึ่งเป็นคนมีความเมตตากรุณาต่อแมลงเม่าปีกอ่อนและปีกแก่ ซึ่งได้เปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ให้แมลงเม่าเหล่านี้เป็นแมลงเม่าปีกทองคำ
ขอขอบคุณ เด่นศรี อย่างสุดซึ้งมา ณ ที่นี้ด้วย ขอให้ได้กระแสเงินสดแฝงวันละ สิบล้านบาทเพื่อมีอิสรภาพทางการเงิน จิตใจ และเวลา โดยเร็ววันตามที่ต้องการดังใจหมายด้วยเทอญ
ขอขอบคุณ ซ้อสี่ค่ะ(คิมิเอะ-จัง) ผู้สงสัยว่าทำไม Rich Dad Poor Dad ของ
คุณโรเบิร์ต ที คิโยซากิถึงเป็นนักลงทุนที่ดีที่สุดจึงได้เกิดกระทู้ประวัติศาสตร์DSMขึ้นมา
ขอขอบคุณ คลายเครียด(Endophine) เป็นผู้ตั้งชื่อว่า DSM
ขอขอบคุณ MacroArt ผู้เสนอการก่อตั้งคลับเพื่ออิสรภาพทางการเงินซึ่งถือได้ว่าเป็นการตั้งคลับDSMอย่างเป็นทางการ
ขอขอบคุณ Teerasae(ธีระ) และคุณ งำงำ มีดบินในการจัดการสร้างบัญชีDSM สำหรับเพื่อนสมาชิก
ขอขอบคุณ คนชื่อนินจา ที่มาเติมเต็มความรู้ในด้านต่างๆ ของการลงทุน เสมือนเป็นเครื่องยนต์ที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้คลับเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
ขอขอบคุณ Italy ที่จัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับDSMและเอกสารอื่นๆ
ขอขอบคุณคุณ Coyote ที่ได้อนุญาตให้นำเอาDSM concept version Coyote ที่ได้จัดทำ นำมาปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม จึงได้เป็นที่มาของDSM version ฉบับปัจจุบัน นี้
ขอขอบคุณ ทรงกฤษฎิ์ เจ้าของที่มาของบทความบทที่ 15, 16, 17 ตามลำดับ, ขอขอบคุณ Ii’8N (ณรงค์) เจ้าของที่มาของบทความบทที่ 19, ขอขอบคุณ ซีเค เจ้าของที่มาของบทความบทที่ 20, ขอบคุณคุณ ปลาดาว เจ้าของที่มาของบทความกระแสเงินสดแฝงในอนาคตบทที่ 26 และขอขอบคุณ loaw เจ้าของที่มาของบทความที่บทที่ 35
ขอขอบคุณ จูล่ง – สุภาพบุรุษจากเสียงสาน ที่แต่งบทความที่ 22, 24, 30, 31, 32, 33, 34 และได้เรียบเรียงบทอื่นๆ ให้ง่ายต่อการอ่าน แล้วยังปรับปรุง DSM concept จาก version 1 สู่ version 2 และ version 3 ซึ่งเป็น version ล่าสุดขณะนี้
ขอขอบคุณ สุมาเต๊กโช ผู้แปลและเรียบเรียง The richesman in babylon for todayและได้ทำเป็น file PDF แจกด้วย, ขอขอบคุณ กาเย ผู้แปลหนังสือ Wink and Grow Rich(คิดเป็นเห็นทางรวย), ขอขอบคุณ คนล่าห่าน สำหรับบทความเรื่องเสี่ยอ๋า, ขอขอบคุณนักลงทุนท่านอื่น ๆอีกมากมายเช่น นกเพนกวิน, x-philes, Nymph bee, ซีเค, เต่าหยวนเปียว, luckyinter, Livestock, zARKa, PITnap no.3, กบในฟ้ากว้าง(กบ), กุ้งไร้สาร(กุ้ง), แมลงเม่าทนไฟและคู่หู, เลขสาม, v-port, อยากเชือก, ยมก, ลำชี(กุ้ง), ชราร่า, wonderchoice, หนุ่มน้อย ณ บาบิโลน(หนุ่ม), มือใหม่DSM, ตะเชา(ต้น), CHINN, ปิงป่องแชะ, Vprawat(วัติ), Minibar(เกี๋ยก), libra, nanolim, ไร้แก่นสาร, Gain, SANG-JANTRA, pattarav(ภัทร), Dalglish, monocryl(ผึ้ง), มารขาว, KoKoman, savia(ยง), ทัดชา, ToonCoolMan, ง้วนป้อ, smokerfield, กระเจี๊ยบน้อย, วิถีพุทธ, atuca, กระบี่ไร้เงา, ไม่เก่งแต่อย่างตอบ(mix), ครูนางฟ้า, ขวัญชัย, ก้าว กอปรกัลป์ปการ, nattaphon, hot oil, การบรูหอม, นกแคปหมู, cpiya, มาร์แก่ , เศษธุลี, kkop, ravberry, อ๋อออ, Freedom world, e-man, กระต่ายกะเต่า, buffet lyn, ballito, windi, kc00, BeSmile, จรัสฯ, krit587, -กร-, S40, freeMind, Littlebigman, kae_numtan, OhLunLa(ลูกหมู), kwangroong, jasmine rice, Nuatja, DerDen, red comet II(rcII), jenjen, marumaru, พูห์ชี้ฟ้า, Mr_BooDoo, PD_city, มรรค8, cocool, TingSanPern(พล), กุ๊กเป็ด, ซวงซวง(ดาว), มรรค8(วัฒ), Think of me(อิ๊ก), violetorchid(เฟือง), noopiglet(กิ้ง), น้องเบลล์กินขนุน, DYL, Groundhog, captain-shampoo, morefunthai, b_wealth, Methee B.,ลุงเอิญ, iroiro, nongtutor,ชินจังช้างน้อย, Emperor Genghis Khan และสมาชิกอีกมากมายที่ไม่ได้เอ่ยชื่อ ขอบคุณทุกท่านร่วมสร้างสรรค์คลับเพื่ออิสรภาพทางการเงินแห่งนี้ ให้สมบูรณ์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
บทความนี้ได้รวบรวมจากที่คุณ เด่นศรี ได้สั่งสอน และแนะนำในกระทู้ต่างๆ ได้รวบรวมเอาอันที่เห็นว่ามีสาระสำคัญจากสมาชิกภายในคลับเพื่ออิสรภาพทางการเงิน บางบทผู้รวบรวมได้เขียนเพิ่มขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นการเพิ่มเติมบทความให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
บุคคลที่ขาดไม่ได้คือคุณ Robert T. Kiyosaki ที่ได้แต่งหนังสือ Rich Dad Poor Dad ทุก ๆ เล่ม ขอขอบคุณที่ทำให้ชีวิตของนักลงทุนคนอื่น ๆ ง่ายขึ้นทางด้านการลงทุนแบบต่าง ๆ และหุ้นเป็นหนึ่งในยานพาหนะสำหรับการลงทุนอย่างหนึ่งซึ่งนำไปสู่อิสรภาพทางการเงิน
และขอขอบคุณ Pantip.com ที่ให้พื้นที่เป็นอยู่อาศัยของคลับเพื่ออิสรภาพทางการเงิน ในห้องสินธร ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้จริง ๆ เหมือนบ้านที่ขาดหลังคาไม่ได้เลย ซึ่งเป็นที่ซุกหัวนอนอันอบอุ่น กันแดดกันฝน ขอขอบพระคุณอย่างสูง อย่างสุดซึ้งจากก้นบึ้งของหัวใจ
การนำไปใช้หรือนำประยุกต์ใช้ ขึ้นกับดุลยพินิจของแต่ละบุคคล ผู้ที่นำไปใช้จะต้องยอมรับผลประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในการลงทุนของตัวเอง ผู้รวบรวมไม่ขอรับผิดชอบความเสียหายจากการลงทุนของทุก ๆ ท่านที่เกิดจากบทความแห่งนี้


จูล่ง – สุภาพบุรุษจากเสียงสาน
ผู้รวบรวมบทความและปรับปรุง

SAA Consensus หุ้นที่มีการ update วันนี้

SETTRADE.COM - บทวิเคราะห์

SETTRADE.COM - บทวิเคราะห์ ภาวะตลาด

SETTRADE.COM - บทวิเคราะห์ เทคนิค

SETTRADE.COM - บทวิเคราะห์ หุ้นรายตัว

SETTRADE.COM - บทวิเคราะห์ พิเศษ

SETTRADE.COM - บทวิเคราะห์ หุ้น IPO

กรุงเทพธุรกิจ - ธุรกิจ

กรุงเทพธุรกิจ - การเงิน - การลงทุน